คุณแม่มือใหม่ต้องใส่ใจเรื่องวัคซีนของลูกน้อยแรกเกิดในช่วงขวบปีแรก เพราะวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีช่วยปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ โดย‘วัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิด’ ที่เจ้าตัวน้อยทุกคนต้องฉีด ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ วัคซีนวัณโรค วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนโปลิโอ วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
วัคซีนจำเป็นสำหรับลูกน้อย เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ
โดยยึดตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2559 ลูกน้อยจะได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดจนถึง12 ปี ซึ่งการรับวัคซีนแต่ละชนิดจะแบ่งไปตามช่วงอายุ คุณแม่จะได้รับสมุดบันทึกสุขภาพของลูกน้อยจากโรงพยาบาลที่คลอดบุตร พร้อมบันทึกการรับวัคซีนป้องกันโรคภายในเล่ม เพื่อให้คุณแม่ได้พาลูกน้อยไปรับวัคซีนแต่ละชนิดตามแต่ละช่วงวัย ก่อนไปรับวัคซีนทุกครั้งอย่าลืมนำสมุดบันทึกการรับวัคซีนไปด้วยนะคะ เพื่อแพทย์จะได้ดูว่าฉีดวัคซีนตัวใดไปแล้วบ้าง
วัคซีนพื้นฐาน สามารถป้องกันลูกจากโรคต่างๆ ต่อไปนี้
- โรคคอตีบ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิต ติดต่อทางน้ำลายจากการไอ จาม หรือน้ำมูกของผู้ป่วย หากเด็กได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีเยื้อสีขาวปนเทาอุดหลอดลมทำให้เกิดการอักเสบในลำคออย่างรุนแรงจนอาจเสียชีวิตจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน และหากพิษเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นอันตรายถึงชีวิต
- โรคไอกรน เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อแบคทีเรียที่มากับละอองอากาศเล็ก ๆ จากการไอจาม หรือปนมากับเสมะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ทำให้มีอาการไออย่างรุนแรง หรือไอเป็นชุดติดๆ กัน จนทำให้หายใจไม่ทัน บางครั้งอาจไอเรื้อรังนานถึง 3 เดือน ถ้าเป็นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนอาการมักรุนแรง อาจไอจนหยุดหายใจหรือชักได้
- โรคบาดทะยัก เด็กเล็กอยู่ในวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งรอบตัวมากจึงชอบเล่นซุกซนตามที่ต่างๆ จนบางครั้งเกิดบาดแผลโดยไม่รู้ตัว หากลูกน้อยรับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล เชื้อจะปล่อยสารพิษออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้มีอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อขากรรไกร กินอาหารลำบาก หายใจลำบาก จนถึงขั้นร้ายแรงสุดคือเสียชีวิตได้
- โรคโปลิโอ เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ เด็กต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
- โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อจากคุณแม่สู่ลูกน้อยได้ หากลูกน้อยติดเชื้อจะทำให้มีตัวเหลือง อ่อนเพลีย และถ้าร่างกายไม่อาจกำจัดเชื้อได้ ลูกก็จะกลายเป็นพาหะของโรค ทำให้เกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับในอนาคตได้
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ เชื้อฮิบเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคสําคัญหลายอย่าง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอักเสบ ข้ออักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ มักก่อโรคในเด็กเล็กโดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เชื้อฮิบจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจของคนเรา และแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางละอองในอากาศและการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ
นอกจากวัคซีนรวม 6 โรคดังกล่าวแล้ว ยังมี ‘วัคซีนเสริม’ หรือวัคซีนรวมที่อยู่นอกเหนือแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นอยู่กับพ่อแม่จะเลือกให้ลูก ได้แก่ วัคซีนฮิบ วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนสุกใส และวัคซีนมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
หลังการฉีดวัคซีนนั้นเจ้าหนูบางคนอาจมีไข้ มีผื่น หรืออาการบวมแดงซึ่งเป็นผลข้างเคียงของวัคซีนบางตัวเท่านั้น ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง มักเป็น 2-3 วันแล้วก็หาย อย่างไรก็ตามอาการแพ้วัคซีนขั้นรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อนหลังรับวัคซีนอาจเกิดขึ้นได้ คุณแม่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง และควรเก็บสมุดเอาไว้จนลูกโต อย่างน้อย 15 ปี เพื่อที่จะได้ตรวจสอบได้ว่า ลูกเราได้รับวัคซีนตัวใดไปแล้วบ้าง หรือต้องฉีดวัคซีนตัวใดเพื่อกระตุ้นเป็นระยะนะคะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.โครงการ Falcon Sharing Café มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย