ปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ มักพบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ซึ่งความรุนแรงก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ลองมาศึกษาดูกันสิว่า อะไรที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด และจะมีวิธีดูแลและป้องกันได้อย่างไรบ้างจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนี้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
คือภาวะที่ทารกแรกเกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ส่งผลกระทบทารกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของสมองและระบบประสาท ซึ่งส่วนใหญ่จะพบทันทีในทารกที่คลอดได้ 2-3 วัน
ทารกแรกเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร
สาเหตุที่ทำให้ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำ มีดังต่อไปนี้
1.ขาดโภชนาการที่ดี
เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จึงควรเลือกทานอาหารที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ต่างๆ เนื่องจากโภชนาการที่ไม่ดีย่อมส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และเด็ก แถมยังป้องกันภาวะครรภ์เสี่ยง เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
2.แม่เป็นเบาหวาน
ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์นั้น จะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าทารกทั่วไป ทำให้คลอดยาก โดยหลังคลอดในช่วงแรก ทารกเหล่านี้ก็มักมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากระดับอินซูลินในเลือดที่เพิ่มขึ้น
3.ทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500กรัม จะมีความเสี่ยงต่อภาวะผิดปกตินี้ได้มากที่สุด ดังนั้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่แล้วนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
4.ภาวะโลหิตจาง
ทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะโลหิตจาง ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแดงสลาย จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงมีน้อยหรือต่ำเกินไป ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
5.ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
อาจเป็นเพราะความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือระบบฮอร์โมนในร่างกายที่ทำงานผิดปกติ สาเหตุเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเด็กทารกแรกเกิดได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อันตรายมากแค่ไหน
อาการที่แสดงออกว่าทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้น มีตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต โดยจะมีอาการเหล่านี้ ผิวซีด เนื่องจากเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ และอาจมีอาการ ซึม มือเท้าสั่น กระสับกระส่าย หายใจหอบเหนื่อย รวมถึงหยุดหายใจชั่วขณะ ตัวเย็น ชักเกร็ง ซึ่งถ้าปล่อยให้เด็กชักเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลทำให้สมองพิการ เนื่องจากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้
การดูแลรักษา
สำหรับทารกที่มีอาการ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์จะทำการรักษาตามขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจเลือด
เพื่อที่จะประเมินค่าของน้ำตาลในเลือดให้แน่ชัด แพทย์จะขอตรวจเลือด โดยการเจาะเลือดที่บริเวณส้นเท้าของทารกก่อนที่จะทำการรักษาในขั้นตอนต่อไปๆ
2.ให้นมแม่
การให้นมแม่ได้เร็ว และให้ลูกได้กินนมแม่บ่อยๆนั้น จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าในนมแม่นั้นมีน้ำนมเหลืองนั้นมีประโยชน์ต่อลูกเป็นอย่างมาก รวมทั้งความอบอุ่นจากแม่ระหว่างในนมจากอก ยังช่วยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตได้อีกด้วย
3.ให้น้ำเกลือ
ในกรณีที่ทารกมีระดับน้ำตาลต่ำมาก แพทย์จะพิจารณาให้การรักษา ด้วยการให้น้ำเกลือ จนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ
4.ให้ยา
ในรายที่น้ำตาลในเลือดต่ำโดยเกิดจากสาเหตุของโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากเกินไป ซึ่งส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์จะให้ยา เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
5.ผ่าตัด
การผ่าตัดถือเป็นการรักษาขั้นสุดท้ายหลังจากการรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล โดยมักจะเป็นในกรณีที่ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงมาก ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาตัดบางส่วนของตับอ่อนออก
วิธีป้องกันไม่ให้ทารกน้ำตาลในเลือดต่ำ
เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำ มีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
1.ฝากครรภ์เนิ่นๆ
เมื่อรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้แพทย์ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2.ดูแลอาหารการกิน
ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่ และในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทานน้อยจนเกินไป ด้วยว่ากลัวว่าตนเองจะอ้วน เพราะอาจทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวน้อย
3.ออกกำลังกาย
คุณแม่ควรหาเวลาเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมให้น้ำหนักตัวไม่มากจนเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
4.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ในกรณีที่คุณแม่เป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในระดับปกติตลอดการตั้งครรภ์
5.พักผ่อนให้เพียงพอ
ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงช่วยลดความเหนื่อยล้าของร่างกาย และไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป เพียงลดความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้น
6.ให้นมแม่ทันที
หลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่ในทันที ซึ่งมีการศึกษามาแล้วว่าเด็กที่ได้กินนมแม่ในมื้อแรกนั้นมีโอกาสที่จะเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเด็กที่กินนมผสม
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น ย่อมดีกว่าการหาวิธีรักษาในภายหลัง ดังนั้นคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยไม่ให้ต้องตกอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งถ้าพบความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ในทันที
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.อึลูกน้อยบอกโรคได้ กับ การสังเกตสุขภาพของลูกน้อยจากอุจจาระ