ดื่มนมเกินความต้องการ ปัญหาใหญ่สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม นั่นก็คือ ปริมาณนมไม่เหมาะสมกับวัยของทารกแต่ละช่วงเวลา หรือปริมาณนมที่ลูกน้อยดื่มมากเกินความต้องการ จนทำให้เกิดอาการหนึ่งที่เรียกกันว่า “Over-feeding”

คุณแม่ยุคใหม่ที่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจ้างพี่เลี้ยงอาจจะมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยของคุณจะเกิดอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะการร้องไห้งอแง ไม่ยอมนอน กินมาก ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด คุณแม่ต้องเอาใจใส่ลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ไม่ควรรีบกลับไปทำงาน คุณแม่ต้องให้เวลากันลูกอย่างเต็มที่ ถ้าจะให้ดีควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดทั้ง 3 เดือน ก่อนที่คุณแม่จะตัดสินใจกลับไปทำงาน การที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมตั้งแต่แรกคลอด อาจทำให้ลูกเกิดอาการหนึ่งที่เรียกกันว่า “Over-feeding” สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ไม่รู้ว่า อาการนี้คืออะไร ลองอ่านรายละเอียดด้านล่างนี้ดูค่ะ

อาการ Over-feeding เป็นอย่างไร

คำว่า “Over-feeding” หมายถึง การกินมากเกินไป ในทางการแพทย์ได้อธิบายอาการนี้ไว้ว่า เมื่อทารกทานนมเยอะเกินไป หรือ ทานจนล้นกระเพาะ จะทำให้เด็กทารกเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ที่ผิดปกติ คุณแม่อาจจะสังเกตได้จากการที่ลูกน้อยร้องไห้เป็นเสียง แอะ ๆ หรือเริ่มบิดตัวเยอะ มีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายกับมีเสมหะ แต่เป็นเสียงของนมที่ล้นขึ้นมาที่คอหอย จนลูกน้อยทนไม่ไหว เกิดการแหวะนม อาเจียนบ่อย นอกจากนี้คุณแม่อาจจะสังเกตได้อีกอย่างนั่นคือ พุงของลูกน้อยจะมีลักษณะกางเป็นทรงน้ำเต้าอยู่ตลอดเวลา

การที่ลูกน้อยทานนมมากเกินไปจะส่งผลต่อสุขภาพ เพราะปริมาณที่ได้รับต่อวันมากมีผลทำให้น้ำหนักตัวของลูกเพิ่มขึ้นมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของทารกมีดังนี้ค่ะ

  • ทารกอายุ 0 – 3 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 600 – 900 กรัมต่อเดือน
  • ทารกอายุ 4 – 6 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 450 – 600 กรัมต่อเดือน
  • ทารกอายุ 7 – 12 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 300 กรัมต่อเดือน

แต่หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่านี้ อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Over-feeding ได้ การที่คุณแม่ไม่รู้แล้วให้ลูกทานนมมากเกินกระเพาะ อาจจะทำให้ลูกมีอาการอาเจียน หรือแหวะนม ซึ่งทุกครั้งที่ลูกเริ่มอาเจียน จะมีกรดและน้ำย่อยออกมา ทำให้เกิดอาการแสบ เพราะน้ำย่อยไปทำลายเยื่อบุหลอดอาหาร ในคอ ในจมูกทำให้เป็นแผล (เยื่อบุไม่สามารถทนกรดในกระเพาะอาหารได้)

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Over-feeding ในเด็ก

เด็กทารกจะเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการกิน หากคุณแม่เห็นลูกน้อยร้องไห้ ก็ให้นมทันที โดยไม่สังเกตถึงความต้องการอื่น ๆ ทำให้ลูกน้อยติดนิสัย ไม่ว่าจะแสดงอาการอะไร ก็ต้องกินเท่านั้น ถึงจะช่วยได้ อย่างเช่น คุณแม่ที่ให้นมตัวเองแล้ว ลูกยังร้องไห้อีก จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ลูกยังหิวอยู่ จึงเสริมนมอื่นให้ลูก ทำให้ลูกทานนมมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย หรือทานจนล้นกระเพาะ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้ จะมีน้ำหนักมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

Over-feeding เป็นอันตรายกับทารกอย่างไร

เมื่อลูกทานนมแม่เพียงอย่างเดียว หากเกิดอาการ Over-feeding เราบอกเลยค่ะว่าไม่เป็นอันตราย แต่ลูกจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกอาเจียนบ่อย ๆ กรดจากกระเพาะอาหารจะย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้ แต่ถ้าลูกทานนมผสม นอกจากจะทำให้ลูกอึดอัด ไม่สบายตัว และอาเจียนบ่อยแล้ว ยังทำให้พฤติกรรมการกินจุก และนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนในอนาคตได้

Sponsored

วิธีการแก้ไขอย่างถูกต้อง

  1. คุณแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกน้อยทานนมเยอะเกินไป หากเห็นพุงของลูกใหญ่แล้ว ให้เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการอุ้มเดิน ดูดจุกหลอก แต่ต้องดูด้วยว่าลูกได้รับนมเพียงพอแล้วจริง ๆ โดยสังเกตจากการขับถ่าย ซึ่งควร อึ 2 ครั้ง หรือ ฉี่ 6 ครั้งต่อวัน
  2. ควรเลี้ยงดูทารกวัย 0 – 6 เดือนแรก ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะไม่เป็นอันตรายถึงจะให้ในปริมาณที่มาก และ ไม่ทำให้เป็นโรคอ้วน แต่อาจจะทำให้ลูกนอนไม่สบายตัวได้ หากเป็นนมผสม นั้นอันตรายมาก เพราะจะทำให้ลูกน้อยเกิดเป็นโรคอ้วนได้หากทานในปริมาณที่มาก

วิธีป้องกันการเกิด Over-feeding แบบง่าย ๆ

  1. หลังจากให้นมแม่ คือ 1 ออนซ์ ต่อชั่วโมง ถ้าให้ 4 ออนซ์แล้ว ลูกน้อยจะอิ่มท้องอยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมง
  2. ให้สังเกตว่า ลูกอึครบ 2 ครั้งต่อวันหรือไม่ โดยแต่ละครั้งจะต้องมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ นั่นคือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และจำนวนฉี่ครบ 6 ครั้งต่อวัน แสดงว่านมที่ทารกได้รับเพียงพอ
  3. เมื่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยไม่ยอมนอน หรือทำท่าขยับปากอยากดูดนมอยู่ตลอดเวลา นั่นไม่ได้แปลว่าลูกจะมีอาการหิวเสมอไปค่ะ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้นมลูกทุกครั้ง คุณแม่อาจจะเบี่ยงเบนความสนใจลูกไปที่อื่น คุณแม่อาจจะต้องเล่นกับลูก อุ้มพาเดินไปมา เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ป้องกันปริมาณนมที่มากเกินไปต่อวัน
  4. เมื่อลูกน้อยต้องการดูดเต้าให้ได้ แนะนำให้ปั๊มนมออกก่อน เพื่อจะไม่ได้รับนมมากเกินไป เพราะจริง ๆ แล้ว ลูกไม่ได้หิว เพียงแต่ต้องการดูดเพื่อความพึงพอใจเท่านั้น เพราะการดูดนมจากอกแม่ จะทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้การที่ลูกน้อยตื่นมาบ่อย ๆ เพื่อขอกินนมแม่นั้น ก็เป็นธรรมชาติในการกระตุ้นให้แม่สร้างนมมากขึ้น ดังนั้น คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีอาการเหนื่อยมากในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด แต่หลังจากนั้นจะสบายขึ้น เพราะลูกจะเริ่มสนใจสิ่งอื่นรอบ ๆ มากกว่า

อย่างไรก็ดี การให้เลี้ยงลูกด้วยนมผสม อาจจะทำให้ลูกนอนหลับดีในช่วง 3 เดือนแรก แต่ลูกจะมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ซึ่งส่งผลให้คุณแม่ต้องลำบากในภายหลังได้ ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับคุณแม่เอง และตัวของลูกน้อยด้วยค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.15 วิธีผ่อนคลาย ความเครียดในคนท้อง จะรับมืออย่างไร

2.7 อาหารแก้เครียด ที่แม่ท้องควรกิน เช็คสิมีอะไรบ้าง