รับมือเด็กเอาแต่ใจ เด็กเล็กส่วนมาก ย่อมต้องการความรัก ความสนใจจากคุณพ่อ คุณแม่นั้นเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทุกครอบครัว แต่ถ้าลูกเกิดความต้องการความสนใจมากเกินไป หรือเรียกว่า “เด็กเอาแต่ใจ” ลูกต้องการเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง คุณแม่มือใหม่อาจจะเกิดความกังวล และไม่รู้ว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไรใช่ไหมค่ะ ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีการรับมือกับเด็กเอาแต่ใจให้อยู่หมัดได้ง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ เทคนิคของเราจะเป็นอย่างไรนั้น มาดูกันเลย

8 กลเม็ด รับมือเด็กเอาแต่ใจ

ทำความเข้าใจกับลูก ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง

เมื่อลูกเริ่มอายุได้ 2 – 3 ขวบ เด็กอาจจะมีความเข้าใจว่า ตนเองเป็นศูนย์กลางที่คุณพ่อ คุณแม่ และคนในครอบครัวจะต้องให้ความสนใจ เมื่อพวกเขาเห็นว่าไม่เป็นไปอย่างที่คิด อาจจะทำให้เด็กเกิดความต้องการสร้างความสนใจ ให้ทุกคนหันมาสนใจ จนบางครั้งมากเกินไป จนเป็นความเอาแต่ใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับเด็กเอาแต่ใจได้ ด้วย 8 วิธีของเราดังนี้ค่ะ

วิธีการรับมือกับเด็กเอาแต่ใจให้อยู่หมัด

1.ค้นหาเหตุผลที่ลูกเอาแต่ใจ

คุณแม่จะต้องพยายามหาเหตุผลที่ทำไมลูกถึงเรียกร้องความสนใจจากคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องไม่เป็นเรื่อง ซึ่งอาจเป็นเพราะลูกน้อยรู้สึกสูญเสียคุณแม่ไปในวันที่แสนจะยุ่งวุ่นวายกับหน้าที่การงาน หรืออาจเป็นเพราะลูกรู้สึกอิจฉาน้องที่เล็กกว่า ในฐานะคนเป็นแม่ ไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ เพราะถ้าลูกเกิดความรู้สึกว่า พวกเขาได้รับความสนใจไม่มากพอ ก็จะทำให้ลูกทำทุกวิธีเพื่อให้ได้รับความสนใจจากคุณพ่อ คุณแม่มากขึ้นนั่นเอง และนี่คือ เหตุผลของเด็กเอาแต่ใจ เมื่อรู้สาเหตุของความเอาแต่ใจ คุณแม่ก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้ลูกเลิกเอาแต่ใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

2.มองหาตัวกระตุ้นพฤติกรรมเอาแต่ใจ

เมื่อคุณแม่รู้สาเหตุที่ลูกต้องการเรียกร้องความสนใจจากคุณแม่มากขึ้นแล้ว ต่อมาคุณแม่ลองดูว่าเมื่อไรที่ลูกจะแสดงอาการเอาแต่ใจ หรือมีอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ อาจเกิดขึ้นทุกครั้งที่คุณแม่เข้าครัวทำอาหาร หรือคุณแม่ให้ความสนใจกับเด็กอื่น และลูกไม่ได้รับของที่ต้องการ คุณลองสังเกตตัวกระตุ้นพฤติกรรม ถ้ารู้แล้ว ทีนี้ก็สามารถจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

3.อย่าลืมนึกถึงอายุของลูก

บางครั้งคุณแม่อาจจะปวดหัว จนทนไม่ได้เลยตำนิลูกไปโดยการพูดว่า “ทำไมหนูถึงทำแบบนี้” ซึ่งคุณแม่ต้องรู้อย่างหนึ่งนะคะว่า เด็กเล็กที่มีอายุ 2 – 3 ขวบ เป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะเอาแต่ใจ เนื่องจากเป็นช่วงวัยของเขาด้วย และความคิดของพวกเขายังไม่มากเท่ากับผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจ คุณแม่อาจจะเหนื่อยหน่อยในช่วงนี้ แต่เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้นนิสัยเหล่านี้ หรือพฤติกรรมไม่เหมาะสมก็จะหายไปเองค่ะ

4.พูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่ลูกทำ

คุณแม่ไม่ควรละเลยพฤติกรรมการเอาแต่ใจของลูก แต่คุณแม่ควรบอกลูกว่าพฤติกรรมแบบไหนเหมาะสม และพฤติกรรมแบบไหนไม่เหมาะสม ลูกจะเรียนรู้และปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติแต่คุณแม่ไม่ควรตำหนิลูกมากเกินไป ควรจะค่อย ๆ บอก ค่อย ๆ สอนกันไป เพราะถ้าคุณแม่พูดว่าพวกเขาไม่ดี ทำอย่างนี้แล้วแม่ไม่รัก ลูกอาจจะต่อต้านและไม่ปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านั้น จนเมื่อโตขึ้นอาจทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่แย่ลงจนคุณแม่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย ดังนั้น พูดคุยกับลูกด้วยความรักและความเข้าใจซึ่งกันและกันดีที่สุดค่ะ

5.อย่าทำเรื่องเลวร้ายลงด้วยพฤติกรรมด้านลบ

คุณแม่จงนึกไว้เสมอว่าสำหรับเด็กแล้ว การเรียกร้องความสนใจ ก็คือการเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม ซึ่งมันง่ายมากที่คุณแม่จะติดกับดักนี้ ด้วยการทำเรื่องเลวร้ายลงโดยการทะเลาะกับลูก หรือการโต้ตอบด้วยพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น ถ้าสิ่งที่ลูกทำนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสร้างความเดือนร้อนให้ตัวเองหรือผู้อื่น คุณแม่ควรพยายามทำเป็นเฉย ๆ ทำเป็นไม่สนใจ ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องทำอะไรสักอย่างกับพฤติกรรมนี้ ให้คุณแม่พูดกระชับ สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพยายามใจเย็น เดินหนีออกมา

Sponsored

6.อย่ามัวโทษตัวเอง

คนเป็นแม่ ย่อมมีความรู้สึกผิดต่อลูก บางครั้งคุณแม่จะมีความรู้สึกผิดต่อลูกแทบทุกเรื่อง เมื่อเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้น รวมถึงการไม่มีเวลาให้ลูกเพียงพอที่จะเลี้ยงดูให้เขาเป็นเด็กที่ว่าง่ายไม่เอาแต่ใจ ซึ่งโชคไม่ดีที่เด็ก ๆ มักจะจับความรู้สึกนี้ของคุณแม่ได้ ดังนั้น คุณแม่จงอย่าแสดงออกว่าตัวเองรู้สึกผิดต่อลูกขนาดไหน หรือมัวแต่รู้สึกว่ายังเลี้ยงดูลูกไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป คุณจะไม่สามารถรับมือกับลูกที่เอาแต่ใจได้อีกเลย เพราะจะทำอะไรก็คิดว่าเป็นความผิดของคุณเอง ไม่ได้มาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จนบ้างครั้งอาจทำให้ลูกมีนิสัยแย่ลงได้ในอนาคต

7.ลองให้ความสนใจกับลูกมากขึ้นในด้านบวก

คุณแม่ลองแสดงความสนใจต่อลูกในแง่บวกให้มากขึ้น เช่น การซื้อของที่ลูกอยากได้ พาลูกไปเดินเล่น พูดชมเชยลูก ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยลดพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจจากลูกลงได้ การตามใจลูกในเรื่องด้านบวกเมื่อลูกร้องขอก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าพวกเขาได้รับเมื่อไม่ได้ร้องขอ เด็กก็จะรับรู้ได้ว่า พ่อแม่ให้ความสนใจพวกเขาอยู่เป็นปกติ โดยไม่ต้องแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยการเอาแต่ใจตัวเองเช่นนี้

8.จำกัดขอบเขตพฤติกรรม

พฤติกรรมเอาแต่ใจบางอย่างถือเป็นพฤติกรรมที่น่ารำคาญ แต่บางอย่างก็ไม่ใช่ถึงขั้นที่คุณแม่จะรับไม่ได้นะคะ ถ้าลูกเป็นคนชอบเอาแต่ใจ ต้องการความสนใจจากคุณแม่มากเป็นพิเศษ คุณแม่ก็ควรจำจัดขอบเขตที่ชัดเจน ด้วยการใช้สัญญาณทางการ เช่น สายตา มือ สำหรับเด็กโตก็อาจจะต้องใช้การตั้งกฎเกณฑ์ หากผิดกฎก็จะต้องมีมาตราการลงโทษ การจำกัดขอบเขตเช่นนี้จะทำให้ลูกอยู่ในระเบียบ และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับกลยุทธ์การรับมือกับเด็กเอาแต่ใจที่คุณแม่สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายและส่งผลดีทั้งคุณแม่ และลูกน้อยอีกด้วย ลองทำตามกันดูนะคะ รับรองเห็นผลค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ปอดอักเสบ เกิดจากอะไร? แม่ท้องเป็นโรคนี้จะส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม

2.อาการท้องแรก และ 7 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้