เหล่าคุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยด้วยตัวเอง มักจะมีเรื่องกังวลหรือปัญหาหลัก ๆ ที่คุณแม่หลายท่านต้องประสบพบเจอก็คือ คัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออก ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นแล้วคุณแม่มือใหม่อาจปรับตัวไม่ถูก รับมือไม่ทัน ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรดี และรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก แต่ปัญหานี้จะกลายเป็นง่ายเพราะวันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝาก ก่อนอื่นมาดูสาเหตุที่ทำให้เต้านมคัดกันก่อนเลยดีกว่า
คัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออก เกิดจากอะไร
สำหรับปัญหาคัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออกนี้ก็เป็นอาการที่เกิดจากการคั่งของน้ำนมภายในเต้านมหรือภายในท่อน้ำนม ซึ่งเกิดจากความข้นของน้ำนมที่มากเกินไป แล้วระบายออกได้น้อย ทำให้ยังคงคั่งค้างอยู่ภายในบริเวณเต้านมของคุณแม่จนเกิดเป็นก้อนแข็ง หรือที่เรียกว่านมคัด นอกจากนี้ก็จะทำให้เกิดอาการปวดและบวมแดงบริเวณเต้านมในคุณแม่ได้ แต่อาการนมคัดดังกล่าวจะไม่มีอาการไข้ร่วมด้วย หากคุณแม่มีอาการไข้อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งจะต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง
วิธีแก้ปัญหาเมื่อคัดเต้า ปั้มนมไม่ออก
อย่างไรก็ดีเมื่อคุณแม่ประสบกับปัญหาคัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออก ก็สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ก่อนการให้นมลูกน้อยทุกครั้ง คุณแม่ควรประคบเต้านมที่เกิดการคัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออกด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลาประมาณ 5 นาที
2. จัดท่านอนของลูกน้อยขณะให้นมอย่างเหมาะสม โดยจัดให้คางของลูกน้อยหันไปทางเต้านมที่เกิดการคัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออก เพื่อให้ลูกน้อยดูดนมจากเต้า จะได้ระบายน้ำนมออกมา
3. นวดเต้าขณะที่ให้นมลูกน้อยไปด้วย โดยคุณแม่ควรนวดคลึงเต้านมบริเวณที่คัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออกเบา ๆ ขณะที่ให้นมลูกน้อย จะช่วยให้นมไหลออกมาง่ายขึ้น
4. จัดช่วงเวลาและความถี่ให้แก่ลูกน้อยในการดูดนมจากเต้า โดยคุณแม่ที่เกิดการคัดเต้านม หรือ มีก้อนแข็งเป็นไต ส่วนหนึ่งก็มาจากการระบายออกของเต้านมที่ไม่ดีพอ ดังนั้นคุณแม่จึงสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการเพิ่มความถี่ในการดูดนมของลูกน้อยเป็นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง และ ควรให้ลูกน้อยดูดครั้งละ 10 – 15 นาทีเพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการแข็งเป็นไตและการระบายของน้ำนมที่ดีขึ้น
5. หากเกิดอาการปวดจากการคัดเต้านมมาก คุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการกินยาพาราเซตามอล
ป้องกันปัญหาเต้านมคัดได้อย่างไร
ปัญหาเต้านมคัดแข็งเป็นก้อน สามารถป้องกันด้วยวิธีดังนี้
1. เมื่อเกิดก้อนไตขึ้นแล้วส่วนหนึ่งมักมาจากการกดทับของเต้านมที่มากเกินไป คุณแม่สามารถป้องกันปัญหานี้ได้ด้วยการสวมใส่ชั้นในที่มีขนาดพอดี ไม่คับแน่น นอกจากนี้การสวมใส่ชั้นในที่หลวมจนเกินไปก็จะไม่รองรับสรีระเต้านมของคุณแม่ทำให้เกิดการหย่อนคล้อยนำไปซึ่งการกดทับท่อส่งน้ำนมที่จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำนมได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงต้องเลือกสวมใส่ชั้นในที่มีขนาดพอเหมาะกับเต้านมของตนเอง
2. จัดอิริยาบถท่าทางของคุณแม่ที่เหมาะสม ทั้งท่าทางของการนอนก็ไม่ควรนอนตะแครงทับเต้านมด้านใดด้านหนึ่งนานเกินไป หรือ ท่าทางการนั่งก็ไม่ควรพิงกดทับเต้านมด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานด้วย
3. คุณแม่ควรมีการใช้เครื่องปั้มนมช่วย เพื่อให้เกิดการระบายน้ำนมออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดก้อนไตแข็งบริเวณเต้านมได้
4. คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงที่ให้นมลูกน้อย จะช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้นและไม่เกิดปัญหาเต้านมคัดได้ง่าย
5. คุณแม่ควรทำการนวดเต้านมไม่ให้เกิดก้อนแข็งในช่วงเวลาอาบน้ำเบา ๆ ครั้งละ 10 – 15 นาที เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเต้านม
6. คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันมากเกินไป เพราะจะนำมาซึ่งการสะสมของไขมันที่มากเกินทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำนมได้เช่นกัน ไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ชีส หรือ เนย
จะเห็นได้ว่าปัญหาคัดเต้าเป็นก้อน ปั้มไม่ออกเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกท่าน แต่ปัญหาดังกล่าวก็ไม่เป็นเรื่องที่น่ากังวลเท่าไรนัก เพราะมีทั้งวิธีป้องกันและวิธีแก้ไขให้คุณแม่เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเจอปัญหาเห
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.หัวนมอักเสบ ในคุณแม่ที่ให้นมลูก จะป้องกันได้อย่างไร
2.นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง ถ้าใส่ในกระติกน้ำแข็ง และวิธีอื่นๆ ในการเก็บน้ำนม