ปัญหาสายตาสั้นในเด็กมักจะเกิดขึ้นได้กับครอบครัวที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่มีสายตาสั้น หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยอาการที่ชวนให้น่าสงสัยว่าลูกจะมีโอกาสเป็นสายตาสั้นได้นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เรานำวิธีสังเกตอาการที่ลูกมีความเสี่ยงสายตาสั้นมาฝากกันค่ะ

อาการบ่งบอกว่าลูกอาจสายตาสั้น

ในเด็กที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการสายตาสั้น มักจะมีการแสดงออกทางกายได้หลายอย่างดังนี้

  1. ลูกมักจะขยี้ตาบ่อยๆ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหมั่นตรวจดูว่าในตาลูกมีเศษฝุ่นผงเข้าตาลูกหรือไม่ หากตรวจดูแล้วไม่มี ก็ให้สงสัยไว้เลยว่าลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการมองเห็น
  2. ลูกมีอาการชำเลืองมอง หรือหรี่ตาข้างหนึ่งเป็นประจำ เนื่องจากลูกมีอาการมองไม่ชัด จึงต้องชำเลืองมองเพื่อบังคับให้สายตาได้เพ่งมองเห็นสิ่งที่ต้องการมองชัดเจนขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาชอาจส่งผลเสียระยะยาวได้ และจะติดเป็นนิสัยการหรี่ตาไปจนโตจนทำให้เสียบุคลิกภาพในที่สุด
  3. ลูกชอบถือวัตถุสิ่งของเขาใกล้ชิดติดกับตา
  4. ลูกกระพริบตาถี่ๆ เมื่อทำงานใช้สายตา พร้อมทั้งบ่นว่าปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ
  5. ลูกบ่นว่าคันตาหรือแสบตา
  6. ลูกบ่นว่ามองเห็นภาพไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
  7. ก้มอ่านหนังสือจนหน้าชิดหนังสือ
  8. ไม่สามารถรับลูกบอลได้
  9. ไม่สามารถดูภาพยนตร์ 3 มิติได้

วิธีรับมือแก้ไข เมื่อลูกสายตาสั้น

เมื่อลูกมีปัญหาสายตาสั้นโดยเฉพาะในเด็กที่อยู่ช่วงวัยก่อน 6 ขวบสามารถป้องกันได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ

1.พาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ

การที่ลูกได้ไปตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์จะทำให้ได้ตรวจเช็คระบบประสาทตา และสายตาของลูกด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น สายตาเอียง หรือสายตาสั้นมากขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ ซึ่งเด็กที่ไปโรงเรียนแล้วก็อาจจะมีการตรวจประจำปีที่โรงเรียนที่มีการตรวจสุขภาพให้เด็กอยู่แล้ว แต่ทางที่ดีคุณแม่ควรหาเวลาพาลูกไปพบจักษุแพทย์ด้วยตัวเอง ก็จะทำให้มีโอกาสได้รู้ว่าลูกมีสายตาสั้นมากน้อยแค่ไหน สามารถพูดคุยปัญหากับคุณหมอโดยตรงย่อมดีกว่า

2.ดูแลสายตาด้วยวิธี 20 /20 /20

การดูจอคอมพิวเตอร์หรือดูโทรทัศน์ ควรให้ลูกละสายตาทุก 20 นาที ให้มองวัตถุที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หลังจากนั้นค่อยกลับมาดูจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ต่อได้

3.ตัดแว่นสายตาให้ลูกใส่

หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วว่าลูกเป็นสายตาสั้น ก็ควรจะไปตัดแว่นที่เหมาะสมกับขนาดระดับสายตาของลูกการใส่แว่นช่วงแรกๆ เด็กอาจจะไม่ค่อยถนัดแต่ต้องบอกรู้ว่ามันจะช่วยรักษาให้สายตาดีขึ้นควรจะใส่แว่น

อาการสายตาสั้นที่พบในเด็ก

ในเด็กไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองมีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติการณ์ของสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการศึกษาสาเหตุน่าจะมาจากการที่เด็กมีโอกาสใช้ชีวิตนอกห้องเรียน หรือวิ่งเล่นที่สนามน้อยกว่าเด็กที่อยู่ตามต่างจังหวัด ซึ่งการที่เด็กคร่ำเคร่งในการเพ่งอยู่กับหนังสือ หรือจอโทรศัพท์นานๆ เป็นการเพ่งมองในระยะใกล้ๆ นานๆ อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การเกิดสายตาสั้นขึ้นได้ง่าย อาการสายตาสั้นในเด็กที่พบได้มี 2 แบบที่ต้องระมัดระวัง

1.สายตาสั้นเทียม

อาการสายตาสั้นเทียม เกิดได้จากการที่เด็กเพ่งมองสิ่งนั้นนานๆ และเมื่อไปวัดสายตาก็จะทำให้พบว่าสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริงจึงเรียกว่าสายตาสั้นเทียม

Sponsored

2.อาการสายตาสั้น

ในเด็กมักเกิดจากความผิดปกติที่มองเห็นระยะไกลไม่ได้ จะต้องดูในระยะใกล้หรือต้องหยีตาดูเวลาที่จะจองวัตถุที่อยู่ไกล ซึ่งเป็นอาการสายตาสั้นที่เด็กก็มักจะเกิดขึ้นได้ อาการอีกประการหนึ่งที่ร่วมกับสายตาสั้นคือ สายตาเอียง ส่วนมากเกิดจากการโฟกัสในแต่ละแนวของกระจกตาดำไม่เท่ากัน เนื่องจากธรรมชาติได้สร้างกระจกตาดำของมนุษย์ให้มีลักษณะเหมือนกลมเหมือนลูกรักบี้ จึงทำให้ความโค้งแต่ละแนวจึงไม่เท่ากันเป็นเหตุให้ภาพไม่ได้ตกโฟกัสลงในจุดเดียวกัน จึงทำให้ภาพที่เห็นนั้นมัวทั้งระยะใกล้ และระยะไกล ในเด็กที่มีปัญหาสายตาเอียงมักจะเอียงหน้าหรือตะแคงหน้ามอง ซึ่งภาวะสายตาผิดปกติทั้ง 3 อย่างนี้ที่เกิดในเด็กเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคตาขี้เกียจ หรือหากสายตาข้างใดข้างหนึ่งแย่ไปอีกกว่าข้างจนทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

ดังนั้นคุณแม่ลองสังเกตดู ว่าลูกรักมีความผิดปกติทางสายตา ที่คาดว่าอาจจะสายตาสั้นหรือไม่ โดยรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างเร่งด่วนนั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ