ปริมาณน้ำนม มีคุณแม่หลายคนสงสัยและสอบถามเข้ามาจำนวนมากว่า ทารกควรได้รับปริมาณน้ำนมต่อวันเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดอาการ over feeding รวมถึงอยากทราบเกี่ยวกับอาการ over feeding และการป้องกันอาการ over feeding ทีมคนท้องเรามีคำตอบสำหรับเรื่องค่ะ

ทารกควรได้รับปริมาณน้ำนมต่อวันเท่าไหร่

อย่างที่เราทราบกันดีนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งทารกควรได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดในห้องคลอด ขณะที่แม่หลังคลอดบางคนอาจจะน้ำนมมาน้อย การให้ทารกดูดนมแม่ทั้งสองเต้าทุก 1-3 ชั่วโมงจนหมดเต้า จะเป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมแม่มากขึ้น

นมแม่สำคัญที่สุดสำหรับทารก และความต้องการนมของทารกแต่ละคนก็จะมีไม่เท่ากัน และมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัว การเคลื่อนไหว พฤติกรรม การเผาผลาญ และการดูดซึมของร่างกายของทารกคนนั้นๆ ด้วย โดยความสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรทราบนั่นคือ ในช่วง 6 เดือนแรก ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียว

สูตรการคำนวณสำหรับการกินนมของทารก

การกินนมของทารกควรมีความเหมาะสมและพอดีในแต่ละวัน จะให้กินนมมากเกินไปก็ไม่ดี จะให้กินนมน้อยไปก็ไม่ดี ดังนั้นมาดูสูตรคำนวณนมสำหรับทารกกันค่ะ

1.ทารก 0-1 เดือน ในปริมาณนม 1 วัน แบ่งเป็น 6-8 มื้อ สูตรการคำนวณนม คือ น้ำหนักทารก (กก.) ×  150 ซีซี ÷ 30 ก็จะปริมาณนมกี่ออนซ์ที่ทารกควรได้รับวัน

2.เด็กอายุ 1-6 เดือน ในปริมาณนม 1 วัน แบ่งเป็น 6-8 มื้อ สูตรการคำนวณนม คือ น้ำหนักทารก (กก.) ×  120 ซีซี ÷ 30 ก็จะปริมาณนมกี่ออนซ์ที่ทารกควรได้รับวัน

3.เด็กอายุ 6-12 เดือน ในปริมาณนม 1 วัน แบ่งเป็น 4-6 มื้อ และบวกกับอาหารเสริมหรือข้าว 1-3 มื้อ (ตามอายุเดือนของทารก) สูตรการคำนวณนม คือ น้ำหนักทารก (กก.) ×  110 ซีซี ÷ 30 ก็จะปริมาณนมกี่ออนซ์ที่ทารกควรได้รับวัน

4.เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป สามารถให้นมแม่ได้ต่อไปตามปกติ เน้นอาหารที่มีประโยชน์ครบ 3 มื้อ หรือหากเป็นนมกล่อง ควรเป็นนมรสจืดประมาณ 2 กล่อง (500 ซีซี) ต่อวัน

over feeding คืออะไร

อาการ over feeding เรื่องที่คุณแม่หลายคนสงสัย คืออาการที่ให้ลูกกินนมมากจนเกินไป หรือปริมาณนมที่ทารกได้รับล้นกระเพาะ จนมีอาการบิดตัว ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด มีเสียงครืดคราดในคอคล้ายมีเสมหะในลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายจะอาเจียน มีอาการไม่สบายตัว ท้องโป่งตึงตลอดเวลา ร้องไห้บ่อย งอแง  มีอาการแหวะหรืออาเจียนทั้งทางปากกับจมูก

ป้องกันอาการ over feeding

อาการ over feeding เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากความรักของคุณแม่ เพราะเข้าใจว่าการที่ทารกร้องไห้งอแงตลอดเวลา นั่นคือ หิวนม ดังนั้นเมื่อเห็นทารกมีอาการร้องไห้งอแงเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ด้วยความรักและเข้าใจว่าลูกหิว คุณแม่จึงพร้อมที่จะป้อนนมทารกเมื่อนั้น จนกลายเป็นว่าทารกได้รับปริมาณน้ำนมมากกว่าปกติ และนำมาซึ่งปัญหาที่เราอาจจะไม่ทันคาดคิด ทีมคนท้องก็เลยหาเคล็ดลับดีๆ สำหรับป้องกันอาการ over feeding มาฝากค่ะ

Sponsored

1.ให้ทารกกินนมในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว

2.หากทารกร้องไห้กินนมตลอดเวลา อย่าใจอ่อนเป็นเด็ดขาด แม่ควรมีการเบี่ยงเบนความสนใจทารก ด้วยการอุ้มเขาไปเดินเล่น หรือให้ดูดจุกนมหลอก เป็นต้น หรือหากทารกร้องงอไม่หยุด ให้คุณแม่รีบปลอบเขาให้หายร้องงอแงโดยเร็ว เพราะหากทารกร้องไม่หยุด ร้องหนักขึ้น ผลที่ตามมาคือ อากาศจะเข้าไปในกระเพาะอาหาร จนนำมาซึ่งอาการท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง ตามมานั่นเอง

3.หากทารกมีอาการอาเจียนหรือแหวะนม ให้คุณแม่อุ้มทารกเดินเล่นประมาณ 30 นาที จะช่วยให้อาการดีขึ้น

4.over feeding เป็นเรื่องที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการนี้นำมาซึ่งปัญหาด้านสุขภาพถึง 3  โรคด้วยกัน คือ โรคอ้วน จากการที่กินนมมากจนเกินไป โรคหลอดอาหารเป็นแผล จากกรดในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลมาจากการแหวะนมบ่อย และโรคปอดอักเสบ ซึ่งเป็นผลมาจากการอาเจียน

ข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้ รู้แล้วแชร์ไปๆ นะคะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์