คุณค่าของนมแม่ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ถูกสร้างไว้สำหรับลูกน้อยอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกที่ว่านมแม่เป็นอาหารที่ทรงคุณค่าที่สุด สำหรับเด็กทารกแรกเกิด ที่จำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารสำคัญที่อยู่ในนมแม่นี้เป็นเวลานานถึง 6 เดือน สารอาหารสำคัญที่อยู่ในนมแม่ ตัวหนึ่งที่สำคัญนั่นคือ “นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide)” สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ไม่รู้ว่า นิวคลีโอไทด์ดีอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คืออะไร

นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ (Natural Nucleotide) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในนมแม่ นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) เป็นหน่วยย่อยของ DNA และ RNA นิวคลีโอไทด์นั้นประกอบไปด้วย ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) ซึ่งเป็นเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เบสเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของ DNA หรือ RNA ที่มีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ที่ความยาวคลื่น 260 – 280 นาโนเมตร (nm)

ในการรวมตัวของนิวคลีโอไซด์ (Nucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต ให้เป็นนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส (Pentose Sugar) และฟอสเฟตต่อกับคาร์บอนตัวที่ 5 ของน้ำตาลเพนโทส (Pentose Sugar) เมื่อนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) มาต่อรวมกันหลาย ๆ โมเลกุล จะถูกเรียกว่า “โพลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide)” นั่นเองค่ะ

นิวคลีโอไทด์สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก

นิวคลีโอไทด์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเซลต่าง ๆ ในร่างกายของเด็กเล็กมีหน้าที่ในกระบวนการเผาผลาญพลังงานระดับเซลล์ สลายอาหารเพื่อให้เกิดพลังงาน เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง DNA และ RNA ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายช่วยในการสังเคราะห์สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีขึ้นสมวัย

ความสำคัญของนิวคลีโอไทด์ในนมแม่

ในนมแม่มีนิวคลีโอไทด์ 13 ชนิดด้วยกันค่ะ แต่มีเพียง 5 ชนิดเท่านั้นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของเด็กเล็ก นั่นคือ Cytidine (CMP), Adenosine (AMP), Uridine (UMP), Guanosine (GMP) และ Inosine Monophosphate (IMP)

ซึ่ง IMP (Inosine Monophosphate) เป็นนิวคลีโอไทด์ที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยพัฒนาการด้านสมอง ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงเซลล์สมองด้วย มีผลต่อการทำงานของสมองในด้านความจำ และมีหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเจ้าตัวน้อยอีกด้วย

นอกจากนิวคลีโอไทด์จะเป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำนมแม่แล้ว นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติทั้ง 5 ชนิดนี้ยังพบในนมแพะอีกด้วยค่ะ สารอาหารเหล่านี้สามารถช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ และพัฒนาการด้านต่างๆ ให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นหากคุณแม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ลองให้ลูกดื่มนมแพะทุกวัน สุขภาพร่างกายของลูกจะแข็งแรง พร้อมกับพัฒนาการที่ดีสมวัย

Sponsored

ความพิเศษของ นิวคลีโอไทด์ในนมแพะ

  • นิวคลีโอไทด์ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงเป็นเหตุผลทำให้เด็กเล็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมที่มีส่วนผสมของ “นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ” สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

ความต้องการนิวคลีโอไทด์ในเด็กเล็ก

ร่างกายของเด็กเล็ก จำเป็นอย่างมากที่ต้องการนิวคลีโอไทด์นี้ไปเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ให้มีพัฒนาการรอบด้านอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น เด็กเล็กจึงจำเป็นต้องได้รับนิวคลีโอไทด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี เซลล์ใหม่หลายล้านเซลล์ที่ต้องถูกผลิตในทุกวันนั้น ต้องการใช้นิวคลีโอไทด์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์ใหม่ๆค่ะ เช่นนั้นเด็กเล็กจึงต้องได้รับนิวคลีโอไทด์เพิ่มขึ้น จากการให้ลูกดื่มนมแพะเป็นประจำทุกวัน

นมแพะ นอกจากจะมีนิวโอไทด์ตามธรรมชาติ 5 ชนิดแล้ว ยังมีโปรตีน CPP (Casein Phosphopeptides) โปรตีนนุ่ม ที่ย่อยและดูดซึมง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ในนมแพะยังมีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่ จึงช่วยลดปัญหาท้องผูก และช่วยป้องการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์