การฟังเสียงทารกในครรภ์ นอกจากจะทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นกับการได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยแล้ว การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์นั้นก็ยังมีประโยชน์ต่อแพทย์ในการช่วยประเมินสุขภาพของลูกน้อยอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราก็จะพาคุณแม่ไปทำความเข้ากันว่าจะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ครั้งแรก เมื่อไหร่ และมีวิธีการฟังเสียงอย่างไรบ้าง

ได้ยินเสียงหัวใจลูกน้อยในครรภ์ เมื่อไหร่

หัวใจดวงน้อยค่อยๆ เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อทารกในครรภ์มีอายุได้ 2 สัปดาห์ และเมื่อทารกเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 หัวใจก็จะเริ่มทำงาน ทำให้เมื่อตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ คุณแม่คุณพ่อจะสามารถมองเห็นและได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ โดยในช่วงแรกนั้นอัตราการเต้นหัวใจของทารกจะเท่ากับอัตราการเต้นหัวใจของแม่ คือ ประมาณ 80-85 ครั้งต่อนาที แล้วหลังจากนั้นก็จะเพิ่มขึ้น และเต้นช้าลงตามแต่ช่วงอายุครรภ์ แต่ปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์นั้น จะมากกว่าของแม่ประมาณ 2 เท่านั่นเอง

วิธีฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์

สำหรับวิธีการฟัง แพทย์ก็จะมีเครื่องมือที่ช่วยในการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ดังต่อไปนี้

1.Real time sonography

การตรวจแบบ Real time sonography คือการตรวจอัลตราซาวด์แบบหนึ่ง ซึ่งภาพที่เห็นนั้นเกิดขึ้นจากการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป เพื่อตรวจดูอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้  เช่น การเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ โดยการตรวจด้วยวิธีนี้สามารถทำได้เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป

2.Ultrasonic Doppler

เครื่อง Ultrasonic Doppler เป็นเครื่องเสียงความถี่สูง ที่แพทย์นำมาช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยการตรวจด้วยเครื่องจะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจของทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10-12 สัปดาห์ขึ้นไป

3.หูฟังแพทย์

Stethoscope หรือหูฟังของแพทย์นั่นเอง แพทย์สามารถใช้หูฟังธรรมดานี้ ฟังเสียงหัวใจของทารกที่มีอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ขึ้นไปได้ โดยแพทย์จะแนบหูฟังลงบนท้อง ก็จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังตุบๆ ที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอและชัดเจน

4.Echocardiography

อีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยตรวจประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องเสียงความถี่สูง และทำให้คุณแม่ได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือนี้ได้ตั้งแต่ 48 วันหลังประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

ฟังเสียงหัวใจลูก จากตำแหน่งไหนของท้องแม่

การฟังเสียงหัวใจช่วยทำให้ทราบถึงท่าทางขณะอยู่ในครรภ์ การมีชีวิตอยู่ของลูก รวมถึงการตั้งครรภ์แฝด โดยตำแหน่งที่จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจของลูกนั้นขึ้นอยู่กับส่วนนำและท่าทางของทารก ในกรณีที่ก้นเป็นส่วนนำของทารก เสียงหัวใจจะอยู่เหนือระดับสะดือ แต่ถ้าทารกมีส่วนนำเป็นศีรษะ เสียงหัวใจจะอยู่ในระดับต่ำกว่าสะดือ

นอกจากนี้ หากท้ายทอยทารกอยู่ทางด้านหน้าข้างขวาของช่องเชิงกรานคุณแม่ จะทำให้ตำแหน่งที่จะได้ยินเสียงหัวใจทารกอย่างชัดเจนนั้น คือด้านขวาล่างของหน้าท้องคุณแม่ และถ้าท้ายทอย อยู่ทางด้านหน้าข้างซ้ายของช่องเชิงกราน คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจชัดเจนที่ ตำแหน่งด้านขวาซ้ายของหน้าท้องคุณแม่ และบริเวณที่จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจลูกน้อยชัดเจนที่สุด ก็คือบริเวณสะบักซ้ายของทารกนั่นเอง

ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก เกิดจากอะไร อันตรายไหม

สาเหตุที่ทำให้ไม่ได้ยินเสียงหัวใจของลูกนั้น เกิดชึ้นได้หลายประการ ดังต่อไปนี้

1.อายุครรภ์คาดเคลื่อน

Sponsored

ในกรณีที่คุณแม่ไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้เกี่ยวกับวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย อาจส่งผลให้การคำนวณอายุครรภ์คลาดเคลื่อนได้ เช่นอายุครรภ์จริงเพียงแค่ 8 สัปดาห์ แต่เข้าใจว่าตนเองตั้งครรภ์มา 12 สัปดาห์แล้ว ทำให้การตรวจหาเสียงหัวใจของทารกนั้นทำได้ยาก

2.ตำแหน่งทารกในครรภ์

เนื่องจากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ทารกมีขนาดตัวเล็ก ซึ่งวางอุปกรณ์ในการฟังเสียงได้ไม่พอดีกับตำแหน่งของหัว ใจก็อาจส่งผลทำให้ไม่ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจลูก

3.ตำแหน่งของมดลูก

การตรวจหาเสียงหัวใจของทารกในคุณแม่ที่มีปัญหามดลูกหงายนั้น ทำได้ยาก จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกนั่นเอง

4.ชั้นไขมันของคุณแม่หนาเกินไป

คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวส่วนเกินมาก เมื่อทำการตรวจหาเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ อาจทำให้เครื่องมือจับเสียงหัวใจได้ยากกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวปกติ

5.อุปกรณ์ช่วยในการฟังเสียงไม่เหมาะสม

การซื้ออุปกรณ์เพื่อช่วยฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์มาใช้นั้น คุณแม่ต้องสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเครื่องก่อน เช่น อุปกรณ์ใช้งานเหมาะกับอายุครรภ์เท่าไหร่ รวมทั้งการใช้งานต่างๆ เพราะอุปกรณ์แต่ละชนิดจะช่วยให้ได้ยินเสียงหัวใจในแต่ละช่วงอายุครรภ์ต่างกัน รวมทั้งการวางตำแหน่งของอุปกรณ์เพื่อหาตำแหน่งของหัวใจได้อย่างถูกต้อง

สาเหตุข้างต้นนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ ที่จะทำให้ไม่ได้ยินเสียงทารก และแน่นอนว่าก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าลูกในครรภ์จะเป็นอันตรายหรือไม่ ซึ่งยังมีวิธีอื่นอีกที่ช่วยตรวจสอบความปลอดภัย เช่น ใช้วิธีการนับการดิ้นของลูก ซึ่งสามารถทำได้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ถ้าพบว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หลังการตรวจพบว่าไม่ได้ยินเสียงหัวใจเต้นแล้ว เช่น มีเลือดออก คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอัลตราซาวด์ดู ว่ามีความผิดปกติใดเกิดขึ้นหรือไม่ จะได้รักษาได้ทันนั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.โครงการ Falcon Sharing Café มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

2.รองผกก. โวยลั่น รพ.ทำหลานแรกคลอดขาหัก หมอออกมายอมรับแล้ว