ลูกน้ำหนักตัวน้อย คงเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่มากๆหากลูกน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่แรกเกิด มีคำแนะนำดี ๆ จาก แพทย์หญิงจันทนา พันธ์บูรณะ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่  การคลอดก่อนกำหนด  สุขภาพของมารดาไม่สมบูรณ์ การติดเชื้อในครรภ์มารดา ความผิดปกติของมดลูกหรือรก เด็กแฝด หรือความผิดปกติของทารกเอง

ปัญหาที่เกิดมักเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของระบบภูมิคุ้มกันและอวัยวะต่างๆทำให้ต้องมีการป้องกัน ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกๆด้าน ซึ่งผลระยะยาวขึ้นอยู่กับปัญหาที่ทารกแต่ละรายมีในช่วงแรกเกิด

ลูกน้ำหนักตัวน้อย

อาการแบบนี้เรียกว่าปลอดภัย

ทารกส่วนใหญ่สามารถดูดกลืนอาหารสัมพันธ์กับการหายใจได้  เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ หรือน้ำหนักประมาณ 1,500 กรัม และอยู่ในความดูแลของแพทย์จนกระทั่งน้ำหนักประมาณ1,800 กรัม แพทย์จะตรวจดูว่าหากไม่มีปัญหาทางการแพทย์จนต้องนอนโรงพยาบาลต่อ ดูดกลืนนมได้ดี หายใจเป็นปกติ  ควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้  จึงจะส่งทารกกลับบ้าน หลังจากนั้นเป็นหน้าที่คุณแม่ที่จะต้องดูแลเจ้าตัวเล็กต่อไปค่ะ

ดูแลลูกตัวเล็กง่าย ๆ ที่บ้าน

ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับอาการของลูก

ก่อนกลับบ้านคุณแม่ควรพูดคุยซักถามเกี่ยวกับการดูแลอาการต่าง ๆ ของลูกให้ชัดเจน ว่ามีเรื่องใดบ้างที่ต้องคอยเฝ้าสังเกตเป็นพิเศษ และที่สำคัญต้องมาพบคุณหมอตามนัดทุกครั้งนะคะ

นมแม่อาหารชั้นเลิศ

เด็กน้ำหนักตัวน้อยมักจะต้องการพลังงาน  แคลเซียม  โปรตีน  เกลือแร่  วิตามินสูงกว่าเด็กปกติทั่วไป คุณแม่ต้องให้นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารก เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างดี หากทารกเกิดก่อนกำหนดมากน้ำนมแม่จะมีคุณค่าครบสำหรับทารกกลุ่มนี้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งถ้าทารกต้องนอนโรงพยาบาลและยังไม่สามารถดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้  คุณแม่สามารถปั๊มนมเก็บไว้ แล้วผสมสารอาหารที่ทางการแพทย์เรียกว่า “Human milk fortifier” เพื่อเสริมนมแม่ให้มีพลังงานและสารอาหารเพิ่มขึ้นเหมาะสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดหรืออาจให้นมผงสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดโดยตรงเลยก็ได้  เมื่อทารกกลับบ้านแล้วหากน้ำหนักน้อยมากหรือปริมาณน้ำนมแม่ไม่เพียงพออาจใช้สูตรนมต่อเนื่องสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดถึงจะให้พลังงานและสารอาหารลดลงมาหน่อยแต่ก็ยังมากกว่านมผงธรรมดาสำหรับทารกแรกเกิด หากทารกดูดนมแม่ได้เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเสริมนมผงก็ได้

สัมผัสรัก

การสัมผัสลูกเบาๆเพื่อถ่ายทอดความรักจากแม่ไปสู่ลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกได้ เพียงคุณแม่หมั่นสัมผัสลูบไล้เนื้อตัว เล่นกับลูก ยิ้มกับลูก หรือพูดคุย จะทำให้ลุกของคุณอารมณ์ดี จิตใจแจ่มใส และเติบโตอย่างแข็งแรง

ตรวจเช็คร่างกายตามกำหนด

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพาเจ้าหนูไปตรวจร่างกายและรับวัคซีนตามกำหนดของคุณหมอ เพราะส่วนใหญ่คุณหมอมักจะนัดเด็กที่มีน้ำหนักน้อยมาตรวจพร้อมกับให้วัคซีน  ซึ่งการให้วัคซีนก็จะเหมือน ๆ กับเด็กน้ำหนักปกติทั่วไป เพียงแต่ในทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,000  กรัม หากฉีดวัคซีนตับอักเสบ B ในช่วงแรกเกิดแต่ภูมิคุ้มกันนั้นจะสร้างได้ไม่ดี ดังนั้นคุณแม่ควรรอให้เจ้าหนูน้ำหนักตัวขึ้นไปถึง 2,000 กรัมเสียก่อนค่อยพาไปฉัดวัคซีนตัวนี้ค่ะ

Sponsored

เช็คเองที่บ้านคุณแม่ก็ทำได้

เด็กที่มีน้ำหนักน้อยมักจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติค่ะ แต่คุณแม่สามารถติดตามพัฒนาการของลูกน้ำหนักน้อยได้ง่าย คือ  การชั่งน้ำหนัก  การวัดส่วนสูงหรือการวัดความยาว โดยเทียบกับเกณฑ์ของเด็กปกติ หากเด็กโตทันเกณฑ์ใน 6 เดือน ถือเป็นแนวโน้มที่ดีมากค่ะ

เพื่อนของผู้เขียนเองลูกของเขาคลอดก่อนกำหนดเล็กน้อยเนื่องจากสุขภาพของแม่ไม่ดีเท่าที่ควร เด็กคลอดออกมาไม่ถึง 2,000 กรัม  แต่คุณแม่ก็เพียรพยายามให้ลูกน้อยได้ดูดน้ำนมซึ่งก็ไหลดีเสียด้วย การที่ลูกน้ำหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำหนดแล้วได้ดูดนมแม่สม่ำเสมอถือเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ

นอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีพัฒนาการที่ดีมาก  เป็นเด็กอารมณ์ดี  ไม่โยเย  และควรหมั่นพูดคุย ยิ้ม เล่นกับลูก จะทำให้เขามีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น ๆ ตามลำดับ ทุกวันนี้กลายเป็นเด็กอ้วนท้วนสมบูรณ์น่ารักมาก ๆ เลยค่ะ  แทบจะลืมไปแล้วว่าเขาคลอดก่อนกำหนดและเคยมีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกคลอด  ดังนั้นคุณแม่ที่มีลูกน้ำหนักตัวน้อยไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ  เพราะสามารถแก้ไขได้ค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณแม่ค่ะ  สู้ สู้

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้ง เรามีคำตอบ

2.ฝากครรภ์ช้า แม่รู้ไหม ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด