เด็กตัวเหลือง สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกหลังคลอดทุกคน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือคุณแม่มีโรคประจำตัวในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อย่างเช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นต้น ภาวะเด็กตัวเหลืองไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดใช้เวลาอบไม่กี่วันก็จะหาย ซึ่งหากคุณแม่อยากรู้ว่า ลูกตัวเหลือง อบกี่วัน และควรดูแลลูกน้อยอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลดีๆ มาไว้ให้คุณแม่ได้ศึกษากันแล้ว

ลูกตัวเหลือง อบกี่วัน

โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่เด็กคลอดออกมาภายในเวลา 72 ชั่วโมง แพทย์จะทำการตรวจดูภาวะตัวเหลืองในเด็ก สำหรับเด็กที่มีภาวะตัวเหลืองค่อนข้างมาก แพทย์จะนำทารกเข้าสู่ตู้อบ  โดยลูกตัวเหลือง อบกี่วัน จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หลังจากนั้นก็สามารถออกมาอยู่ข้างนอกและให้อยู่ในความดูแลของคุณแม่ได้ตามปกติ

ลูกตัวเหลืองเกิดจากอะไร

ภาวะตัวเหลืองในเด็มีสาเหตุมาจากระดับสารบิลิรูบิน หรือสารสีเหลืองในเลือดของเด็กที่มีสูงมากจนเกินไปส่งผลทำให้เด็กดูมีสีผิวที่เหลืองมากกว่าปกติ โดยสารนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเกิดการแตกตัว ซึ่งโดยปกติแล้วสารบิลิรูบินในกระแสเลือกจะถูกนำส่งไปยังตับและถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ในเด็กแรกเกิด การทำงานของตับยังไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้ไม่สามารถที่จะกำจัดสารนี้ไปได้อย่างเร็วพอ จึงทำให้เด็กตัวเหลือง นอกจากนี้ก็มีปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกันอย่างเช่น

  • เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์จะเสี่ยงที่จะมีภาวะตัวเหลือง
  • ตับทำงานบกพร่องไม่สามารถที่จะขับสาร บิลิรูบิน ออกจากร่างกายได้
  • ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงแตกส่งผลทำบิลิรูบิน ในเลือดสูงขึ้น
  • ภาวะมีเลือดออกในร่างกายอย่างเช่น ภาวะเลือดออกใต้กะโหลกศีรษะ เด็กจะมีอาการเจ็บปวดและทำให้เด็กงอแง ตัวเหลือง และอาจทำให้เกิดภาวะช็อคได้หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก

โดยการที่ ลูกตัวเหลือง อบกี่วัน อาจต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วย ถ้ามีสาเหตุมาจากภาวะความผิดปกติที่รุนแรง ก็อาจจะต้องอบหลายวันเหมือนกัน

ควรดูแลอย่างไรเมื่อลูกมีอาการตัวเหลือง

ถึงแม้ว่าภาวะตัวเหลืองในเด็กจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่ก็สามารถดูแลรักษาอาการ ทารกตัวเหลือง ได้ โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แนวทางดังต่อไปนี้จะช่วยให้เด็กหายจากภาวะตัวเหลืองได้เร็วขึ้น

1.ให้ดื่มนมแม่หลังคลอด

ลูกตัวเหลือง อบกี่วัน เด็กที่มีภาวะตัวเหลืองหลังคลอด แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดื่มนมแม่ 8 – 12 ครั้งต่อวันในช่วงแรกคลอด เพื่อที่เด็กจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และยังช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็กด้วย นอกจากนี้การดื่มนมแม่หลังคลอดจะช่วยขับสารบิรูบินออกจากร่างกายเด็กได้อย่างรวดเร็วผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะเด็กนั่นเอง

2.กรณีเด็กดื่มนมผง

ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้หรือว่ามีนมให้ดื่มไม่เพียงพอ แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ป้อนนมชงให้กับลูกในปริมาณ 1 – 2 ออนซ์ทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ทั้งนี้กรณีเด็กทารกแรกเกิดที่มีขนาดตัวที่เล็กแพทย์อาจจะแนะนำให้ดื่มในปริมาณที่น้อยกว่านี้ และหากเด็กตื่นมาดื่มนมน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวันคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์

Sponsored

วิธีการรักษาเด็กตัวเหลือง

ทารกที่มีอาการตัวเหลืองทุกราย จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โดยแพทย์จะทำการรักษา ทารกตัวเหลือง โดยการวัดระดับของสีเหลืองเป็นระยะๆ และแยกการรักษาออกเป็นกรณีไป โดยจะมีขั้นตอนในการรักษาดังต่อไปนี้

  1. ในกรณีที่ทารกมีสารสีเหลืองไม่สูงมาก และทารกสามารถขับสีเหลืองออกมาตามธรรมชาติเองได้ ก็ไม่ต้องรักษา
  2. ในกรณีตรวจดูและพบว่า เด็กมีสารสีเหลืองสูงมากและร่างกายไม่สามารถขับสารดังกล่าวออกจากร่างกายโดยธรรมชาติ ลูกตัวเหลือง อบกี่วัน แพทย์จะทำการรักษาโดยการส่องไฟ โดยการใช้แสงจากหลอดไฟ ฟลูออเสเซนต์ หรือ แสงนิออน ที่มีความเข้มข้นสูงรักษา แสงไฟจะช่วยเปลี่ยนสภาพของสารสีเหลืองให้ขับออกทางอุจจาระ หรือปัสสาวะของเด็กได้ง่ายขึ้น
  3. หากรักษาโดยการส่องไฟแล้วสารสีเหลืองยังไม่ลดลง แพทย์จะเปลี่ยนการรักษาจากการส่องไฟเป็นการถ่ายเลือดแทน โดยเป็นการนำเลือดที่มีสารสีเหลืองออกจากตัวทารก แล้วให้เลือดใหม่แทน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อสารสีเหลืองในตัวเด็กทารกมีปริมาณที่สูงมากสูงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อเด็กทารก
  4. การฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าในเส้นเลือด ในกรณีที่ ทารกตัวเหลือง เกิดจากเลือดของแม่และเด็กไม่เข้ากัน สารก่อภูมิคุ้มกันจากร่างกายของแม่จะจับกับเม็ดเลือดแดงของลูก จนทำให้เม็ดเลือดแดงแตก การรักษาโดยการฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าในเส้นเลือดจะช่วยลดระดับสารก่อภูมิคุ้มกันและช่วยลดภาวะตัวเหลืองได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องทำการถ่ายเลือดให้เด็ก

ลูกตัวเหลือก อบกี่วัน คุณแม่ก็คงจะได้ทราบกันแล้ว ภาวะเด็กตัวเหลืองถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายและสามารถหายเองได้หากมีปริมาณสารบิลิรูบินในร่างกายไม่มาก แต่หากพบว่ามีจำนวนสารบิลิรูบินมากจนเกิดอันตรายต่อร่างกายเด็ก แพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยรักษาตามความรุนแรงของอาการดังในบทความข้างต้นทีเราได้นำมาฝากในวันนี้

= = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่www.konthong.com
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

1.12 วิธีฝึกให้ลูกพูด แบบง่าย ๆ เพื่อพัฒนาการที่สมวัย

2.ลูกพูดช้า แบบนี้ผิดปกติไหม ทำไงดี?