โรคคางทูมในเด็ก ทราบหรือไม่ว่า “คางทูม” ที่เกิดขึ้นในเด็ก เป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่เพียงใด แล้วคนเป็นแม่อย่างเรา จะมองข้ามเรื่องนี้ไปได้อย่างไร สำหรับคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องนี้ และต้องการความรู้เพิ่มเติม โรคคางทูมในเด็กเป็นอย่างไร แล้วจะมีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างไร มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

โรคคางทูมในเด็ก เป็นอย่างไร

โรคคางทูม (Mumps, Epidemic Parotitis) เป็นโรคติดต่อแบบเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส มัมไวรัส (Mumps virus) ก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ มักเกิดกับเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 2 – 5 ปีค่ะ และจะพบโรคนี้ในช่วงฤดูหนาว และในต้นฤดูร้อน

คางทูมในเด็ก เป็นโรคติดต่อได้ผ่านทางเดินหายใจ โดยจะแพร่เชื้อไปจากการหายใจ และสัมผัสน้ำลายก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย คือ 1 – 7 วัน จะเริ่มมีอาการบวดของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5 – 10 วัน หลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดคางทูมในเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่จัดอยู่ในกลุ่ม พารามิกโซไวรัส (Paramyxo virus) โดยเชื้อดังกล่าวจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยค่ะ จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและปาก แล้วแบ่งตัวในเซลล์เยื่อบุของทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่นานเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำลายข้างหู

อาการของโรคคางทูมในเด็กรุนแรงหรือไม่

อาการของโรคคางทูมโดยทั่วไป จะเกิดหลังจากสัมผัสโรค (ระยะฟักตัวทั่วไปประมาณ 14 – 18 วัน แต่อาจเร็วได้ถึง 7 วัน หรือนานถึง 25 วันเลยทีเดียวค่ะ) เด็กที่มีอาการของโรคคางทูม จะมีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร และหลังจากนั้นเพียง 1 – 2 วันก็จะมีอาการเจ็บบริเวณหน้าหู ลามไปยังขากรรไกร จากนั้นเมื่อต่อมน้ำลายพาโรติดด้านที่มีอาการค่อย ๆ โตขั้น เด็กจะเริ่มมีอาการเจ็บบริเวณแก้มและหูมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คางทูมเป็นโรคที่ไม่รุนแรง มักจะหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย แต่เมื่อเกิดในวัยรุ่น หรือในผู้ใหญ่ ความรุนแรงอาจจะมีสูงกว่าในเด็กค่ะ นั่นเพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนสูงขึ้น แต่เมื่อเกิดเป็นคางทูมแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนี้ได้ตลอดชีวิต โดยไม่กลับมาติดเชื้อได้อีก แต่ในบางรายซึ่งเป็นส่วนน้อย ที่จะพบว่ากลับมาติดเชื้อซ้ำได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงและไม่ค่อยเกิดผลข้างเคียงมากนัก

วิธีการดูแลรักษาโรคคางทูมในเด็ก

โรคคางทูมในเด็กนั้นไม่มีวิธีการรักษาค่ะ ไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ ฆ่าได้เฉพาะแบคทีเรียเท่านั้น) การรักษาก็เพียงแค่ประคับประคองตามอาการเท่านั้น เด็กที่มีอาการของคางทูมไม่ควรให้ทานยาแอสไพรินค่ะ เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากยาได้ แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ รับประทานอาหารอ่อน ๆ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อพบว่าลูกน้อยมีไข้สูง ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ขึ้นไป และไข้ไม่ลงภายใน 2 – 3 วันหลังดูแลตนเองในเบื้องต้น

หากพบว่าลูกน้อยอาการบวมมาก แนะนำให้คุณแม่ใช้น้ำอุ่นจัดๆ หรือกระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณที่เป็นคางทูมวันละ 2 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการปวดมาก แนะนำให้คุณแม่ใช่ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดดังกล่าวให้กับลูกน้อยและเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง พร้อมกับดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการปวดมากขึ้นได้ค่ะ

Sponsored

นอกจากนี้อาการคางบวม อาจจะมาจากสาเหตุของโรคอื่น คุณแม่ควรพบลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย โดยเฉพาะตรวจภายในช่องปากและลำคอ ถ้าให้การดูแลรักษาไปตามอาการเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย แพทย์จะค้นหาสาเหตุอื่นต่อไป แนะนำให้คุณแม่พบลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที หลังจากดูแลตัวเอง 7 วันแล้ว แต่อาการยังบวมไม่ยุบ หรือมีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป

วิธีการป้องกันโรคคางทูมในเด็ก

  • การป้องกันโรคคางทูมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการฉีดวัคซีน ซึ่งเด็กจะได้รับวัคซีนในโรงเรียนอยู่แล้วค่ะ โดยวัคซีนที่ได้รับเป็น วัคซีนรวม เอ็มเอ็มอาร์ (MMR: M=Mumps/โรคคางทูม, M=Measles/โรคหัด, R=Rubella/โรคหัดเยอรมัน) โดยเข็มแรกเด็กจะได้รับเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน เข็มที่ 2 เด็กจะได้รับที่อายุ 4 – 6 ปี และไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก เพราะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะคงอยู่ไปได้ตลอดชีวิตค่ะ
  • การป้องกันโรคคางทูมอื่น ๆ เป็นการแยกผู้ป่วยประมาณ 9 – 10 วันหลังเริ่มมีต่อมน้ำลายโต เพราะเป็นระยะแพร่เชื้อสำคัญค่ะ ควรหยุดโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ไม่รวมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดจัว แก้วน้ำ จานชาม ของเล่น และอื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงสัมผัสมือกับผู้ป่วยที่เป็นโรคคางทูมด้วยนะคะ

ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเล็ก

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่อาการจะไม่รุนแรงมากนักค่ะ ซึ่งพบเพียงแค่ 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะผลข้างเคียงนี้
  • โรคสมองอักเสบ พบได้น้อยมากเพียง 1% เท่านั้น แต่หากเกิดขึ้นกับเด็กเล็กอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และพบผลข้างเคียงนี้กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ถึงแม้ว่าโรคคางทูมส่วนมากจะหายได้เอง แต่ก็อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ (เป็นเพียงส่วนน้อย) ซึ่งอาจจะแสดงอาการก่อน หรือหลังจากการบวมแล้ว อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยเป็นโรคคางทูมก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้นะคะ คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์จะดีกว่า เพื่อป้องกันอาการอื่นแทรกซ้อนและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์