เด็กเล็กมักจะเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งด้วยวัยของเด็กที่ยังเล็กมาก และยังไม่สามารถบอกอาการที่ชัดเจนได้จึงทำให้ทุกครั้งที่ลูกป่วยก็ต้องพาไปพบคุณหมอ เพื่อรับยามากินตามอาการ บางครั้งคุณหมอก็จะจ่ายยามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งยาชนิดนั้นมีความจำเป็นกับอาการป่วยของลูกมากน้อยแค่ไหน วันนี้เรามีวิธี การใช้ยาในเด็กเล็ก มาฝากกันค่ะ

การใช้ยาในเด็กเล็ก ที่จำเป็นต้องรู้

มาดูกันเลยว่าการจะใช้ยาในเด็กเล็กนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก ได้แก่

1.มีไข้แบบไหนเลือกใช้ยาเองหรือไปพบแพทย์

เมื่อลูกป่วยโดยการที่คุณแม่ใช้มือสัมผัสตัวลูกและพบว่าตัวร้อนมีไข้ แต่เพื่อความมั่นใจว่าลูกมีไข้จริงๆ ก็ควรใช้ปรอทวัดไข้ หากวัดได้มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียสก็ควรให้ยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอลและการเช็ดตัวร่วมด้วย โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อเปิดโอกาสให้ความร้อนได้ระบายออกมามากที่สุด หากมีไข้สูงเกิน 40 องศาควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะทำให้ลูกช็อคได้ ระหว่างทางก็ควรเช็ดตัวให้ลูกไปด้วย

2.หากลูกอาเจียนควรให้ยาซ้ำหรือไม่

ลูกกินยาแล้วอาเจียน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็เกิดความกังวลว่าลูกจะได้รับยาที่กินไปหรือไม่ จะต้องป้อนยาให้ลูกซ้ำหรืออย่างไร  โดยเภสัชกรได้แนะนำให้ดูว่าลูกอาเจียนออกมาทันทีที่กินยาหรือไม่ ถ้าอาเจียนทันทีก็ให้ป้อนซ้ำ แต่ถ้าไม่ได้อาเจียนทันทีก็ไม่ต้องป้อนซ้ำอีก เพราะการป้อนซ้ำอาจทำให้ได้รับยามากเกินไป ซึ่งจะเป็นอันตรายได้

3.อย่าผสมยาลงในขวดนม

ในเด็กเล็ก ซึ่งกินนมเป็นหลักการจะป้อนยาให้เด็กก็จะเป็นเรื่องยาก เพราะเด็กเล็กอาจจะปฏิเสธอาหารแปลกใหม่ได้โดยเฉพาะยา จึงมีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านจะใช้วิธีการเอานมผสมกับยาให้ลูกกิน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากในนมมีแคลเซียม ซึ่งเมื่อผสมกับยาจะทำให้เกิดการจับตัวกันจนทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ และมีปัญหาตามมาคือเมื่อเด็กกินนมไม่หมดในครั้งเดียว ก็จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ได้ครบตามขนาดที่ระบุ จึงทำให้การกินยาไม่ได้ผลในการรักษาโรคอย่างเต็มที่ อีกอย่างหนึ่งเมื่อเด็กกินยาผสมนมจะทำให้มีนมที่รสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม จนทำให้เบื่อนมไปเลย หากมีความจำเป็นจะป้อนยาจริงๆ และลูกไม่ยอมกินยาที่ป้อน ก็อาจจะผสมกับน้ำหวานหรือน้ำผึ้งแทนก็ได้

คลิกที่นี่ ยาแก้ท้องอืดสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

4.ให้ป้อนยาทีละขนาน

ในเด็กที่เจ็บป่วยก็อาจจะได้รับยามาครั้งละหลายขนาน จะป้อนให้เด็กในคราวเดียวก็คงยาก คุณแม่บางคนได้ผสมยาหลายชนิดเข้าด้วยกันจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกินยานั้นเลย อีกอย่างหนึ่งคุณสมบัติทางกายภาพของยาก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย โดยยาบางชนิดอาจจะทำปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกันจนทำให้มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกได้ หรือยาบางชนิดเมื่อทำปฏิกิริยาต่อกันทำให้มีฤทธิ์ลดลง ส่งผลให้การรักษาได้ไม่ดี ดังนั้นการป้อนยาให้ลูกควรจะแยกป้อนทีละขนานจะดีกว่า

5.อุปกรณ์ป้อนยาเด็ก

Sponsored

ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบการป้อนยาก็เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากเด็กจะไม่ยอมกินจากช้อน ซึ่งเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยในการป้อนยาเด็กให้สะดวกมากขึ้นอาจจะใช้หลอดดูดยาที่มีตัวเลขบอกเป็นปริมาตรเป็นซีซีแสดงอยู่ เพราะจะสะดวกกับการป้อนให้ลูกกินมากกว่า ทั้งนี้ให้เทียบปริมาณช้อนชาที่ติดมากับขวดยาซึ่งเท่ากับ 5 ซีซี เด็กโตกินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะก็สามารถใช้ช้อนชาตวงได้1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 3 ช้อนชา

6.เทคนิคการป้อนยาเด็ก

การป้อนยาเด็กเป็นเรื่องยากมาก ครั้งแรกเด็กอาจจะกินง่ายเพราะยังไม่ได้สัมผัสกับรสชาติและกลิ่นของยา แต่เมื่อกินมื้อต่อไปเด็กจะปฏิเสธการกลืนยา จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะป้อนยาให้ลูกกินได้อย่างสะดวก อีกอย่างหนึ่งเมื่อเด็กกลัวก็จะมีการร้องไห้จนเกิดการสำลัก ทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมาใช้วิธีการจับลูกบีบจมูกเอายาใส่ปาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจทั้งเด็กและคุณพ่อคุณแม่มาก แต่วิธีการที่ถูกต้องที่ควรจะใช้ป้อนเด็กโดยไม่เสี่ยงอันตรายที่จะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการสำลักยาขึ้นจมูก ก็คือการใช้หลอดดูดยาค่อยๆ ฉีดเข้าไปที่กระพุ้งแก้มของเด็กครั้งละน้อยๆ เด็กจะค่อยๆ กลืนลงคอ อาจจะต้องมีการให้มีคนอื่นมาช่วยจับมือและเท้าไม่ให้เด็กดิ้นบ้างก็ได้ แต่การฉีดเข้ากับกระพุ้งแก้มจะปลอดภัย ไม่ทำให้เด็กสำลักยา และป้องกันการหกเลอะเทอะอีกด้วย

7.วิธีเก็บรักษายาที่ถูกต้อง

เมื่อมียาให้ลูกกินแล้วก็ต้องรู้จักเก็บอย่างถูกวิธี การเก็บยาไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้านจะได้ตรวจสอบอายุของยาทุกครั้งที่หยิบใช้หรือยาหมดอายุก็จะได้รู้ก่อนโดยจัดเป็นสัดส่วน ยาหมดอายุก่อนก็ควรจะอยู่ด้านหน้าจะได้หยิบสะดวก ยาขวดไหนหมดอายุทีหลังก็เก็บไว้ด้านใน แต่ก็ต้องหมั่นดูอยู่เสมอไม่ให้ยาหมดอายุค้างอยู่ เพราะหากเกิดฉุกเฉินหยิบมาใช้เด็กจะได้กินยาอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ตู้เก็บยาก็ควรอยู่ห่างไกลจากแสงแดดหรือความชื้น ส่วนยาที่เป็นไข้หวัดมักจะมียาปฏิชีวนะติดมาด้วยเสมอนั้น หลังจากเปิดใช้แล้วก็ไม่ควรเก็บไว้เกิน 7 วัน หรือหากยาชนิดน้ำเชื่อมหรือมีกลิ่นผลไม้ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ต้องมีการห่อหรือใส่กล่องแยกไว้ต่างหาก เพื่อป้องกันลูกหยิบมากินเล่นเองโดยไม่รู้นั่นเอง

ดูเพิ่มเติม การเก็บยาน้ำของเด็ก หลังเปิดใช้

ยามีประโยชน์มากก็จริงแต่การใช้พร่ำเพรื่อเกินไป ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตับและไตของเด็กได้ ซึ่งการใช้ยากับเด็กแต่ละครั้งคุณพ่อคุณแม่ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดอันตรายต่อลูกได้นั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.7 เรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้ เพื่อ การเลี้ยงลูก อย่างปลอดภัย

2.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องเตรียม 7 สิ่งนี้ให้พร้อม