คุณแม่ทำงานนอกบ้าน สำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกและต้องออกไปทำงานด้วย อาจจะเกิดความกังวลและไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาแนะนำกันค่ะ แต่ก่อน ผู้หญิงอย่างเรา ๆ ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงมีเวลาในการเลี้ยงดูลูก และสามารถให้นมลูกได้อย่างที่ต้องการ จนกว่าจะถึงวัยอันสมควร เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจำนวนมากในยุคนี้จึงต้องออกนอกบ้านไปทำงานเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะออกไปทำงาน แต่ก็ต้องกลับมาเลี้ยงดูลูกน้อยอยู่ดี

คุณแม่ทำงานนอกบ้าน

ช่วงลาคลอด

  • มุ่งมั่นว่าคุณต้องทำได้

แน่นอนว่าการเป็นทั้งคุณแม่และต้องทำงานควบคู่กัน ย่อมมีความยากลำบากรออยู่อย่างแน่นอน ไหนจะเรื่องของการให้นม ไหนจะเรื่องของเวลาในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งคุณแม่ที่กำลังจะกลับไปทำงานส่วนมากมักจะเกิดความสับสนว่า “จะให้นมลูกต่อดีหรือไม่” หรือ “จะให้ลูกเลิกนมไปเลย แล้วทำงานอย่างเต็มที่” ซึ่งในความสับสนเช่นนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำนม และผลต่อสภาพจิตใจของคนเป็นแม่ได้

แต่หากคุณแม่มีความต้องการและมุ่งมั่นว่า จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่าจะกี่ปัญหาหรือกี่อุปสรรค์ก็จะไม่มีผลค่ะ ก่อนที่จะออกไปทำงานคุณแม่ควรเตรียมนมให้มากที่สุด โดยการปั๊มนมเก็บแช่เย็นไว้เก็บเอาไว้ จะช่วยให้ลูกสามารถดื่มนมแม่ที่มีประโยชน์นี้ได้ต่อไป และดีกับสุขภาพของคุณแม่ด้วย เพราะการปั๊มน้ำนมออกจากอกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณแม่คลายอาการปวดตึงบริเวณเต้านม และดีต่อรูปร่างของคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากน้ำนมที่ถูกผลิตมาให้ลูกเกิดจากการที่ร่างกายดึงเอาไขมัน และสารอาหารต่าง ๆ ไปสร้างเป็นน้ำนม เมื่อคุณปั๊มนมออกมาเป็นประจำ ร่างกายของคุณก็จะปราศจากไขมันส่วนเกิน และทำให้ห่างไกลจากโรคอ้วนอีกด้วยค่ะ

  • สร้างความผูกพัน เลิกตั้งคำถาม

ระหว่างที่คุณแม่ยังไม่ได้ไปทำงาน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการสร้างความผูกพันกับลูกน้อย โดยการให้นมตัวเองตลอดเวลา อยู่ใกล้ชิด คุณยังไม่ต้องมอบภาระการเลี้ยงดูนี้กับคนอื่น เพราะว่าคุณมีเวลาอีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น ก่อนที่คุณต้องออกไปทำงาน ช่วงเวลาของคุณกับลูกในสัปดาห์แรก หลังคลอด คุณแม่ควรเตรียมไว้ให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม และคนที่จะมาเลี้ยงดูช่วงเวลาที่คุณทำงาน โดยคุณต้องมั่นใจด้วยว่า บุคคลที่คุณจะมอบหมายให้ดูแลหนึ่งชีวิตที่สำคัญกับคุณ ว่าสามารถไว้ใจและเชื่อใจได้มากเพียงใด สำหรับคุณแม่หลายท่านที่เกิดความกังวลเกี่ยวกับ บุคคลอื่น ๆ ที่จะเข้ามาดูแลลูกน้อย แนะนำให้คุณลองนำไปฝากคุณพ่อ คุณแม่ ของคุณดูก่อนว่า พวกท่านว่างและมีเวลาให้การดูแลหลานหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรคุณก็มั่นใจและสามารถไว้ใจได้บ้าง

  • เริ่มต้นด้วยดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

ยิ่งคุณให้นมลูกในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดได้อย่างราบรื่น โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการให้นมต่อหลังกลับไปทำงานก็ยิ่งมีมากขึ้นเช่นกันค่ะ ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกดูดเร็วหลังคลอดและพยายามกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมให้ได้มาก ๆ การให้ลูกดูดนมทุกครั้ง ตามที่พวกเข้าต้องการจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมได้มากพอ สำหรับเจ้าตัวน้อย แต่คุณต้องฝึกให้ลูกดูดนมให้เก่ง เพื่อจะได้ไม่เกิดการสับสนเมื่อต้องดูดจุกนมยางในภายหลังคุณแม่ต้องเรียนรู้เรื่องการให้นมลูกให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้ เพราะจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังได้ง่ายขึ้นค่ะ

  • ลางานให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

การที่คุณสามารถลางานได้นานมากเท่าไร คุณก็ยิ่งให้นมลูกต่อหลังกลับไปทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้นค่ะ คุณจงใช้เวลาพักร้อน หรืออะไรก็ได้ที่คุณมี ถ้าจะลาแบบไม่รับเงินเดือนต่อได้ก็ยิ่งดี (เงินเดือนที่เสียไปอาจจะกลายเป็นการลงทุนที่แสนคุ้มค่าที่สุดก็ได้ค่ะ) เพราะลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับนมแม่แบบต่อเนื่องจนกว่าจะครบ 1 ปี เพื่อให้ร่างกายของลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อสู้กับเชื้อโรคภายนอก

วางแผนกลับไปทำงานอย่างสบายใจ

  • ศึกษาทางเลือกที่มีอยู่

คุณแม่ลองนึกดูนะคะว่า คุณแม่มีทางเลือกอะไรอยู่บ้างหลังกลับไปทำงาน อย่างเช่น การพาลูกไปทำงานด้วย ในกรณีนี้คุณแม่อาจทำธุรกิจส่วนตัว จึงสามารถพาลูกไปเลี้ยงที่ทำงานด้วยได้ หาที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยนอน เปลี่ยนผ้าอ้อมคุณแม่ควรมีพื้นที่สำหรับให้ลูกน้อยหัดคลานด้วย เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัยค่ะ หรือทำงานที่บ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ ที่มีความทันสมัย และทำงานผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องออกไปไหน คุณแม่จะมีเวลาอยู่กับลูกน้อยทั้งวัน แม้กระทั่งเวลาทำงาน คุณแม่ก็สามารถพูดคุยและมองดูเขาเหล่านั้นได้ตลอดเวลาค่ะ เพียงแต่คุณแม่เตรียมจัดพื้นที่ให้เหมาะสมกับทารก แล้วควรอยู่ใกล้บริเวณที่คุณแม่ทำงานจะดีมากเลยล่ะค่ะ

Sponsored
  • ยืดหยุ่นให้มาก ๆ

เด็กเล็ก ๆ ส่วนมากจะมีวิธีทำให้คุณแม่หลุดออกแผนชีวิตที่วางไว้ ในเรื่องของหน้าที่การงานได้อยู่เสมอ คุณแม่ต้องเตรียมคาดการณ์ไว้ก่อนเลยค่ะว่า คุณอาจจะต้องมีการเปลี่ยนปั๊ม เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนพี่เลี้ยง แม้กระทั่งการเปลี่ยนงานใหม่ คุณแม่ควรพยายามยืดหยุ่นให้มาก ๆ ในการวางแผนกลับไปทำงาน และให้นมลูก ความต้องการของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ลูกน้อยก็เช่นเดียวกันค่ะ ถ้าวิธีที่คุณเคยใช้ได้ผลเมื่อสองสัปดาห์ อาจใช้ไม่ได้วันนี้ คุณแม่ต้องหาวิธีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะการที่คุณแม่ต้องอยู่ห่างจากลูกเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากกว่าที่คิด คุณแม่อาจจะเกิดความเครียด และเหนื่อยเกินกว่าจะรับไหว จนทำให้คุณแม่หลายท่านต้องตัดสินใจเลือกงานใหม่ เพื่อให้มีเวลามากพอในการเลี้ยงดูลูกน้อยที่คุณรัก

  • หาพี่เลี้ยงเด็กที่ยินดีและสนับสนุนเรื่องนมแม่

หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรเริ่มมองหาเอาไว้แต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ช่วงท้อง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไป แทนที่คุณแม่จะได้อยู่กับลูกน้อยอย่างเต็มที่ในช่วงระยะสั้น ๆ คุณแม่ต้องบอกกับพี่เลี้ยงเลยว่า คุณแม่อยากให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และจะขอบคุณมาก หากเขาจะช่วยสนับสนุนคุณในเรื่องนี้มากเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้พี่เลี้ยงอาจจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับการให้นมแม่ คุณแม่ต้องค่อย ๆ บอกและสอนอย่างใจเย็น สอนให้รู้วิธีละลายและอุ่นนมแม่ (เขียนขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนจะดีมากเลยค่ะ) จัดระบบการเตรียม เขียนฉลาก และจัดเก็บนมแม่ใส่ขวดให้ลูกไว้แต่เนิ่น ๆ พยายามทำให้ขั้นตอนพวกนี้ง่ายที่สุด พี่เลี้ยงจะได้มีเวลาไปดูแลลูกให้คุณมากกว่ามัวแต่วุ่นวายกับขวดนม คุณแม่ลองใช้เทคนิคต่อไปนี้ดูค่ะ น่าจะช่วยให้พี่เลี้ยงเตรียมนมได้เร็วขึ้น

  1. นมแม่ที่แช่แข็ง ให้แยกแช่คราวละไม่มากนัก เพื่อให้ละลายได้เร็วขึ้น
  2. ละลายนมที่แม่จะใช้ในวันรุ่งขึ้น โดยการเอาออกจากช่องแช่แข็ง แล้วทิ้งไว้ข้ามคืนให้ละลายในช่องแช่เย็นธรรมดา นมที่ละลายที่ไม่ได้ใช้ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องทิ้งทันที แต่หากลูกของคุณกินนมในปริมาณที่แน่นอน ในแต่ละวัน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
  3. ให้พี่เลี้ยงลองป้อนนมแม่แช่เย็นจากตู้เย็น โดยไม่ต้องอุ่นก่อนดู หากลูกยอมกินก็ให้กินได้เลยค่ะ แต่เด็กส่วนใหญ่จะชอบนมอุ่น ๆ เหมือนกับดูดจากเต้าของแม่มากกว่า

จากคำแนะนำข้างต้น อาจจะพอทำให้คุณแม่สามารถเลือกทางที่ดีที่สุดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมกับไปทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น อาจจะยากหน่อยในช่วงแรก ๆ และหากผ่านไปสักระยะหนึ่งคุณแม่ก็จะสามารถควบคุม และรู้จักบริหารเวลาได้อย่างลงตัวมากที่สุดค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้ง เรามีคำตอบ

2.ฝากครรภ์ช้า แม่รู้ไหม ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด