เนื้องอกมดลูก หรือที่ทางการแพทย์ เรียกว่า Myoma Uteri, Uterine Leiomyoma หรือ Fibroid เป็นเนื้องอกของมดลูกที่พบได้บ่อยที่สุดในขณะตั้งครรภ์ บางงานวิจัยพบว่าเนื้องอกมดลูกเกี่ยวข้องกับภาวะ การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด การแตกของถุงน้ำก่อนครบกำหนดคลอด และภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งแน่นอนว่าแม่ท้องหลายคน ย่อมมีความกังวลเป็นอย่างมาก นั่นเพราะหากตรวจพบว่าตนเองเป็นเนื้องอกระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ใช่แค่เราที่ได้รับผลกระทบ แต่ลูกน้อยในครรภ์ของเราก็จะได้รับผลนั้นตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่เนื้องอกที่พบ จะแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ Subserous myoma เป็นชนิดที่ตัวก้อนยื่นออกมาในช่องท้อง Intramural myoma เป็นชนิดที่แทรกตัวอยู่ในผนังมดลูก Sub mucous myoma เป็นชนิดที่ตัวก้อนยื่นเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูก และ Pedunculated myoma เป็นชนิดที่มีก้านติดกับมดลูก ส่วนตัวก้อนเนื้องอกห้อยลงมาในช่องท้อง
เนื้องอกมีผลกับการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นกับขนาดของเนื้องอก ชนิดของเนื้องอก และตำแหน่งของเนื้องอก เช่น หากเนื้องอกในครรภ์มีขนาดใหญ่ หรือเบียดเข้าไปในโพรงมดลูก ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ หรือลูกน้อยในครรภ์ที่อยู่ในท่าที่ผิดปกติ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ขัดขวางการคลอด เป็นต้น ทั้งนี้ความสำคัญในเรื่องของเนื้องอกนั้น ไม่ใช่ว่าต้องระวังจำเพาะช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ผู้หญิงทุกคนก็ต้องมีความระมัดระวังไม่ต่างกัน
ผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์กับการสังเกตอาการเนื้องอกในมดลูก คือ จะมีอาการปวดท้องโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน ประจำเดือนมามากผิดปกติ บางครั้งออกเป็นลิ่มหรือเป็นก้อน ส่วนในหญิงตั้งครรภ์กับการสังเกตอาการเนื้องอกในมดลูก คือ มีอาการปวดท้อง เกร็งท้อง รู้สึกอึดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว รู้สึกตึงหรือถ่วงท้องอยู่ตลอด ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก เป็นต้น
การรักษาเนื้องอกในหญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเป็นการเฝ้าติดตามดูขนาดของเนื้องอก และรักษาตามอาการเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น เมื่อมีอาการปวด จะให้ยาแก้ปวด โดยแพทย์จะไม่ค่อยแนะนำให้ทำการผ่าตัดระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้มาก เช่น ตกเลือด แต่อาจจะแนะนำในแม่ท้องบางราย ที่เนื้องอกชนิดที่ยื่นออกมานอกมดลูกเท่านั้น
ทั้งนี้เนื้องอกในมดลูกหลังคลอด ส่วนใหญ่ที่พบตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ร้อยละ 90 พบว่ามีขนาดค่อยๆ ลดลง เพราะฮอร์โมนการตั้งครรภ์กลับสู่ภาวะปกติ มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่อาจจะพบว่าก้อนเนื้อโตขึ้นหลังคลอด ดังนั้นจึงควรนัดตรวจติดตามช่วง 3-6 เดือนหลังคลอด เพื่อประเมินขนาดที่แท้จริงของตัวเนื้องอกอีกครั้ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องใส่ใจมาก ๆ ซึ่งหากว่าเนื้องอกมดลูกยังมีขนาดใหญ่เท่าเดิมหรือใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม แพทย์ก็จะได้มีการพิจารณาผ่าตัดในช่วงหลังคลอดนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..