เจาะน้ำคร่ำ  Q : ดิฉันอายุ 34 ปี ตอนนี้ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน อยากขอความรู้เกี่ยวกับการเจาะตรวจน้ำคร่ำค่ะ และจำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำคร่ำ เพื่อตรวจภาวะสุ่มเสี่ยงดาวน์ซินโดรมของลูกในครรภ์หรือไม่คะ เพราะรู้สึกกังวลที่มีคนบอกว่า ถ้าเราเจาะถุงน้ำคร่ำ จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแท้งไหมคะ?

เจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจภาวะสุ่มเสี่ยงดาวน์ซินโดรม จำเป็นหรือไม่? จะทำให้เสี่ยงแท้งไหม?

A : แม่ตั้งครรภ์แต่ละคน มีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติของครรภ์แตกต่างกันไป ซึ่งการเจาะตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หมอจะทำเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เป็นการเจาะเอาน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ตัวทารกในครรภ์ ที่มีเซลล์ผิวหนัง หรือ เซลล์เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะของทารกในครรภ์ มาตรวจสอบ

แล้วจะนำเซลล์ที่ตรวจเจาะได้มาเพาะเลี้ยง รวมถึงนำมาตรวจวิเคราะห์โครโมโซมของทารกในครรภ์ ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ จะมีทั้งจำนวนที่มากกว่าปกติหรือน้อยกว่าปกติหรือรูปร่างที่ผิดปกติ เช่น ลิ้นยื่นออกมาจากปาก มรความผิดปกติของสมองดั้งจมูกแบน ศีรษะผิดปกติ เป็นต้น ที่พบบ่อย คือกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ที่เป็นความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21

การตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดข้าวงดน้ำ เพียงแต่ต้องรับทราบทั้งครอบครัว หมอจะทำการเจาะในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสม  คือ ระหว่างอายุครรภ์ 4 เดือน หรือ 16-18 สัปดาห์  โดยจะแทงเข็มผ่านหน้าท้องเข้าไปในโพรงมดลูก ทั้งนี้หากแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่านี้จะไม่นิยมทำ เพราะทารกในครรภ์จะโตมากขึ้น การแทงเข็มผ่านหน้าท้องอาจเกิดความเสี่ยงที่เข็มจะโดนตัวทารกได้

และหลังจากตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำแล้ว ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หมอจะมีการอัลตราซาวด์ซ้ำอีกครั้ง เพื่อเช็คความปกติของทารกในครรภ์ และเพื่อลดความกังวลให้แม่ตั้งครรภ์สบายใจมากขึ้น จากนั้นรอฟังผลประมาณ 2-3 สัปดาห์ ระหว่างนี้หลังตรวจเจาะถึงน้ำคร่ำ แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรยกของหนัก เดินขึ้นลงบันได หรือระวังอันตรายที่จะเกิดกับบริเวณหน้าท้อง แต่หากพบความผิดปกติ เลือกออกทางช่องคลอด มีไข้ ปวดท้องอย่างมาก มีน้ำเดิน ต้องรีบไปพบหมอ

และส่วนหนึ่งของการตรวจเจาะน้ำคร่ำจะมีความเสี่ยง ที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ เช่น การติดเชื้อ การรั่วของน้ำคร่ำเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้ง มีเลือดออกจากตำแหน่งที่เจาะได้ แต่อย่างไรก็ไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินไป

ส่วนแม่ตั้งครรภ์กลุ่มที่ควรมีการตรวจเจาะน้ำคร่ำ คือ แม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะพบว่ายิ่งอายุมากขึ้น ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ก็จะมีสูงขึ้น แม่ตั้งครรภ์ที่มีประวัติการคลอดลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมาก่อน แม่ตั้งครรภ์ที่มีพันธุกรรมเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม  แม่ตั้งครรภ์ที่มีผลการตรวจสารเคมีในเลือดผิดปกติ และแม่ตั้งครรภ์ที่อัลตราซาวด์แล้วพบว่ามีความผิดปกติของทารกในครรภ์

Sponsored

สำหรับคุณแม่ที่อายุ 34 ปี ตามเกณฑ์ยังไม่ใช่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงไม่มีความจำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำคร่ำ ทั้งนี้ในปัจจุบันหลายสถาบันแนะนำให้ครวจคัดกรองความสี่ยงเรื่องดาวน์ซินโดรมจากเลือดแม่ได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการตรวจชนิดใหม่ๆ  ที่ให้ผลแม่นยำ เช่น Nifty หรือ Panorama test  แต่ราคาในการตรวจนั้นค่อนข้างแพง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก