หลังจากที่ลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตดูว่าลูกน้อยมีอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทัน ก่อนที่จะรุนแรงมากไปกว่านี้นั่นเอง โดยมีอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตมากเป็นพิเศษ ก็ต้องไปดูกันเลย

8 สิ่งที่ต้องสังเกต ในทารกแรกเกิด

สำหรับสิ่งที่จะต้องสังเกตในทารกแรกเกิดว่าผิดปกติหรือไม่ ก็มีดังต่อไปนี้

1. น้ำหนักตัว

โดยปกติทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5-4กิโลกรัม ซึ่งถ้าน้ำหนักตัวมากเกินกว่านี้ ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดได้จากแม่มีน้ำหนักตัวมาก แม่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้ลูกตัวโตและคลอดยาก และหลังคลอดอาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลต่ำ รวมทั้งเมื่อทารกโตขึ้นอาจเป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวานได้ สำหรับทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2.5 อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทุพโภชนาการ หรือเป็นโรคต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการที่อาจล่าช้ากว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวตามปกติได้

2. ศีรษะ

ขนาดของทารกแรกเกิดนั้น มักดูใหญ่ บางคนอาจมองแล้วบวมไปทางซ้ายที หรือทางขวาทีก็เนื่องจากศีรษะของทารกยังบอบบาง ซึ่งทารกที่แม่คลอดเองตามธรรมชาติ จะมีศีรษะที่ดูยาวในวันแรกๆ เนื่องจากถูกบีบจากช่องคลอด ส่วนทารกที่คลอดด้วยวิธีการผ่าตัด ศีรษะจะดูกลมกว่า โดยในช่วงที่กระหม่อมลูกยังไม่ปิดนี้ คุณแม่ต้องคอยระวังการกระทบกระเทือนเป็นพิเศษ และคอยสังเกตความผิดปกติเช่น กระหม่อมยุบลง หรือนูนขึ้นหรือเปล่า ศีรษะเล็กหรือโตกว่าปกติไหม ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่นซึม อาเจียน ที่อาจแสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับสมอง ดังนั้นต้องรีบพาไปพบแพทย์ในทันที

3. ผิวหนัง

ทารกแรกเกิดบางคนเกิดมา อาจมีไขตามตัว ซึ่งมีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกัน และบางคนก็จะมีผิวที่ใสจนมองเห็นเส้นเลือดฝอย รวมทั้งมีผิวสีแดงและสีชมพูเข้ม นอกจากนี้ในช่วงหลังคลอด 2-4วัน ทารกบางคนอาจมีภาวะตัวเหลืองได้ แต่อาการก็จะหายได้เอง หากทารกได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ ซึ่งอาการตัวเหลืองนี้ก็เกิดขึ้น เนื่องจากตับของทารกนั้นทำงานยังไม่สมบูรณ์จึงไม่สามรถขับสารเหลืองได้ โดยถ้าคุณแม่สังเกตว่าลูกยังมีอาการตัวเหลืองนานเกิน 14 วันควรพาไปพบแพย์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้ลูกอาจชักเกร็ง จนส่งผลต่อพัฒนาการต่างๆ

4. การหายใจ

การหายใจของทารกแรกเกิดนั้น จะหายใจนาทีละ 30-40ครั้ง โดยจะมีการหายใจเป็นจังหวะเร็วและลึก ซึ่งบางครั้งอาจดูหายใจแรง สาเหตุมาจากทารกมีช่องลมขนาดเล็ก และดูเหมือนหลอดลมจะมาขวางอากาศหายใจ ทำให้ต้องหายใจแรง ซึ่งถ้าลูกยังนอนหลับได้สนิทก็ยังถือว่าปกติ โดยลูกจะหายใจดีขึ้น เมื่อเขาเจริญเติบโต ส่วนอาการหายใจที่ผิดปกติที่ สังเกตได้เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจเหมือนนกหวีด เหล่านี้ ควรพาทารกไปปรึกษาแพทย์

5. สะดือ

สายสะดือนั้นจะถูกแพทย์ตัดให้เหลือเพียงขั้วสั้นๆ ซึ่งจะแห้งและหลุดไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยช่วงก่อนหลุดนี้คุณแม่ต้องดูแลความสะอาดตามที่คุณพยาบาลแนะนำ เช่นไม่โรยแป้งหรือยาลงไปในสะดือ และควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำ ส่วนอาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นนั้น เช่นสะดือมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากเป็นหนอง มีเลือดออก รอบสะดือบวมแดงจากการอักเสบ อาการเหล่านี้ไม่ควรรีรอ จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

6. อุจจาระ

Sponsored

ทารกจะอุจจาระออกมามีสีเทาปนดำ เรียกว่าขี้เถา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของทารกแรกเกิด แต่หลังจากนั้นอุจจาระของทารกก็จะค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อได้รับน้ำนมจากแม่  นอกจากนี้เด็กก็จะอุจจาระทุกครั้งหลังมื้อนม หรือถ่ายอุจจาระวันละ 3-6 ครั้ง ส่วนความผิดปกติสามารถสังเกตได้จากสีของอุจจาระ เช่น อุจจาระมีสีขาวซีด ซึ่งแสดงว่าตับหรือถุงน้ำดีทำงานมีปัญหา หรืออุจจาระมีสีแดงคล้ายมีเลือดปน หมายถึงมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งอาการท้องเสียที่ทำให้ถ่ายบ่อย หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ ซึ่งอาจทำให้เด็กช็อกจากการขาดน้ำและเกลือแร่ได้

7. เต้านม

ในช่วง2-3วันแรกหลังทารกคลอด คุณแม่อาจพบว่าเต้านมลูกขยายและมีน้ำนมไหล โดยสาเหตุนั้นเกิดขึ้นจากการได้รับฮอร์โมนเพศจากแม่ ซึ่งไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมทำงาน  จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิด และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยอาการจะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องไปบีบเล่น หรือเค้นให้น้ำนมไหลออกให้หมด เพราะจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเต้านม จนกลายเป็นฝีได้

8. อวัยวะเพศ

เมื่อสังเกตดูอวัยวะเพศของลูกแล้ว ควรดูเป็นปกติ ซึ่งถ้าคุณแม่พบว่าอวัยวะเพศของลูกชายมีความผิดปกติ เช่น ถุงอัณฑะบวม รูเปิดของท่อปัสสาวะอยู่ผิดที่ ควรพาลูกไปพบแพทย์ นอกจากนี้ การสังเกตถึงความผิดปกติของอวัยวะเพศของลูกสาวเช่น ช่องคลอดไม่เปิด เนื่องจากมีเยื่อพังผืดยึดติดแคมนอกทั้งสองด้าน รวมทั้งความผิดปกติของเยื่อพรหมจารียื่นออกมานอกช่องคลอด อวัยวะเพศบวมจนทำให้มีตกขาวหรือเลือดออก และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาการผิดปกติเหล่านี้บางอาการอาจทำให้ทารกร้องกวน จึงต้องปรึกษาแพทย์ในทันที

อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดของพ่อแม่ จึงจะทำให้รู้ว่าเป็นความผิดปกติหรือไม่ และเมื่อพบว่าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นแล้วก็ต้องไม่นิ่งนอนใจ เพราะการได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีช่วงให้ทารกมีอัตราชีวิตยืนยาวได้

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.เปลี่ยนเวลากินยาคุมได้ไหม ต้องเปลี่ยนอย่างไร ไม่เสี่ยงท้อง

2.ลืมกินยาคุม ทำอย่างไรดี กินต่อเลยได้หรือไม่