การดูแลสะดือทารก อะไรบ้างที่ไม่ควรทำ? ในขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา สะดือจะคอยเป็นสายใยเชื่อมระหว่างแม่กับลูกไว้ โดยทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนจากแม่มาสู่ทารก แต่เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว คุณหมอจะตัดสายสะดือออกและแนะนำให้คุณแม่ต้องดูแลสะดือเป็นพิเศษในช่วง 7-14 วันก่อนที่สะดือจะหลุด มิเช่นนั้นอาจทำให้สะดือติดเชื้อ จนเกิดการอักเสบขึ้นได้ นอกจากความสะอาดที่คุณแม่ต้องดูแลแล้ว ยังมีข้อห้ามเกี่ยวกับสะดือของทารกแรกเกิดที่คุณแม่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาดด้วย

การดูแลสะดือทารก กับข้อห้ามที่ไม่ควรทำเด็ดขาด

โดยทั่วไป ก่อนออกจากรพ. นางพยาบาลจะสอนวิธีการดูแลสะดือให้ก่อน พร้อมให้ยาฆ่าเชื้อมาด้วย พอคุณแม่กลับมาบ้านก็แค่ทำตามขั้นตอนนั้นๆ ซึ่งควรเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังจากอาบน้ำให้ทารกเสร็จ และเช็ดจนกว่าสะดือจะแห้งและสายสะดือหลุดไปเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะเจ็บ เพราะบริเวณสะดือไม่มีประสาทรับความรู้สึกใดๆ เพียงแต่ให้หลีกเลี่ยงการกระทำ 5 ข้อดังต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นอันตรายได้

1.ห้ามทามหาหิงค์

มหาหิงค์มีสรรพคุณช่วยขับลมในท้อง ช่วยให้อาการท้องอืดท้องเฟ้อของทารกดีขึ้น ซึ่งคุณแม่มักนำมาทาให้ลูกอยู่บ่อยๆ แต่มหาหิงค์ ไม่ใช่ยาที่จะทำให้สะดือแห้งจนหลุดออกมาได้ ดังนั้นเวลาทายามหาหิงค์ ควรระมัดระวังไม่ให้โดนสะดือ เพราะจะทำให้สะดือชื้นแฉะและเกิดการอักเสบตามมา

2.ห้ามทาแป้ง

สะดือของลูกอาจดูยังแฉะๆอยู่บ้าง ทำให้คุณแม่หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการใช้แป้งจะช่วยให้สะดือแห้งเร็วขึ้น แต่จริงๆแล้ว นอกจากสะดือจะไม่แห้งแล้วยังทำให้เกิดอาการอักเสบมากขึ้นด้วย จากแป้งที่ไปอุดตันภายในสะดือ ดังนั้นไม่ควรทาแป้งที่สะดือของลูกเป็นอันขาด

3.ห้ามใส่ผ้าอ้อมปิดทับสะดือ

การสวมใส่ผ้าอ้อม หรือกางเกงควรให้ขอบผ้าที่สวมใส่อยู่ใต้สะดือ ไม่ไปกดทับ เพราะถ้าปล่อยไว้นานๆเข้าจนอากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ จะทำให้เกิดการอับชื้น และมีกลิ่นเหม็น และอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้เหมือนกัน

Sponsored

4.ห้ามแคะสะดือ

ถ้าคุณแม่เช็ดทำความสะอาดสะดือทุกวัน ในไม่ช้าสะดือก็จะแห้งและหลุดได้เอง ดังนั้นในระหว่างที่สายสะดือยังไม่หลุด คุณแม่ไม่ควรใจร้อนแกะสะดือ หรือใช้คอตตอนบัดเขี่ยเพื่อให้มันหลุด เพราะอาจทำให้เลือดออก และเป็นแผลอักเสบได้ ซึ่งก็อันตรายมาก

5.ห้ามใช้ยาโรยสะดือทุกชนิด

ถ้ามีการโฆษณาชวนเชื่อใดๆเกี่ยวกับยาที่จะทำให้สะดือแห้งและหลุดเร็ว คุณแม่ไม่ควรลองซื้อมาใช้ เพราะอาจเป็นยาที่ทำอันตรายแก่สะดือทารกได้ และควรใช้ยาฆ่าเชื้อที่ทางโรงพยาบาลจ่ายให้ตั้งแต่ทารกคลอดเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยนั่นเอง

สะดือของทารกจะหลุดเร็วหรือช้าไม่พร้อมกันในแต่ละคน แต่ถ้าเกิดว่าผ่านมา 1 เดือนแล้วสายสะดือยังไม่หลุด ให้สันนิษฐานว่าน่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น จึงควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ นอกจากนี้ ถ้าสะดือส่งกลิ่นเหม็น มีลักษณะบวมแดงโดยรอบ และชื้นแฉะอยู่ตลอดเวลา ก็ควรหาแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อวินิจฉัยว่าเกิดการติดเชื้อหรือไม่

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม