คือความบกพร่องโดยกำเนิด จากการที่กะโหลกศีรษะแต่ละส่วนเชื่อมต่อเข้าหากันผิดปกติ หรือรอยเชื่อมกะโหลกศีรษะ รอยเชื่อมกระบอกตา และรอยเชื่อมของใบหน้าส่วนกลางเชื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้กะโหลกศีรษะขยายตัวไม่ได้  ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะสำคัญอย่างเช่น สมอง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจตามมา ทำให้ศีรษะของเด็กมีรูปร่างผิดปกติ โดยการเชื่อมผิดปกตินี้เกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดา เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถที่จะพบความผิดปกตินี้ได้จากการเอกซเรย์ หรือ อัลตราซาวน์ และจะพบความผิดปกตินี้ได้ เมื่อเด็กทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดา

กะโหลกศีรษะเกยกัน ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด

กะโหลกศีรษะเกยกัน  หรือ Craniosynostosis  คือภาวะกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อกันผิดปกติ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ภาวะดังกล่าวนี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดา แต่ไม่สามารถที่จะตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ หรือ อัลตราซาวน์ กะโหลกศีรษะเกยกัน  เกิดจากรอยประสาทกะโหลกศีรษะของเด็กทารกแต่ละส่วนเชื่อมต่อเข้ากันอย่างผิดธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติแล้วเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีเส้นใยจะจับกะโหลดของทารกไว้ด้วยกัน จะยึด และผลิตกระดูกใหม่ สิ่งนี้ทำให้กะโหลกศีรษะมีการขยายได้ แต่ภาวะ กะโหลกศีรษะเชื่อมต่อผิดปกติ เกิดขึ้นจากการประสานในกะโหลกศีรษะก่อนที่สมองจะก่อตัวเต็มที่ ซึ่งการที่กะโหลกปิดเร็วกว่าปกตินี้เองทำให้สมองไม่สามารถที่จะเติบโตในรูปร่างตามธรรมชาติ ส่งผลทำให้กะโหลกศีรษะผิดปกติ และทำให้โครงสร้างของ สมอง ประสาท ดวงตา และระบบทางเดินหายใจเสียหายได้ในอนาคต

สาเหตุที่ทำให้กะโหลกศีรษะเกยกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน นั้นมาจากการที่กระดูกที่จะมาประกอบเป็นกะโหลกศีรษะนั้น มีการเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ หรือรอยต่อกะโหลกเชื่อมต่อเร็วกว่าปกติ (ปิดก่อนที่สมองจะเจริญเติบโตเต็มที่) ซึ่งรอยต่อของกะโหลกนี้ควรเปิดอยู่จนกว่าเด็กจะอายุ 2 ขวบ ถึงจะเชื่อมต่อกันอย่างแนบสนิท แต่เมื่อกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อกันเร็วไป ทำให้สมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้ศีรษะของเด็กดูผิดรูป และยังทำให้เกิดแรงดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในอนาคตได้ นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน อาจมาจากโรคทางพันธุกรรมด้วยเช่นกัน

ทารกที่กะโหลกศีรษะเกยกัน จะมีอาการแบบไหน

เด็กที่มีภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน จะทำให้เด็กมีอาการผิดปกติทางร่างกายหลายอย่างตั้งแต่กำเนิด รวมถึงพัฒนาการสมองจะช้ากว่าปกติ และนี่คืออาการทั่วไปที่มักจะพบได้จากเด็กที่มีภาวะ กะโหลกศีรษะเชื่อมต่อผิดปกติ ได้แก่

- เด็กจะมีใบหน้า และกะโหลกศีรษะผิดรูป

- กระหม่อมหายไป บนศีรษะของเด็ก

- ตาจะโปนออก

- ร่างกายจะยังคงเจริญเติบโต แต่การเจริญเติบโตของศีรษะถดถอย

- สันแข็งตามแนวรอยประสานของกะโหลก

- จะสังเกตเห็น เส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะได้ชัดเจน

- เด็กจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เซื่องซึม

- เด็กมักจะกระสับกระส่าย และ ร้องไห้บ่อยๆ

- ดูดเต้าหรือดูดขวดไม่ค่อยดี

Sponsored

- มีอาการอาเจียนพุ่ง

- ศีรษะของเด็กจะมีขนาดผิดปกติ เมื่อวัดเส้นรอบวง

- เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้า เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

วิธีการรักษาเมื่อกะโหลกศีรษะผิดปกติ

การรักษาภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน สามารถรักษาได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งเด็กที่มีความผิดปกติเล็กน้อย อาจไม่ต้องรักษา เพราะเมื่อเด็กเจริญเติบโต มีเส้นผมหนามากขึ้น จะทำให้รูปร่างของศีรษะดูเป็นปกติ ตราบใดที่เด็กไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา ซึ่งแพทย์อาจจะรักษาด้วยการใส่หมวกนิรภัยช่วยในการรักษา อย่างไรก็ตามเด็กส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องรักษา โดยแพทย์จะทำการรักษา ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.การรักษาโดยการผ่าตัดแบบเปิด

การรักษาโดยการผ่าตัดแบบเปิด วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุประมาณ 5 – 6 เดือน เนื่องจากวัยนี้กะโหลกศีรษะของเด็กจะหนา และแข็งพอที่จะขยับ และปรับรูปร่างใหม่ได้ โดยแพทย์จะทำการกรีดที่หนังศีรษะ และเอากระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบออก ปรับรูปร่างใหม่ และใส่กลับเข้าไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางรายจำเป็นจะต้องผ่าตัดหลายครั้ง กว่าที่จะได้รูปร่างศีรษะที่สมบูรณ์ และเด็กที่ได้รับการผ่าตัดไม่จำเป็นจะต้องสวมหมวกนิรภัยในภายหลัง

2.การรักษาโดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง

การผ่าตัด กะโหลกศีรษะเกยกัน แบบส่องกล้อง ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน โดยการผ่าตัดนั้น จะใช้หลอด และกล้อง Endoscope ที่สามารถส่องผ่านบาดแผลเล็กๆ แพทย์จะทำการเย็บแผลที่ได้รับผลกระทบออกไป เพื่อให้สมองได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลจะเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด และนอนพักรักษาในโรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืน และที่สำคัญไม่จำเป็นจะต้องถ่ายเลือดด้วยนั่นเอง

3.การรักษาบำบัดโดยการใส่หมวกนิรภัย

การบำบัดใส่หมวกนิรภัย จะใส่เมื่อผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อป้องกันกะโหลกศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่าควรใส่ถึงเมื่อไหร่ โดยจะพิจารณาตามรูปร่างของศีรษะที่ตอบสนองต่อการรักษา แต่หากรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเปิด เด็กไม่จำเป็นจะใส่หมวกนิรภัยภายหลัง

กะโหลกศีรษะเกยกัน ถือเป็นความผิดปกติของทารกตั้งแต่กำเนิด แต่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด และการใส่หมวกนิรภัยบำบัด กะโหลกเกยกันถือเป็นภาวะที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกน้อย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา เพราะหากรักษาได้เร็ว โอกาสที่เด็กจะหายกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้สูงมาก

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.คำแนะนำดีๆ ที่หมอสูติอยากบอกแม่ ท้องไตรมาส 2

2.คำแนะนำดีๆ ที่หมอสูติอยากบอกกับแม่ ท้องไตรมาสแรก