“เด็กซน คือ เด็กฉลาด” หนึ่งในวลีที่คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นหนึ่งในกุศโลบายแต่โบราณให้คุณพ่อคุณแม่สามารถปล่อยวางกับพฤติกรรมเด็กดื้อหรือ เด็กซนของลูกน้อยของคุณเอง แต่หากลูกน้อยของคุณมีความซนเกินพิกัด ความดื้อเกินร้อย อาจนำมาซึ่งความกังวลใจแก่คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย ทั้งความกังวลในพฤติกรรมของลูกว่าจะเกิดการทำลายตนเองและทำลายข้าวของหรือไม่ รวมถึงกังวลว่าลูกจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้หรือไม่ บทความนี้จึงขอมาเป็นหนึ่งตัวช่วยคุณพ่อคุณแม่ในการรับมือกับความซนของลูกน้อย

เด็กซน เพราะอะไร คุณแม่ต้องเข้าใจพฤติกรรมลูก

ก่อนอื่นเราต้องขอพาคุณพ่อคุณแม่มาเข้าใจกับสาเหตุของเด็กซนที่เกิดขึ้นในลูกน้อยกันก่อนเลย ซึ่งก็มาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

ชีวเคมีภายในร่างกายของลูกน้อย

ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของชีวเคมีภายในร่างกาย ส่วนของเด็ก ๆ เองก็มีการเปลี่ยนแปลงของชีวเคมีภายในร่างกายเช่นเดียวกัน อย่างที่การแพทย์ในสมัยใหม่จะสอนให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจช่วงวัยทองในแต่ละช่วงอายุของลูกน้อย

พฤติกรรมเลียนแบบจากบุคคลรอบข้าง

และบุคคลที่ลูกน้อยก็อปปี้หรือเลียนแบบมากที่สุดก็คือคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และลอกเลียนแบบ การที่เด็กได้เห็นพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ ในบางครั้งก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือควรประพฤติหรือไม่ แต่เมื่อเห็นผู้ใหญ่ทำได้ เด็กก็ทำตาม แต่เมื่อพฤติกรรมเหล่านั้นที่ถ่ายทอดออกมาจากตัวเด็กก็กลายเป็นความซนของเด็กนั่นเอง

ไม่ควรแก้ปัญหาความซนของลูกด้วยความรุนแรง

อย่างที่เราเข้าใจกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วในทุกเรื่องว่าความรุนแรงเป็นวิธีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้อย่างถาวร ความรุนแรงเป็นเพียงการระงับหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เพียงชั่วคราว ของผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าหรือมากกว่า แล้วทำให้ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจต้องยอมสยบจากความกลัว แต่ก็พร้อมที่จะสู้หรือเอาคืน เพราะไม่เกิดการยอมจากความเข้าใจ ส่วนของเด็กซนเองก็เช่นกัน ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะไม่เพียงจะไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก

รับมือกับเด็กซนง่าย ๆ ด้วย 5 วิธีที่ได้ผลดี

เมื่อความรุนแรงไม่ใช่แนวทางในการแก้ปัญหาเด็กซน แล้ววิธีการใดบ้างที่สามารถช่วยรับมือความซนของลูกน้อยได้ ในส่วนนี้เราก็ได้รวบรวม 5 วิธีการรับมือเด็กซนแบบง่าย ๆ แต่ได้ผลมาฝากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งมีดังนี้

1.แบบอย่างนำไปสู่การเลียนแบบ

เราต้องยอมรับว่าพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่แสดงให้ลูกน้อยเห็นจะกลายเป็นสิ่งที่ลูกน้อยเรียนรู้และเลียนแบบ ดังนั้นการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่เหมาะสมก็จะเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลโดยไม่ใช้ความรุนแรงในการปราบเด็กดื้อได้

2.การสอนลูกน้อยด้วยเหตุและผล

การอธิบายด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้รับมือพฤติกรรมความซนของลูกน้อยได้ แต่วิธีการแสดงเหตุและผลนั้นต้องเลือกวิธีที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยด้วย อย่างลูกน้อยที่โตพอที่จะฟังเหตุผลเข้าใจคุณพ่อคุณแม่ก็เพียงอธิบายให้ลูกน้อยฟังเท่านั้น ส่วนลูกน้อยที่ยังเป็นเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้วิธีการเล่านิทานเพื่อสอดแทรกส่วนของเหตุและผลให้ลูกน้อยเข้าใจได้

3.การให้รางวัลเมื่อลูกน้อยเมื่อลูกน้อยมีพฤติกรรมที่น่ารัก

การได้รับรางวัลจากคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกน้อยมีพฤติกรรมที่น่ารักจะทำให้ลูกน้อยเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่ดี เมื่อทำแล้วจะได้รับการยอมรับจากคุณพ่อคุณแม่

Sponsored

4.การสอนให้ลูกน้อยต้องรับกับพฤติกรรมที่ตนได้ทำลงไป

เด็กซนบางคนเป็นการซนแบบทำลายหรือเขวี้ยงปาข้าวของ ซึ่งส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรรอให้ลูกน้อยสงบด้วยตัวเอง และเมื่อลูกน้อยสงบแล้วก็เข้าไปคุยให้เกิดความเข้าใจ สอนให้ลูกน้อยยอมรับผิด ขอโทษ และเก็บกวาดสิ่งที่ตนได้ทำลงไป

5.การเข้ากอดลูกน้อยเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าพฤติกรรมของลูกน้อยกำลังรุนแรงแบบทวีคูณ

อ้อมกอดแห่งความรักจากคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งที่ลูกน้อยสามารถสัมผัสได้ เมื่อเกิดพฤติกรรมเด็กซนที่ระรานผู้อื่น หรือ ทำลายข้าวของ คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปกอดลูกน้อย ตบหลังเบา ๆ พร้อมพูดว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าหนูกำลังไม่พอใจ กำลังไม่สบายใจ แต่หนูต้องใจเย็น ๆ แล้วเดี๋ยวเราค่อย ๆ มาคุยกันนะ

เด็กซนกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ในเด็กทุก ๆ คน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 3 – 10 ปี และยังมีช่วงวัยที่นับเป็นช่วงวัยทองของเด็ก ความซนก็ยิ่งทวีคุณขึ้นไปอีก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรเรียนรู้พฤติกรรมเด็กดื้อ หรือ เด็กซน เหล่านี้ของลูกน้อย พร้อมกับหาสาเหตุ และวิธีแก้ รวมถึงวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณเอง แต่หากคุณไม่สามารถหาวิธีแก้ไขหรือป้องกันด้วยตนเองได้ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็นับเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.คำแนะนำดีๆ ที่หมอสูติอยากบอกแม่ ท้องไตรมาส 2

2.คำแนะนำดีๆ ที่หมอสูติอยากบอกกับแม่ ท้องไตรมาสแรก