ในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะกินนมจากขวด จึงทำให้มีปัญหาท้องอืดได้ง่าย ซึ่งสาเหตุมาจากในขวดนมมีฟองอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กดูดนมเข้าไป จึงทำให้ฟองอากาศเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ของเด็กจนทำให้มีอาการท้องอืดเกิดขึ้น ดังนั้นการชงนมให้ลูกจึงมีความสำคัญมาก โดยวิธีการชงนมแบบไหนที่จะไม่ทำให้เกิดฟองอากาศบ้างเราไปดูกันเลย
ฟองอากาศในนม ทำให้ลูกท้องอืด
เด็กกินนมผสมที่ชงในขวดมักจะมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ร้องไห้โยเยได้ง่าย ซึ่งการชงนมที่ได้ทำกันมาในอดีต คือการนำน้ำและนมใส่ในขวด ปิดฝาและเขย่าขวด อาจจะใช้ไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีฟองอากาศเกิดขึ้น จนทำให้เด็กมีอาการท้องอืดได้ ซึ่งหลังจากแพทย์ได้ตั้งข้อสังเกตจากกรณีศึกษาในเด็กเล็กหลายราย ที่กินนมผสมจากขวดนมแล้วพบว่าเด็กมีอาการท้องอืด ซึ่งเมื่อสืบประวัติพบว่าการชงนมที่ทำให้เกิดฟองมีผลดังกล่าวจริง นอกจากนี้การป้อนนมแบบผิดวิธีก็มีส่วนทำให้เด็กดูดกลืนอากาศเข้าไปได้ รวมถึงขวดนมที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจทำให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น จนเด็กกลืนลงสู่กระเพาะอาหารแล้วทำเกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน ในปัจจุบันนี้ได้ค้นพบแนวทางดูแลแก้ไข โดยการแนะนำขวดนมและจุกนมที่เหมาะสมให้กับเด็กเล็ก รวมถึงวิธีการชงนมที่ถูกต้องอีกด้วย
ป้องกันโรคท้องอืด จากฟองอากาศยังไง
1.หลังจากชงนมแล้ว ควรวางปล่อยทิ้งไว้ให้ฟองอากาศยุบตัวประมาณ 2-3 นาที แล้วค่อยนำมาป้อนได้ลูกกิน
2.ควรป้อนนมให้ลูกในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัวของเด็กในแต่ละมื้อ ไม่ควรป้อนมากจนลูกอิ่มเกินไป
3.จัดท่านอนของทารกให้เหมาะสมขณะป้อนนมโดยยกศีรษะให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย หรือจะอุ้มในท่าเดียวกันกับการให้นมแม่ที่ดูดจากเต้าก็จะดีมาก
4.ขณะป้อนนมควรยกขวดนมขึ้น เพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างระหว่างจุกนม นอกจากนี้ควรดูว่าขนาดรูของจุกนมไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ควรเป็นขนาดที่พอเหมาะกับวัยของลูก ซึ่งทำให้การดูดกลืนเป็นไปได้อย่างราบรื่น และทำให้ลูกดูดอากาศเข้ากระเพาะน้อยที่สุด
วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟอง
การชงนมก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดสุขภาพของลูกให้อ่อนแอหรือแข็งแรงได้ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของขวดนมจำเป็นต้องล้างทำความสะอาด และนึ่งฆ่าเชื้อ รวมถึงการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้ขวดนมของลูกสะอาดหลังจากนั้นจึงนำมาชงนม ซึ่งวิธีการชงนมไม่ให้เกิดฟองสามารถทำได้ดังนี้
1.เลือกขวดนมที่ออกแบบพิเศษที่ช่วยลดการไหลเข้าของอากาศมายังขวดนม และขนาดของขวดนมควรเหมาะสมกับปริมาณของน้ำนมด้วย
2.จุกนมที่มีอัตราการหยดต่ำ ซึ่งจะอยู่ที่ปริมาณ 1 หยดต่อวินาที จะมีความเหมาะสมกับจังหวะการดูดนมของลูกรวมถึงกลไกการกลืนนมลงไปในท้อง จะช่วยลดการกลืนอากาศได้
3.นำน้ำอุ่นอุณหภูมิ 60 องศาใส่ในขวด 1 ใน 3 ของขวด หลังจากนั้นตักนมผงลงไปในส่วนในอัตราส่วนที่ต้องการจะชง จากนั้นใช้ช้อนคนนมกับน้ำผสมให้เข้ากันก่อน แล้วจึงเพิ่มน้ำให้ได้ในปริมาณที่ต้องการ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดการเกิดฟอง และดีกว่าวิธีการเขย่าขวดแบบเดิม
การอุ้มลูกเรอหลังลูกดื่มนมก็สำคัญ
หลังจากให้ลูกกินนมจนอิ่มแล้ว การอุ้มลูกขึ้นมาเรอเพื่อไล่อากาศออกจากกระเพาะอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้นมที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งอาจจะเล็ดลอดเข้าไปได้ระหว่างที่ลูกดูดนมถูกขับออกมาได้ หลังจากอุ้มลูกปาดไหล่ไปประมาณ 5-10 นาทีหรือในเด็กมาก็ได้อาจจะต้องอุ้มเพื่อให้เรอนานถึง 20 นาที เมื่อลมในลำไส้และกระเพาะอาหารถูกขับออกมาหมดแล้วเด็กจะรู้สึกสบายตัวช่วยลดปัญหาท้องอืดได้
วิธีอุ้มลูกให้เรอที่ได้ผลดี
1.อุ้มลูกนั่งให้ลำตัวตั้งตรง โดยให้ส่วนด้านข้างของลูกพิงกับอกคุณแม่ ขณะเดียวกันคุณแม่จะประคองลูกด้วยมือที่โอบกอดไว้ ซึ่งมีส่วนคางของคุณแม่แตะส่วนศีรษะลูกไว้ และใช้มืออีกข้างลูบหลังลูกเบาๆ
2.ให้ลูกนั่งตัวตรงบนตักคุณแม่ ใช้มืออีกข้างประคองส่วนอกของลูกไว้ จับลูกเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มือตบหรือลูบหลังลูกเบาๆ อาจจะการลูบหลังลูกเป็นวงกลมก็จะช่วยให้ลูกเรอได้ง่ายขึ้นได้
3.ให้ลูกนอนคว่ำบนตัก ใช้มือประคองใต้หน้าอกลูก ส่วนมืออีกข้างให้ลูบหลังลูก
4.หากลูกเรอไม่ออก และมีปัญหามีลมในท้องมาก ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีให้ลูกนอนราบแล้วจับขาลูกงอขึ้นให้เกือบชิดหน้าอก ทำขึ้นลง 4-5 ครั้ง ก็จะช่วยให้เรอได้ง่ายขึ้น
5.คุณแม่สามารถอุ้มลูกพาดบ่า เพื่อให้เรอได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก สำหรับการอุ้มลูกเรอในท่านี้คุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมรองที่ไหล่คุณแม่กันเปื้อนนม ที่อาจจะเล็ดลอดออกจากปากลูกขณะเรอได้ รวมถึงการระมัดระวังไม่ให้อุ้มลูกพาดไหล่ในลักษณะที่ศีรษะลูกห้อยลงต่ำจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกขย้อนนมออกมาแล้วไหลเข้าจมูกลูกได้ ซึ่งจะทำให้ลูกมีการสำลักนมได้
การดูแลลูกไม่ให้มีอาการท้องอืด สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลด้วยวิธีการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเมื่อลูกน้อยมีอายุมากกว่า 3 เดือนแล้ว การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากขึ้น ระบบย่อยอาหารจะทำงานดีขึ้น ทำให้อาการท้องอืดจะค่อยๆ ทุเลาเบาบางลงไปได้ สำหรับในเด็กบางรายที่ลำไส้ไม่แข็งแรง อาจจะมีอาการท้องอืดได้จนถึง 6 เดือน
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.10 อาหารวิตามินอี คนท้องควรกิน เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี
2.อาหารที่คนท้องควรกิน และไม่ควรกิน สำหรับคนท้องกรุ๊ปเลือด B