การรับมือกับการตั้งครรภ์ก็ว่าเป็นเรื่องที่คุณแม่จะต้องปรับตัวมากแล้ว ยิ่งเป็นคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการมีลูกยิ่งต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นอย่างมาก แต่การรับมือกับโรคแพนิคที่คุณแม่เป็นตั้งแต่ก่อนหรือขณะตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและความปลอดภัยของลูกน้อย คุณแม่ต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ไปให้ได้ วันนี้เราจะมาศึกษารายละเอียดและวิธีการรับมือกับโรคที่ชื่อว่า “ โรคแพนิค ” กันค่ะ
โรคแพนิค คืออะไร
โรคแพนิค เป็นโรคเดียวกันกับโรคตื่นตระหนก ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการรู้สึกกลัวขั้นรุนแรง มีการตื่นตระหนกแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งไม่ได้อันตรายสักเท่าไหร่ โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแบบซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไปได้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกวิธี
อาการโรคแพนิค เป็นยังไง
สำหรับอาการแพนิค หรืออาการตื่นตระหนก หลายคนอาจสับสนและคิดว่าใช้หรือไม่ใช่ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน แม้แต่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งมีผลพ่วงมาจากความเครียด ความกลัว หรือความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ มากจนเกินไป โดยจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองมีอาการตัวสั่น วูบวาบร้อนรน อยู่ไม่เป็นสุข
2. นอกจากความร้อนรนแล้วยังมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
3. ปวดหัว เวียนศีรษะ
4. มีอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย
5. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
โรคแพนิคเป็นโรคที่จะต้องเป็นซ้ำไปซ้ำมาหลายๆครั้งวนไป แต่กรณีที่คุณแม่เป็นแค่ครั้งเดียว เช่นเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรืออาการแพ้ท้องปวดหัว คลื่นไส้อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่นับว่าเป็นอาการของโรคแพนิคแต่อย่างไร สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผลต่อการดำเนินชีวิต
วิธีรับมือสำหรับแม่ท้อง
เมื่อคุณแม่มีอาการแพนิค สามารถรับมือได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ใจเย็นๆ ตั้งสติ
อาการแพนิค ตกใจ หรือตื่นตระหนกเป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะสามารถควบคุมตัวเองให้มีสติในตอนนั้นได้ ซึ่งอาการที่ว่านี้จะเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ จะเกิดตอนไหนก็ได้ ถ้าคุณแม่รู้สึกตัวมีว่ากำลังเป็นโรคแพนิคการควบคุมสติเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นอันดับแรก อาจเริ่มจากการนั่งนิ่งๆ ตั้งสติ สงบอารมณ์ โดยการหายใจเข้าออก นับ 1-100 ก็ได้ อย่าคิดในทางลบเพราะมันจะทำให้คุณมีสภาพจิตใจที่แย่กว่าเดิม
2. ไปพบคุณหมอ เพื่อเตรียมการรับมือกับโรค
กรณีมีอาการครั้งแรกซึ่งอาจจะใช่ หรือไม่ใช่แต่คุณแม่รู้สึกว่าตนเองเข้าข่ายหรือมีอาการใกล้เคียงตามที่บอกในเบื้องต้น เพื่อความแน่ใจว่าเป็นโรคตื่นตระหนกหรือไม่แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อความแน่ชัดจะได้ปฏิบัติตัวหรือรักษาได้อย่างถูกต้อง
3. สร้างความแข็งแรงให้ร่างกายและจิตใจ
ก็อย่างที่ทราบกันว่าโรตื่นตระหนกเป็นสภาวะทางจิตใจโดยตรง ดังนั้นคุณแม่จะต้องดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อการทำงานที่สมดุลของระบบหัวใจ เป็นทางที่ดีที่สุดที่จะสามารถใช้รับมือกับอาการตื่นตระหนกได้ การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหักโหมพียงแค่วิ่งเหยาะๆ เดินเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ เล่นโยคะ แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กในท้องเป็นหลักด้วยนะคะ
4. เลือกที่จะระบายความรู้สึกออกไปจากตัว
ความเครียด ความวิตกกังวลเป็นผลเสียต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในท้อง รู้หรือไม่ว่าโรคนี้จะไม่สามารถทำร้ายคุณได้เลยถ้าคุณไม่เก็บความรู้สึกเหล่านั้นมาเครียดหรือคิด การเก็บไว้คนเดียวเป็นการกดดันตัวเองให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแพนิคมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่จะต้องระบายความเครียด สิ่งที่ไม่สบายใจ ความกลัว หรือกังวลเหล่านั้นให้แก่คนรอบข้างอย่างคุณพ่อ คนที่ไว้ใจได้ หรือคนในครอบครัว อีกอย่างคือการบันทึกลงในสมุดบันทึก
5. กำลังใจและความอบอุ่นของคนรอบข้างเป็นสิ่งที่สำคัญ
โรคแพนิคความจริงแล้วเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยที่สุดแต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงขั้นเสียชีวิต ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องไปเครียดหรือกังวลใจไปกับมันนะคะ ยิ่งกังวลยิ่งเป็น แค่เพียงคุณเองจะต้องรับมือกับมันให้ได้ สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ย่อมต้องการความเข้าใจ กำลังใจและความอบอุ่นจากคนรอบข้าง ดังนั้นเวลาที่มีเรื่องราวอย่าอายที่จะเล่าหรือบอกให้สามีรับรู้
6. การเตรียมความพร้อมก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะออกมาสู่โลกภายนอก
เป็นวิธีการที่ช่วยลดความกังวล ความเครียดเหล่านั้นคุณแม่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง ด้วยการเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงลูกน้อยด้วยการเข้าคอร์สอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านนั้นๆ มาก่อน ที่สำคัญยังมีเพื่อนและที่ปรึกษาเพิ่มมาอีกด้วย
และที่ได้กล่าวมานี้เป็นวิธีการรับมือสำหรับคุณแม่ที่ประสบกับโรคตื่นตระหนก หรือโรคแพนิคสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าลองพยายามที่จะควบคุมตัวเองแล้วยังไม่สำเร็จ อย่าฝืนค่ะ เข้าพบแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา การปฏิบัติตัว ทางคุณหมอจะให้คำแนะนำที่ดีที่สุด อย่าลืมทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม