เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 5/2560 พร้อมเปิดเผยภายหลังว่า ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการลงทุนสาธารณสุขเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งด้านแพทย์แผนไทย ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง สถานพยาบาล การลำเลียงขนส่งทางการแพทย์ รับทราบการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบสุขภาพของประเทศ พร้อมรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พร้อมมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นการกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ในเรื่องการส่งเสริมการให้นมแม่ในสังคมไทย รวมถึงการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเด็นการขยายสิทธิการลาคลอดเป็น 180 วัน หรือ 6 เดือน
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กนั้น รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และมีผลประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญคือ 1.ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารทารกและเด็กเล็ก ทั้งทางทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร หรือ สื่อออนไลน์แต่ ไม่ได้ห้ามขาย 2.ห้ามแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ทั้งทางตรงและทางอ้อม 3.ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว 4.ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่สาธิต โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้า 5.ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุข 6.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการอาหารทารก ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอนามัย เพื่อป้องกันการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อมูลในเชิงโฆษณา 7.ข้อมูลที่ให้แก่บุคลาการสาธารณสุขต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นจริง และฉลาก ต้องไม่แสดงรูปภาพของทารกหรือข้อความชักจูงให้เกิดความเข้าใจผิด
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า หลังจากกฎหมายประกาศใช้แล้ว ได้รับการชี้แจงจากทางคณะกรรมการอาการและยา (อย.) ว่ายังพบการลักลอบโฆษณาอยู่ อย่างไรก็ตามจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกรมอนามัยกับ อย. ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ เพื่อวางแนวทางระบบและกระบวนการรองรับ โดยเฉพาะการตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับทั้งระดับเขต จังหวัด และอำเภอ เพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมาย รวมถึงเปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งขึ้นจะมีอำนาจในการนำเสนอบทลงโทษได้ทันที
“ส่วนการลาคลอดนั้น เราส่งเสริมคุณแม่ควรจะให้นมลูกอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน แล้วหลังจากนั้นอาจจะมีอาหารเข้ามาเสริมได้บ้าง แต่ที่ผ่านมาเรามีกฎหมายอนุญาตให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อนุญาตให้คุณแม่ลาคลอดได้จำนวน 90 วัน ดังนั้น รัฐควรออกกฎหมาย โดยอาจอนุญาตให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 180 วัน หรือ 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ คาดว่าจะออกประกาศได้ภายในเดือน มี.ค. 2561” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
ขอบคุณที่มา : www.khaosod.co.th
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..