เมื่อคุณแม่ได้คลอดทารกออกมาแล้ว หลังจากนั้นจะมีการทำคลอดรกออกมา โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที แต่ก็มีคุณแม่บางรายที่มีการคลอดรกช้ากว่านี้ ซึ่งการคลอดช้า อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพคุณแม่ได้หรือไม่ อย่างไร เรามาดูคำตอบกันเลยค่ะ

การทำคลอดรก คืออะไร

การทำคลอดรกเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการคลอดทารก โดยปกติเมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา จะมีรกทำหน้าที่คอยเชื่อมต่อในการส่งออกซิเจนและสารอาหารระหว่างคุณแม่สู่ตัวลูกน้อย หลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว รกจึงไม่มีความจำเป็นอีก ในคุณแม่ที่มีการคลอดเป็นไปอย่างปกติ มดลูกจะทำการบีบตัว เพื่อขับให้รกหลุดออกจากผนังมดลูก และคลอดออกมาทางช่องคลอด ถือว่าการคลอดได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้ว ในการนี้คุณหมอจะเป็นผู้ตรวจดูสภาพของรกที่คลอดออกมาว่า มีสภาพสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ หากมีชิ้นส่วนของรกที่หลุดลอกหลงเหลืออยู่ในมดลูก ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย ต่อคุณแม่ได้

ความเสี่ยงต่อการคลอดรก

การทำคลอดรกของคุณแม่อาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ดังนี้

1.รกค้าง

เมื่อคุณแม่ได้คลอดทารกออกมาแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นกระบวนการคลอดเอารกออกมา โดยคุณหมอจะเช็คดูสภาพการบีบตัวของมดลูก เพื่อจะประเมินการคลอด ส่วนใหญ่แล้วรกจะคลอดออกมาได้ภายใน 30 นาที หากคุณแม่ไม่สามารถคลอดรกออกมาได้ในเวลานี้ อาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้น

คุณแม่กลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกค้าง

  • คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ซึ่งอายุของคุณแม่ที่มากจะส่งผลต่อความเสี่ยงรกค้างได้มาก โดยเฉพาะคุณแม่ในวัย 35 ปีขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดรกค้าง คุณหมออาจจะแนะนำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วงอายุมากกว่า 35 ปี คลอดลูกโดยการผ่าทางหน้าท้อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดรกค้าง
  • คุณแม่คลอดทารกก่อนกำหนด การคลอดลูกก่อนกำหนด อาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของทารก หรืออาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ก็ตาม ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกค้างได้ง่าย
  • คุณแม่ที่ใช้เวลาในการคลอดนานหรือปวดท้องเป็นเวลานาน เพราะระยะเวลาในการคลอดที่ยาวนาน อาจทำให้เกิดการไม่สมดุลของสารน้ำในร่างกายและปัญหาอื่นๆ จึงทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหารกค้างได้เช่นกัน
  • คุณแม่ที่มีทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ เพราะการที่คุณแม่มีทารกในครรภ์เสียชีวิต ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อของรกเกิดการย่อยสลายไปแล้วบางส่วนประกอบกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อในมดลูกมีประสิทธิภาพน้อยลง จึงทำให้การคลอดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์มีปัญหาต่อการเกิดรกค้างได้

วิธีสังเกตว่ามีภาวะรกค้าง

หลังจากคลอดทารกมาแล้วคุณแม่ควรสังเกตอาการด้วยตัวเอง หากมีอาการเหล่านี้ ให้สันนิษฐานได้เลยว่าอาจจะเกิดจากภาวะรกค้างอยู่ในมดลูกได้

  • มีไข้ อาการเป็นไข้ หนาวสั่น ตัวร้อน โดยไม่มีสาเหตุจากการเป็นไข้หวัด
  • มีตกขาว พร้อมกับกลิ่นเหม็นเน่า หรือบางรายอาจจะมีเศษชิ้นส่วนของรกหลุดออกมาได้
  • มีการปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย

วิธีรักษาภาวะรกค้าง

การรักษาภาวะรกค้างกระทำโดยคุณหมอ ซึ่งมีหลายวิธี

  • โดยแพทย์จะใช้วิธีหัตถการ โดยการทำคลอดรกด้วยวิธีเอามือล้วงรกออกจากมดลูก วิธีนี้หากขาดความระมัดระวังในความสะอาด อาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของคุณแม่ได้
  • ให้คุณแม่กินยา เพื่อให้มดลูกบีบตัวจนสามารถขับรกออกจากมดลูกได้
  • ในรายที่เป็นไม่มาก อาจจะให้ลูกช่วยดูดนมเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก จะทำให้เกิดการขับรกส่วนที่ค้างให้หลุดออกมาได้เช่นกัน
  • ส่วนคุณแม่ที่มีอาการหนักมาก แม้ลองปฏิบัติด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วแต่ยังไม่ได้ผล อาจจะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อนำรกออกมา

2.ตกเลือดหลังคลอด

การตกเลือดหลังคลอดเกิดได้หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกออกมาแล้ว ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากการที่มดลูกบีบตัวได้ไม่ดีนัก ประกอบกับมีการฉีกขาดของเส้นเลือดในมดลูก หรือบริเวณปากช่องคลอด จึงทำให้คุณแม่มีการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

คุณแม่กลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงกับภาวะตกเลือดหลังคลอดบ้าง

  • คุณแม่ที่มีปัญหาการลอกตัวก่อนกำหนดของรกหรือรกเกาะต่ำ
  • คุณแม่ท้องแฝด
  • คุณแม่ที่มีความดันเลือดผิดปกติระหว่างคลอด
  • คุณแม่ที่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายคน
  • คุณแม่ที่ใช้เวลาในการทำคลอดนาน
  • คุณแม่ที่มีภาวะติดเชื้อ
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • คุณแม่ที่คุณหมอใช้ครีมหรือเครื่องสุญญากาศในการช่วยคลอด

วิธีสังเกต ว่ามีการตกเลือดหลังคลอด

หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ ให้สงสัยเลยว่าอาจจะเป็นภาวะการตกเลือดหลังคลอดก็ได้

1. เลือดไหลไม่หยุด

2. ความดันเลือดต่ำลง

Sponsored

3. หัวใจเต้นเร็วขึ้น

4. เม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง

5. ช่องคลอดบวมและเจ็บเนื่องจากมีการคั่งของเลือด

วิธีรักษาอาการตกเลือด

เมื่อคุณหมอหาสาเหตุการตกเลือดของคุณแม่แล้วก็จะทำการรักษาด้วยวิธีการดังนี้

1. การใช้ยานวดมดลูก เพื่อช่วยกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวมากขึ้น

2. การผ่าตัดมดลูกด้วยกล้อง เพื่อหาสาเหตุของการตกเลือด

3. การผ่าตัดเอามดลูกออก หากใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

การทำคลอดรก เป็นขั้นตอนหลังจากที่คลอดทารกออกมาแล้ว ในคุณแม่ที่มีสุขภาพและการตั้งครรภ์ที่เป็นไปอย่างปกติ ก็สามารถคลอดลูกได้ด้วยความราบรื่น แต่ในคุณแม่บางรายอาจจะมีปัญหาการคลอดรกได้ทั้งนี้ หากได้รับการฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ และไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง รวมถึงการที่คุณแม่สนใจในการศึกษาข้อมูลของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ก็จะช่วยลดความกังวลลงไปได้มาก ถึงแม้การทำคลอดรกมีความเสี่ยงอยู่บ้าง หากแต่เมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์แล้ว ปัญหาทุกอย่างจะแก้ไขไปในทางที่ดีได้ในที่สุด

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.อาหารแม่ท้อง อะไรบ้างที่คน กรุ๊ปเลือด AB ควรกินและควรเลี่ยง

2.10 อาหารวิตามินอี คนท้องควรกิน เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี