รกต่ำอันตรายไหม เป็นคำถามที่ถูกถามกันมาอย่างมากมาย วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะรกต่ำในคุณแม่ตั้งครรภ์ ว่าเกิดจากอะไรและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับ รก หรือ Pacenta เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่นำสารอาหารจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ ผ่านทางหลอดเลือดในสายสะดือ ซึ่งเด็กในท้องสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เลย โดยไม่ต้องย่อย หรือเคี้ยว รกมีลักษณะเหมือนจาน เกาะติดด้านในผนังโพรงมดลูก โดยจะเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของมดลูก ซึ่งหากรกมาเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก เรียกว่า รกเกาะต่ำ ซึ่งแม่ท้องหลายก็สงสัยตามมาว่า รกต่ำจะอันตรายไหมวันนี้เรามีคำตอบ
ตอบให้เคลียร์ รกต่ำอันตรายไหม
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนมักเข้าใจว่า “รก” จะพันคอลูกน้อยในครรภ์ และทำให้เกิดอันตราย แต่ในความเป็นจริงรกไม่สามารถพันคอลูกได้ แต่สายสะดือต่างหาก ที่สามารถพันคอทารก ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเชือกเกลียว ยาว 30-80 ซม. อาจคล้องคอลูกน้อย ขณะลูกพลิกตัวหรือดิ้นจนพันรอบคอได้ แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต แต่จะส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และในบางอาจก่อนให้เกิดความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร หรือระบบประสาท เป็นต้น ดังนั้นคำตอบของคำถามที่ว่า รกต่ำอันตรายไหม ตอบได้เลยว่าอันตราย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและคุณแม่อย่างแน่นอน
ภาวะรกต่ำ เกิดจากอะไร ????
รกต่ำอันตรายไหม จากคำตอบข้างต้นคงทราบกันถึงความอันตรายที่จะเกิดขึ้นกันแล้ว ดังนั้นเรารู้จักกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำกันสักหน่อย ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ อาทิ
- ตั้งครรภ์หลายครั้ง
- คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งผนังมดลูกจะเสื่อมลงจนเกิดปัญหารกเกาะต่ำได้
- ความผิดปกติของรก ซึ่งในบางคนอาจมีรกขนาดใหญ่หรือบางกว่าปกติ
- เคยขูดมดลูก
- การทำแท้ง หรือการล้วงรก
- บริเวณมดลูกมีแผลผ่าตัดมาก่อน
- แม่ท้องสูบบุหรี่
- เป็นผลข้างเคียงมาจากการทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเป็นประจำ
- การมีเนื้องอกที่บริเวณมดลูก
ฝากครรภ์เร็ว ลดความเสี่ยงจากภาวะรกต่ำได้
จากการสำรวจพบว่า ปัญหาการเกิดรกต่ำ มักเกิดกับคุณแม่ที่ไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ หรือที่เราเรียกว่าการฝาครรภ์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา ทำให้เกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด ซึ่งแน่นอนว่า ภาวะรกต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีเลือดสด ๆ ไหลออกมาทางช่องคลอด และไม่มีอาการปวดท้อง โดยจะเกิดขึ้นในแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 การเสียเลือดซึ่งจะมีผลต่อทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์โดยตรง บางครั้งเลือดที่ออกมาอาจจะไม่มาก แต่จะมีเลือดออกมาบ่อย หรือในแม่ท้องบางคนอาจจะมีเลือดออกจนหมดสติ ทำให้แม่ท้องช็อกจากการเสียเลือด จนลูกในท้องขาดออกซิเจนตามมาได้
ผลคือมีอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และเด็กในท้อง ขณะเดียวกันหากมีอาการมากขึ้น คุณหมออาจจำเป็นเป็นต้องผ่าตัดทำคลอดทารกในครรภ์ แม้อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด หากหัวใจทารกเต้นผิดปกติ และช่วยไม่ทัน ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ บางครั้งหากแม่เสียเลือดมากหลังผ่าตัดลูกน้อยแล้ว อาจจำเป็นต้องตัดมดลูกออกด้วย เพื่อหยุดเลือด ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตของแม่เกี่ยวข้องกับภาวะรกเกาะต่ำพบได้ 2-3 % เลยทีเดียว รู้อย่างนี้แล้วหากพบว่าตั้งท้อง ควรฝากครรภ์เพื่อป้องกันปัญหานี้ทันที รกต่ำอันตรายไหม บอกได้เลยว่าอันตราย
การดูแลรักษาเมื่อมีภาวะรกต่ำ
สำหรับคุณแม่ที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่นั้น ขอเป็นกำลังใจให้และอยากให้คุณแม่สู้ เพื่อให้ลูกน้อยได้ออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย ซึ่งวิธีดูแลตัวเองของคุณแม่ที่มีรกต่ำ สามารถทำได้ดังนี้
1.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
โดยเริ่มแรกคุณแม่ที่ไม่ได้ฝากครรภ์กับคุณหมอ ควรเข้าไปปรึกษาและรับการดูแลให้เร็วที่สุด จากนั้นหมั่นเข้าตรวจสุขภาพครรภ์อย่างสม่ำเสมอ แพทย์มักใช้การอัตราซาวด์เพื่อตรวจตำแหน่งของรกและเด็ก รวมถึงน้ำคร่ำ
2.สังเกตตัวเอง
ซึ่งอาการที่เป็นปัญหาในภาวะนี้ คือการมีเลือดออกจากช่องคลอด ไม่ว่าจะมีปริมาณน้อยหรือมาก ควรพบแพทย์ผู้ดูแลทันที ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะอาจเกิดการแท้งได้
สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่สงสัยเกี่ยวกับ รกต่ำอันตรายไหม วันนี้คงได้คำตอบกันไปแล้ว วิธีป้องกันการเกิดภาวะนี้ สามารถทำได้โยการเว้นระยะห่างในการตั้งท้องอย่างน้อย 1-2 ปี ให้แผลผ่าคลอดสมานตัวกันดีก่อน ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น หกล้ม ถูกสิ่งของกระแทกหน้าท้อง เป็นต้น และห้ามมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาดเมื่ออยู่ภาวะรกต่ำลดการทำงานหนักลง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพบแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพจะดีที่สุด รกต่ำอันตรายไหม คำตอบคืออันตรายมาก ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงต่อกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้น หากเริ่มตั้งท้องควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดรกต่ำและปัญหาอื่นๆ
= = = = = = = = = = = =