อาการสายตาขี้เกียจ การมองเห็นของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญที่ คนเป็นแม่ไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยวางได้ การที่ลูกน้อยเกิดภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็นแม้เป็นเพียงดวงตาข้างเดียวก็อาจจะสร้างความเครียดให้คุณแม่ได้มากเลยใช่ไหมค่ะ ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่สบายใจและสามารถรับมือกับอาการของลูกน้อยได้ วันนี้เรามีแนวทางในการป้องกันและวิธีรักษาของโรคสายตาขี้เกียจมาฝากค่ะ
อาการสายตาขี้เกียจโดยทั่วไป
อาการสายตาขี้เกียจมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ซึ่งอาจจะพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็ได้เช่นกัน ลักษณะอาการของโรค จะสังเกตได้ว่าตาทั้ง 2 ข้างไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ เนื่องจากมีภาวะความผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลูกตาทั้ง 2 ข้างขาดการประสานงานกันเช่นคนที่มีตาปกติ โดยตาดำข้างใดข้างหนึ่งจะมีการเขเข้าด้านในทางหัวตาเป็นส่วนใหญ่ค่ะ หรือบางครั้งคุณแม่จะพบว่าตาเขออกด้านนอกทางหางตา ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของเด็กแต่ละคน
ผลเสียของอาการสายตาขี้เกียจ
ผลเสียที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด นั่นคือ จะทำให้เด็กเสียบุคลิกภาพ ดูไม่สวยงาม รู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย เด็กที่มีภาวะความผิดปกติเช่นนี้มักจะไม่ค่อยสู้หน้าผู้คน โดยเฉพาะในบางรายที่มีภาวะตาเขขึ้นด้านบน หรือเขลงด้านล่าง ซึ่งเด็กบางคนอาจจะหันหน้า เอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ก็ทำให้ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ค่ะ
นอกจากนี้การมองเห็นยังด้อยกว่าคนที่มีสายตาปกติอีกด้วย เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกัน หรือที่เรียกว่าต่างคนต่างทำ ส่งผลให้ต้องใช้เพียงตาข้างเดียวเป็นหลักเพื่อมองหาวัตถุขนาดเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้การทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีมากนักนั่นเองค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่มีความผิดปกติเช่นนี้จะไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่จำเป็นต้องใช้ดวงตาทั้งสองข้างเพื่อมองภาพให้ชัดเจน และได้ทุกมิติ หากคุณแม่ปล่อยเอาไว้แบบนี้ต่อไป อาจทำให้ถึงขั้นตาบอดได้
แนวทางป้องกันภาวะสายตาขี้เกียจ
- คุณแม่ต้องเริ่มสังเกตความผิดปกติของลูกตั้งแต่แรกคลอด โดยดูจากลักษณะขนาดของตาทั่วไปว่าปกติดีอยู่หรือไม่ มีอะไรมาปกปิดตาดำของเด็กหรือ ซึ่งคุณแม่จะต้องเป็นผู้สังเกตด้วยตัวเองในทุกวัน
- เมื่อลูกน้อยอายุได้ 2 – 3 เดือน คุณแม่ต้องคอยสังเกตต่อว่า ลูกจ้องหน้าแม่เวลาดูดนมหรือไม่ แต่ถ้าลูกไม่ยอมมองหน้า หรือสบตา คุณแม่ตั้งรีบพาไปปรึกษาแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
- เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน ควรจ้องมองตามวัตถุได้ โดยตาของเด็กปกติจะจ้องนิ่ง ๆ ได้ หลักการมองก็คือ เมื่อลูกมองวัตถุ ตาจะต้องอยู่ตรงกลาง ตานิ่งจับวัตถุ หรือที่เรียกกันว่า “CGM (Central/ตาดำที่มองวัตถุต้องอยู่ตรงกลาง, Good/ตาต้องมองจ้องภาพวัตถุตรงหน้า, Maintain/ตาจับนิ่งกับวัตถุ)” ถ้าลูกน้อยไม่สามารถทำได้ แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ค่ะ
- เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกน้อยมองภาพต่างๆ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อตา และปรับสายตาให้เป็นปกติได้ โดยการหารูปภาพสัตว์ที่ลูกคุ้นเคย ขนาดต่างๆ กัน สามารถวัดระดับการมองเห็นของลูกได้ หากพบความผิดปกติ ก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
วิธีการรักษาอาการสายตาขี้เกียจ
- การรักษากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
ถ้าคุณแม่สังเกตว่าลูกเริ่มเกิดภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา หรือ พบว่าทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการมอง แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเฝ้าติดตามดูอาการไปเรื่อย ๆ เพราะถ้าไม่มีสาเหตุที่ผิดปกติอย่างชัดเจน อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้น และไม่สามารถหายไปได้เมื่ออายุได้ 6 เดือนไปแล้วยังไม่หาย คุณแม่ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด และอาจจะดูโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุอาจเกิดมาจาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ตาเขและจำเป็นต้องได้รับการแก็ไขหรือรักษาให้หายเสียก่อน ซึ่งเด็กจะได้รับตรวจคัดกรองอาการตาเขเป็นระยะ ตั้งแต่ 2 – 3 เดือน
- การรักษากลุ่มเด็ก 1 – 2 ปี
อาการสายตาขี้เกียจที่พบในเด็กเล็ก คุณแม่ต้องคำนึกไว้เลยว่า อาจจะมีสาเหตุความผิดปกติอื่น ๆ ที่ซ้อนอยู่ และควรได้รับการรักษาก่อนอายุ 2 ปี คุณแม่ก็อย่านิ่งนอนใจไปนะคะว่า ลูกน้อยของคุณตอนนี้โตแล้ว อาการเหล่านี้ก็น่าจะหายไปได้เอง แต่ความเป็นจริง อาการที่แฝงอยู่อาจจะยังไม่แสดงออกมาให้คุณเห็นก็ได้ ฉะนั้นคุณแม่ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที เพื่อป้องกันอาการของโรครุนแรงขึ้นจนไม่อาจแก้ไขได้
ในปัจจุบันการรักษาอาการสายตาขี้เกียจที่เห็นผลนั้น อาจจะเป็นวิธีที่อันตราย แต่ก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยหายจากอาการดังกล่าวได้ ซึ่งวิธีการรักษานั้นก็คือ “การผ่าตัด” ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันทุกขั้นตอนได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและถือว่ามีความปลอดภัยอย่างมาก เพราะการดมยาสลบในเด็กเล็กมีความปลอดภัยสูงขึ้น ส่วนผลการผ่าตัดนอกจากจะช่วยให้เด็กตาตรงเป็นปกติแล้ว ยังทำให้เด็กมีพัฒนาการในการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์เหมือนคนปกติอีกด้วยนะคะ
- การรักษากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
สำหรับวิธีการรักษาในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี แพทย์อาจจะทำเพียงแค่ประคับประคองเรื่องสายตา (Visual Acuity) ของสายตาทั้ง 2 ข้างให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วค่ะว่า เด็กที่มีภาวะความผิดปกติทางสายตานั้น อาจจะส่งผลเสียทำให้สายตาเสื่อมลงเรื่อย ๆ ได้ จนถึงระยะใช้การไม่ได้ ทำให้ตาข้างดังกล่าว ไม่สามารถมองเห็นภาพได้อีกต่อไป ดังนั้นแพทย์จึงพยายามให้เด็กใส่แว่นสายตาชนิดเลนส์นูนที่ตรงกับค่าสายตา และต้องพยายามให้เด็กสวมแว่นตาเมื่ออายุได้ 2 – 3 ปี (คุณแม่ไม่ต้องแปลกใจไปนะคะ เพราะเด็กจำเป็นต้องใส่แว่นเพื่อให้ตาทั้ง 2 ข้างเห็นได้ชัดเจนขึ้น) นั่นเพราะจะทำให้เด็กสบายตา แต่ในระยะเริ่มแรกที่ตรวจสายตาอาจจะไม่แน่ชัด คุณแม่ควรพยายามให้ลูกได้ใช้ตาทั้งสองข้างสลับกัน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อตา วิธีนี้จะปิดตาข้างที่ดีเอาไว้วันละหลายชั่วโมง เพื่อให้ตาข้างที่เขได้ทำหน้าที่บ้าง
ภาวะความผิดปกติของสายตาสามารถรักษาให้หายได้แต่เนิ่น ๆ หากปล่อยเอาไว้นานการรักษาอาจไม่ได้ผล คุณแม่จะต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบอาการผิดปกติกับลูกน้อย พัฒนาการของลูกจะดีได้ ขึ้นอยู่กับการดูแลใส่ใจของทุนคนในครอบครัวนะคะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์