เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นย่อมเป็นเรื่องที่น่ายินดีของครอบครัวหรือคู่รักที่กำลังจะมีโซ่ทองคล้องใจ โดยส่วนของโซ่ทองที่กำลังเติบโตขึ้นนี้ก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในครอบครัวจากบริบทสามี - ภรรยา ก็มีการเพิ่มส่วนของบริบทความเป็นคุณพ่อ – คุณแม่เข้ามา นอกจากนี้ส่วนของคุณแม่เองก็จะพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งส่วนของร่างกาย และจิตใจซึ่งนำไปสู่ความเครียดที่ในบางครั้งก็นำไปสู่การเป็นโรคจิตเวชได้ ในบทความนี้เราจึงขอพาคุณแม่ทุกท่านไปพบกับ 4 โรคจิตเวชที่ต้องระวังกัน

คนท้องเครียดบ่อย อาจเป็น 4 โรคจิตเวชนี้

ก่อนอื่นเราก็ขอพาคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านมารู้จักกับ 4 โรคจิตเวชที่มักเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์และมีความเครียดบ่อยๆ ซึ่งมีดังนี้

1.       โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ในสังคมทุกวันนี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดความเร่งรีบในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น และสังคมในปัจจุบันก็เป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น และยิ่งเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ยังมีปัจจัยภายในมาเกี่ยวข้องทั้งส่วนของระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นกว่าปกติทั้งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน ร่วมด้วยการขาดความสมดุลของระดับสารสื่อประสาทในร่างกายอย่างสารสื่อประสาทซีโรโทนินจึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอีกกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ ลักษณะอาการหลัก ๆ ของโรคก็ล้วนแล้วแต่เป็นการแสดงออกที่ไม่สมดุลทั้งการกินอาหารมากหรือน้อยกว่าปกติมาก ๆ หรือ การง่วงนอนตลอดเวลา หรือ การนอนไม่หลับ ทั้งหมดทั้งมวลก็ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้ หรือ บุคคลรอบข้างสังเกตเห็นการแสงออกหรืออารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ควรพาคุณแม่ตั้งครรภ์ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาโดยด่วน ซึ่งอาจเป็นเพียงการบำบัดทางด้านจิตใจ หรือ อาจเป็นการใช้ยาร่วมด้วย ในส่วนนี้คุณแม่ต้องรับยาจากแพทย์เท่านั้น เพราะแพทย์จะทราบว่ายาชนิดใดปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มากที่สุด

2.       โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคจิตเวชอีกชนิดที่พบได้บ่อยรองลงมาจากโรคซึมเศร้า ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการขาดความสมดุลของสารสื่อประสาทเช่นกัน ลักษณะอาการหลัก ๆ ของโรคคือคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอาการร่าเริงมากในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน โดยในช่วงที่ซึมเศร้าสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟรินจะต่ำกว่าปกติ ส่วนในช่วงที่ร่าเริงสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟรินจะสูงกว่าปกติ ซึ่งโรคอารมณ์สองขั้วนี้จะเป็นได้ในช่วงเวลาหลักสัปดาห์หรือช่วงเวลายาวนานเป็นเดือน และอาจมีผลไปถึงคุณแม่ในช่วงหลังคลอดด้วย

3.       โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่สามารถพบได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงไตรมาส 3 โดยอาการของโรคคือคุณแม่ตั้งครรภ์มักเกิดการย้ำทำ และมักคิดจนกระทั่งถึงขั้นหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อย การนับจำนวนการดิ้นของลูกน้อย ความสะอาดของสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงการต้องกินหรือห้ามกินสิ่งใด จึงนำไปสู่การได้รับหรือขาดสารอาหารบางประเภท และอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

4.       โรควิตกกังวล เป็นอีกหนึ่งโรคจิตเวช สภาพจิตใจที่เกิดความวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไป ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นอยู่และเรื่องในอนาคต อย่างน้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มในแต่ละไตรมาสเป็นไปตามกำหนดมั้ย หรือ ลูกน้อยที่คลอดออกมาจะสมบูรณ์มั้ย ส่วนของความกังวลที่มากไปก็จะมีผลต่อการแสดงออกของร่างกายอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเกร็งตามร่างกาย วิงเวียน ปวดศีรษะ และส่งผลต่อความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย

ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวชได้

สำหรับปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคจิตเวช คือ

- ตัวของคุณแม่เองที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

- คนรอบข้างหรือผู้ใกล้ชิดคุณแม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและความสุขของคุณแม่

- สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน หรือแสงแดด

- ภาวะโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อนและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม

วิธีลดความเครียดในคนท้อง ช่วยป้องกันภาวะจิตเวช

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียดนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ ในส่วนนี้เราก็มีวิธีป้องกันหรือลดความเครียดในคุณแม่ ดังนี้

Sponsored

1.       คุณแม่และคนรอบข้างสร้างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่แห่งความสุขแก่จิตใจของคุณแม่

2.       คุณแม่และคนรอบข้างสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

3.       คุณแม่หมั่นดูแลตนเองทั้งเรื่องของโภชนาการ การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

4.       คุณแม่หมั่นปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อร่างกายหรือจิตใจ

จากบทความข้างต้นเราจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาพจิตใจสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์เกือบทุกท่านเลย ซึ่งบางการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงแล้วนำไปสู่โรคจิตเวช ดังนั้นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หรือการลดความเครียดก็ล้วนเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคจิตเวชได้ ในส่วนนี้ทั้งตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์เองและบุคคลรอบ ๆ ตัวคุณแม่อย่างคุณพ่อก็สามารถใช้วิธีการในบทความเพื่อไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตนเอง เพื่อให้การตั้งครรภ์ในครั้งนี้เป็นการตั้งครรภ์ที่คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์