คำแนะนำ เมื่อแม่ท้องไม่สบายตัว อาการอึดอัด อาการไม่สบายตัว อาการเจ็บปวดต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ แล้วลามมาจนถึงทำให้ไม่สบายใจ หงุดหงิดหรือเครียดนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เรียกได้ว่าอาจมี 108 ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้มี 6 อาการหลัก ๆ ที่เชื่อว่าแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ เรามีคำแนะนำสำหรับการแก้ไขเรื่องนี้ให้อยู่หมัดมาบอกค่ะ
6 คำแนะนำ เมื่อแม่ท้องไม่สบายตัว
1.อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว
แม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกมักจะมีอาการนี้ ซึ่งบางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะอาการเหล่านี้จะหายไปในช่วงตั้งครรภ์ประมาณ 12-16 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ก็มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ HCG ( Human Chorionic Gonadotropin) รวมถึงสภาพจิตใจของแม่ตั้งครรภ์ ที่มีความวิตก กังวล หรือคิดมาก
การแก้ไข อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว
-ปรับสภาพจิตใจให้มีความเข้าใจ เข้มแข็ง และหนักแน่น ในเรื่องของการตั้งครรภ์มากขึ้น
-ก่อนลุกจากที่นอนในตอนเช้า ควรทานขนมปังปิ้ง หรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ จะช่วยให้อาการเหล่านี้ลดลง
-การทานอาหารในช่วงแพ้ท้อง แนะนำว่าควรทายมื้อเล็กมื้อน้อย แต่ทานบ่อยครั้งขึ้น โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารมัน ๆ ทอด ๆ อาหารรสจัด เค็มจัด หวานจัด อาหารที่มีกลิ่นแรง เป็นต้น
-ทานวิตามินบี 6 เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง กล้วย ไข่แดง เป็นต้น จะช่วยลดอาการนี้ได้
2.อาการแสบยอดอด
อีกหนึ่งอาการที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลาย และกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อน จนเกิดอาการแสบจุกหรือแสบร้อนในอก ซึ่งแม่ตั้งครรภ์หลายคงมักจะกังวลหรือสงสัยว่าหากเกิดอาการแบบนี้จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่? ตรงนี้จะไม่มีผลค่ะ
การแก้ไขอาการแสบยอดอด
–แม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน อาหารผัดๆ ทอด ๆ อาหารรสจัด อาหารรสเปรี้ยว อาหารหมักดอง น้ำอัดลม
– ให้นั่งหรือนอนศีรษะสูง 30 องศา หลังทานอาหาร จะช่วยลดอาหารได้
-ทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย และเมื่อรู้สึกหิวให้ทนทันที ไม่ควรทานอาหารอิ่มจนเกินไป แม่ตั้งครรภ์ควรทานทีละน้อยแต่ทานบ่อยขึ้น
-หลังอาเจียนทุกครั้ง ให้ดื่มน้ำกลั้วคอ
3.อาการปัสสาวะบ่อย
อาการนี้จะพบได้บ่อยในแม่ตั้งครรภ์ทุกไตรมาส และไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติแต่อย่างใด เพียงแต่จะสร้างความไม่สบายตัวให้แม่ตั้งครรภ์เท่านั้นเอง สาเหตุเกิดจากมดลูกกดทับกระเพาะปัสสาวะในช่วงไตรมาสแรก และจะมีอาการอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้าย ประมาณสัปดาห์ที่ 28-40 สัปดาห์ เนื่องจากศีรษะของทารกในครรภ์ เคลื่อนตัวไปกดลงบริเวณหัวหน่าว และก็ไปเบียดกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง
การแก้ไขอาการปัสสาวะบ่อย
-แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ ให้ปัสสาวะทันที
-หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
-ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
4.อาการท้องผูก
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก จนสร้างความอึดอันไม่สบายตัวได้ง่าย ๆ สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวช้า
การแก้ไขอาการท้องผูก
-แม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ต่อวัน
-ทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ผักใบเขียว ผลไม้ เช่น ส้ม แก้วมังกร ลูกพรุน คะน้า ถั่วเขียว ถั่วดำ เป็นต้น
-ออกกำลังกายสำหรับแม่ตั้งครรภ์ในตอนเช้าทุกวัน ประมาณวันละ 10-20 นาที เช่น การเดินช้า ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น เพื่อลำไส้ได้มีการเคลื่อนไหว
5.อาการตะคริว
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยในแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากกล้ามเนื้อฝืดไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม ทำให้เกิดความไม่สบายตัว ปวดเกร็ง หรือเจ็บปวดบริเวณขานั่นเอง สาเหตุ เกิดจากการทานแคลเซียมน้อย หรือขาดความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
การแก้ไขอาการตะคริว
-เมื่อเกิดอาการตะคริว ให้แม่ตั้งครรภ์เหยียดขาตรง จากนั้นให้ดัดปลายเท้าขึ้น
-ลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไปมา เหยียดเท้าให้ตรง หากเกิดตะคริวที่นิ้วเท้า เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
-หากเป็นตะคริวที่นิ้วมือ ให้เหยียดนิ้วมือกางออก แล้วพยายามเคลื่อนไหวไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
-ควรดื่มนม และทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อยที่ทานได้ทั้งกระดูก น้ำผักใบเขียว เต้าหู้ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
6.อาการปวดหลัง
อาการนี้แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอทุกคน จะพบมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รวมถึงอาจปวดไปจนกระทั่งถึงวันคลอดก็ได้ ทั้งนี้หลังคลอดอาการปวดหลังจะยังคงมีอยู่สักระยะ เพราะกระดูกสันหลังที่แอ่นเพื่อรอบรับการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ขยับเข้าที่เดิม รวมถึงรอให้ร่างกายปรับสมดุลนั่นเอง สาเหตุของการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากกล้ามเนื้อถูกดึงรั้งจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หลังจึงต้องแอ่นรับน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง
การแก้ไขอาการปวดหลัง
–ขมิบก้น และบริหารกล้ามเนื้อเชิงกราน ประมาณ 5-10 นาที ต่อวัน
-นั่งหรือยืนให้ตรง เพื่อสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย
-หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าไม่มีส้น หรือรองเท้าส้นเข็ม เปลี่ยนมาเป็นรองเท้ามีส้นประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อให้น้ำหนักอยู่กลางลำตัว และจะช่วยลดอาการปวดหลังได้
-นวดบริเวณหลัง โดยใช้ครีมแก้ปวดหลังนวดเบา ๆ เรื่องนี้คุณสามีช่วยได้ค่ะ
– ไม่นอนหงาย ให้นอนตะแคงซ้าย
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..