ยาแก้ปวดประจำเดือน คำถามมากมาย สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมีคำถามหนึ่งที่คุณแม่หลายคนสงสัยกันมากนั่นคือการกินยาแก้ปวดประจำเดือน หรือยาอื่น ๆ มีผลกับลูกอย่างไร แล้วคุณแม่ให้นมลูกสามารถกินยาได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ
ยาแก้ปวดประจำเดือน
สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้น ประมาณ 60% ประจำเดือนจะมาหลังคลอดไปแล้ว 7 เดือน เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอ จะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “โปรแล็กติน” ซึ่งออกมาจากต่อมใต้สมอง ทำให้ไข่ไม่ตก เมื่อไข่ไม่ตกก็ไม่มีประจำเดือนออกมา แต่เมื่อลูกกินนมน้อยลง หรือคุณแม่ทิ้งระยะการให้นมห่างมากขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะออกมาน้อยลง ส่งผลให้มีการตกไข่ และมีประจำเดือนตามปกตินั่นเองค่ะ
สำหรับคุณแม่ท่านใด ที่มักมีอาการปวดท้องทุกครั้งที่เป็นประจำเดือน แล้วสงสัยว่า หากกำลังให้นมลูกอยู่ คุณแม่สามารถทานยาได้หรือไม่ และยาเหล่านี้จะเป็นอันตรายกับลูกหรือไม่ ลองมาดูรายละเอียดกันดีกว่าค่ะ
อันตรายของยากับลูกรัก
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น คุณแม่จะต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การพักผ่อน หรือแม้แต่การทานยา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตัวคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทานยาคุณแม่รู้หรือไม่ว่า ยาบางชนิดมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยโดยตรง ถึงแม้คุณแม่อาจจะเคยได้ยินว่า ยาจะสามารถผ่านน้ำนมไปถึงลูกน้อยได้เพียง 1% เท่านั้น
แต่คุณแม่เชื่อหรือไม่ค่ะว่า แม้เพียง 1% ที่ผ่านเข้าไปในร่างกายของลูกก็ถือว่ามากแล้ว หากยานั้นออกฤทธิ์ที่รุนแรง ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด แนะนำให้ลองหาวิธีที่ปลอดภัยในการช่วยบรรเทาอาการก่อนดีกว่าค่ะ เพื่อชีวิตน้อย ๆ จะได้ปลอดภัยจากอันตรายที่เกิดจากยาที่คุณแม่ทานเข้าไป สำหรับคุณแม่ที่มีอาการปวดท้องทุกครั้งที่เป็นประจำเดือน แนะนำให้คุณแม่ลองปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
บรรเทาอาการปวดประจำเดือนโดยไม่ต้องพึ่งยา
- ดูแลตัวเองในเบื้องต้น โดยการประคบอุ่นที่ท้องน้อยด้วยกระเป๋าน้ำร้อน เพราะความร้อนจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่คลายตัว และลดอาการปวดได้เป็นอย่างดีค่ะ
- การอาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่นในอ่าง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน เพราะน้ำอุ่มจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อทำให้อาการเจ็บปวดลดลง คุณแม่อาจจะใส่ดีเกลือสัก 1 – 2 ถ้วยลงในอ่าง แล้วลงแช่อย่างน้อย 30 นาทีดูค่ะ อาการปวดจะบรรเทาลง เพราะในดีเกลือมีแมกนีสเซียมอยู่มาก ทำให้ช่วยลดอาการบีบตัวของมดลูกได้
- ให้คุณแม่ยกขาข้างหนึ่ง หรือสองข้างก็ได้ ให้อยู่สูงกว่าลำตัวด้วยหมอน เพราะท่านี้จะช่วยบังคับให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวลง
- การนอนขดตัวบรรเทาอาการปวดได้ดี เพราะการนอนขดตัวเป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนลงได้ แต่คุณแม่ไม่ควรนอนขดเป็นเวลานาน ควรจะลุกเดินบ้าง เพื่อป้องกันกระดูกสันหลังคดงอ และทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาได้นั่นเองค่ะ
- ท่านอนตะแคงด้านซ้ายจะช่วยปรับสมดุลของร่างกายและลดอาการปวดบริเวณหน้าท้อง เพราะนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวดอื่น ๆ ที่บริเวณหน้าท้องได้ดีกว่าการนอนตะแคงข้างขวา
- อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้อง นั่นคือการนวดหน้าท้อง เมื่อเริ่มปวดหน้าท้องคุณแม่ลองนวดท้อง โดยนวดให้เป็นวงกลมอย่างแผ่วเบา และออกแรงกดเบา ๆ ที่บริเวณท้องประมาณ 10 วินาทีต่อครั้ง ทำบ่อย ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องผ่อนคลาย และจะทำให้ลดอาการปวดลงได้
- ดื่มน้ำอุ่นให้มาก ๆ เพื่อช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น เพราะหน้าที่ของตับ คือช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน การดื่มน้ำอุ่น นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดแล้ว ยังช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
- รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แมกนีเซียม อย่างเช่น ผักใบเขียวสด ๆ ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะแมกนีเซียมสามารถช่วยลดสารพรอสตาแกลนดิน ที่ถูกหลั่งออกมาในช่วงมีประจำเดือนได้ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย โพแทสเซียมร่วมด้วย เพราะโพแทสเซียมอาจช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีอาการปวดมาก ๆ แนะนำให้ลองดื่มชาคาโมไมล์ เป็นประจำทุกวัน เพราะชาจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากคาโมไมล์มีไกลซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สามารถบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ดี ทำให้มดลูกคลายตัวเร็ว นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะเพิ่มกากน้ำตาลสัก 1 ช้อนช้า เพื่อเพิ่มรสชาติ และลดขนาดของลิ้มเลือด กากน้ำตาลนั้นอุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม แมงกานิส และซีลีเนียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่คุณแม่ต้องระหว่าง เมื่อเป็นประจำเดือน
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด มันจัด หรืออาหารขยะ เพราะจะทำให้ร่างกายผลิตสารพลอสตาแกลนดินออกมามากเกินไป จึงส่งผลให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัว และเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อยได้ค่ะ
- คุณแม่ไม่ควรดื่มกาแฟ และน้ำอัดลมโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะทำให้ปวดประจำเดือนมากแล้ว การดื่มกาแฟอาจจะทำให้ลูกน้อยนอนไม่หลับ งอแง และมีพัฒนาการช้าลงได้ค่ะ
- รักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกสร้างมาจากเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บสะสมไขมัน หากร่างกายของคุณแม่มีไขมันสะสมมากเกินไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลของร่างกายไม่ดี และทำให้มีอาการปวดตามมาได้นั่นเองค่ะ
ข้อมูลทั้งหมดที่เรานำเสนอไปนั้น น่าจะช่วยให้คุณแม่ทราบถึงวิธีการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนอย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องพึ่งยาแล้วใช่ไหมค่ะ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จงคำนึงไว้เสมอว่า “ทุกอย่างที่คุณแม่รับประทาน จะส่งผ่านไปยังลูกน้อยได้” ดังนั้น หากจะให้ดีการเลือกวิธีการรักษาที่ปลอดภัยที่สุด จะช่วยป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กได้
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ดัด ยืด ทำสีผมระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่
2.ท้องแล้วก็สวยได้....วิธี สวยแบบปลอดภัย สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์