คุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ตลอดจนขณะตั้งครรภ์ควรระมัดระวังในการที่จะกินยาชนิดต่างๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ซึ่งการจะกินยาแต่ละครั้งคุณแม่ควรจะปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

ทำไมห้ามคนท้องซื้อยากินเอง

ในคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวบางราย ถึงแม้ว่าก่อนท้องคุณแม่เคยใช้ยาบางชนิดแล้วได้ผลดีอยู่แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการตั้งครรภ์จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจจะเป็นชนิดที่ไม่เคยกินมาก่อน เพราะยาแต่ละชนิดมีความปลอดภัยต่อคนท้องไม่เท่ากัน แพทย์จะมีความเชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยโรคของคนท้องอยู่แล้ว จึงสามารถทราบได้ว่ายาชนิดไหนที่เคยมีคนท้องกินแล้วไม่ได้ส่งผลข้างเคียงและกินมาเป็นเวลานานแล้ว ย่อมมีความมั่นใจว่าปลอดภัยต่อคนท้องจริงๆ นอกจากนี้ให้เลี่ยงที่จะไปซื้อยากินมาเอง เนื่องจากตามร้านขายยาจะมียาชนิดใหม่ออกมาบ่อยๆ เภสัชกรอาจจะแนะนำยาชนิดใหม่ ซึ่งยังไม่ได้ทำการศึกษาในคนท้องมามากพอ ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากคนท้องซื้อยากินเองจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะได้รับอันตรายจากยาชนิดนั้นได้

คนท้องป่วยกินยาอะไรได้ไหม

เมื่อคนท้องมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่พอจะช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้น เช่นมีอาการมีไข้ ปวดศีรษะ สามารถกินยาบรรเทาปวดได้เช่นยาพาราเซตตามอล และยาอะเซตามิโนเฟน ซึ่งเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่มีความปลอดภัยต่อคนท้อง โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมก็จะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ และปลอดภัยต่อตับและไตของคุณแม่ด้วย ซึ่งปริมาณที่คุณแม่ควรกินคือ 500 มิลลิกรัม หากกินครั้งเดียวไข้ยังไม่ลด สามารถกินได้ทุก 8 ชั่วโมง จนกว่าอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้คุณแม่ควรดื่มน้ำบ่อยๆ ด้วยเพื่อช่วยให้ตัวยาดูดซึมได้ดีขึ้น ห้ามกินยาพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนมเพราะจะทำให้ขัดขวางการดูดซึม

เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ

หากกินยาพาราเพื่อลดอาการเป็นไข้ แก้ปวดผ่านมาแล้ว 2-3 อาการยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการเจ็บป่วยที่แท้จริง ซึ่งในคนท้องอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้คือ

1.โรคหัดเยอรมัน

ซึ่งหากคุณแม่ติดเชื้อหัดเยอรมันจะส่งผลให้ทารกในครรภ์ มีความผิดปกติที่สมอง หัวใจ และดวงตาได้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์อาจมีความเสี่ยงทำให้เด็กที่คลอดออกมามีความพิการได้ ในบางประเทศให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันยุติการตั้งครรภ์ทันที ส่วนในประเทศไทยก็อยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ แต่ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อเยอรมันก็จะส่งผลเสียทั้งตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ได้มาก หากแพทย์วินิจฉัยว่าให้ยุติการตั้งครรภ์เพื่อรักษาชีวิตของแม่ก็ต้องจำเป็นที่ต้องทำ

2.การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

คุณแม่ที่ป่วยด้วยการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอาจจะมีไข้หวัดมาก่อน จึงทำให้มีปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ คุณแม่ที่ป่วยด้วยอาการแบบนี้มักจะทำให้มีการไออย่างรุนแรงร่วมด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และอาจทำให้มีการคลอดทารกก่อนกำหนด หรือเกิดแท้งลูกได้

3.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

ในคุณแม่ที่ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากมดลูกและกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ใกล้กัน หากคุณแม่มีการอั้นปัสสาวะบ่อยๆ จะทำให้มีการอักเสบได้ง่าย ซึ่งการที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และคลอดก่อนกำหนดได้

4.เมื่อคุณแม่มีไข้สูงเกิน 38 องศา และก็ติดต่อกันหลายวันแล้ว ถึงแม้กินยาแล้วยังไข้ยังไม่ลดควรไปพบแพทย์

Sponsored

วิธีบรรเทาอาการป่วยโดยไม่ใช้ยา

หากคนท้องมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ โดยการวิธีดูแลตัวเองโดยที่ปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์

1.เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นหวัด และมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ให้คุณแม่ดื่มน้ำมากกว่าปกติเคยดื่มวันละ 6-8 แก้วให้เพิ่มเป็นวันละ 10 แก้วขึ้นไป ในรายคุณแม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วยสามารถบีบมะนาวผสมน้ำ จิบได้บ่อยๆ รวมถึงการใช้น้ำเกลืออุ่นกลั้วคอได้อีกด้วย

2.เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดศีรษะ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบที่ศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอยประมาณ 20 ถึง 30 นาทีหลังจากนั้นให้นอนพักสายตาอาจจะทำให้มีอาการดีขึ้น

3.เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นไข้ให้อาบด้วยน้ำอุ่น จะทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แต่หากมีอาการเป็นไข้สูงตัวร้อนมากให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิห้องเช็ดตามตัวย้อนรูขุมขน เพื่อระบายความร้อนออกจากตัว

4.เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดหลัง สามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดประคบที่หลังโดยทำติดต่อกัน 3-4 ครั้ง และให้ทำซ้ำทุก 3 ชั่วโมง หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ให้แข็งแรง ย่อมส่งผลดีต่อทารกในครรภ์ด้วย แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเจ็บป่วยการกินยาก็ช่วยลดความเจ็บปวดลงได้มาก แต่ทั้งนี้หากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์การกินยาต้องมีการระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะยาบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างของทารกจนทำให้เกิดความพิการได้

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.หัดกุหลาบ โรคนี้เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยมากแค่ไหน

2.โรคภูมิแพ้ตัวเอง คุณแม่รู้ไหม ลูกน้อยก็อาจเป็นได้