ปวดหัวเข่าคืออาการที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อหัวเข่า ซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย อาการปวดหัวเข่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ พบมากในผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ การรักษาอาการปวดหัวเข่าจะต้องรักษาตามอาการ และการวินิจฉัยของแพทย์ หากมีอาการปวดหัวเข่าควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและตรงจุด ปวดหัวเข่า เกิดจากอะไร มาดูสาเหตุ พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดที่ได้ผลชัวร์ที่เราได้นำมาฝาก ในบทความนี้กันเลยดีกว่า
ปวดหัวเข่า เกิดจากอะไร?
อาการปวดหัวเข่า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักคือการได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า และการที่ข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ ปวดหัวเข่า ได้ดังนี้
1.ปวดเข่าที่เกิดจากอาการบาดเจ็บ
อาการ ปวดหัวเข่า อาจจะเกิดขึ้นได้จากอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าอย่างเช่น เอ็น กระดูก กระดูกอ่อน หรือ ถุงของเหลวหล่อลื่นข้อต่อ โดยอาการบาดเจ็บมักพบได้ดังนี้
- ข้อเคล็ด และกล้ามเนื้อฉีก (Sprains and Strains) อาการข้อเคล็ดกล้ามเนื้อฉีก เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้เมื่อข้อต่อกล้ามเนื้อถูกเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว การลงน้ำหนักผิด หรือการถูกกระแทกอย่างแรงเป็นต้น
- โรคเอ็นสะบ้าอักเสบ (Patellar Tendinitis)เกิดจากอาการบาดเจ็บเอ็นที่ยึดกับกระดูก ตั้งแต่บริเวณสะบ้าไปจนถึงหน้าแข้ง ที่ควบคุมกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า ทำให้สามารถยืดงอเข่าได้ อาการนี้มักพบในนักกีฬาที่ต้องใช้การกระโดด
- การอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสีในเข่า (Knee Bursitis) เกิดจากถุงน้ำที่ทำหน้าที่ลดการเสียดสี และกระแทกระหว่างกระดูก และเอ็นบริเวณเข่าเกิดการอักเสบ ส่งผลทำให้เข่าเคลื่อนไหวได้ลำบาก และเจ็บบริเวณหัวเข่า
- กระดูกหัก อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และผู้ที่ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
2.ปวดเข่าที่เกิดจากโรคไขข้อชนิดต่างๆ
ไขข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนมากมักจะส่งผลทำให้เกิดอาการ ปวดเข่า อย่างรุนแรง โดยโรคไขข้อเสื่อมมักพบได้ดังนี้
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)คือหนึ่งในโรคของกลุ่มโรคไขข้ออักเสบที่พบได้ทั่วไป สาเหตุมาจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่ปลายกระดูก ซึ่งเป็นส่วนของข้อต่อไม่ว่าจะเป็น เข่า มือ เอว และกระดูกสันหลังเป็นต้น หากเกิดขึ้นบริเวณหัวเข่าจะทำให้รู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว หรือใช้แรงกดไปที่เข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และผู้สูงอายุ
- โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คือการอักเสบชนิดเรื้อรัง เกิดขึ้นตามข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวเลือกทำลายเนื้อเยื่อผิวข้อต่อแทนที่จะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเช่น ไวรัส หรือแบคทีเรีย และเมื่อเยื่อข้อต่อถูกทำลายก็จะเกิดการอักเสบขึ้น
- โรคเก๊าท์ คือโรคไขข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายผลิตกรดยูริคในปริมาณที่มากเกินไป หรือไตไม่สามารถขับกรดยูริคได้ ส่งผลทำให้เกิดการสะสมกลายเป็นผลึกเล็ก ๆ ส่วนมากจะเกิดกับบริเวณข้อต่อ ส่งผลทำให้ข้อต่ออักเสบ และรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง ข้อต่อบวม ปวดหัวเข่า ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า เข่า เป็นต้น
วิธีรักษาและบรรเทาอาการปวดเข่า
การรักษาอาการ ปวดหัวเข่า สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และอาการของผู้ป่วย โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การรักษาโดยการใช้ยา
โดยแพทย์จะทำการจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวด และรักษาโรค ปวดเข่า ที่เรื้อรังอย่างเช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊า เป็นต้น
การรักษาโดยการฉีดยา
การรักษาอาการ ปวดหัวเข่า บางครั้งแพทย์จะรักษาโดยการฉีดยาเข้าไปบริเวณเข่าโดยตรง เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ ยาที่ใช้ในการฉีดรักษาก็จะมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และอาการของผู้ป่วย
การรักษาโดยการผ่าตัด
แม้ว่าแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วย ปวดหัวเข่า เข้ารับการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่อาการ ปวดเข่า ไม่ใช่อาการที่ต้องรับการผ่าตัดโดยทันที ผู้ป่วยสามารถศึกษาผลกระทบของการรักษาก่อนตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด โดยการผ่าตัดจะมีหลากทางเลือกเช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนคือการผ่าตัดเพื่อนำข้อเข่าเทียมซึ่งอาจจะเป็นโลหะ หรือพลาสติกมาทดแทน และการผ่าตัดที่ใช้กล้องแผลเล็ก สอดเครื่องมือเล็ก ๆ ที่มีกล้องเข้าไปดูความผิดปกติ และซ่อมแซมข้อเข่า หรือนำเศษกระดูกอ่อนที่ขาออกมา
การรักษาด้วยวิธีทางธรรมชาติ
การรักษาอาการ ปวดหัวเข่า ด้วยวิธีทางธรรมชาติ สามารถทำได้โดยการใช้สมุนไพรหลายชนิดมาเป็นตัวยาในการรักษาไม่ว่าจะเป็น โสม เห็ดหลินจือ ตังกุย ขมิ้น เจียวกูหลาน เป็นต้น
การป้องกันอาการปวดเข่า
เราสามารถป้องกันอาการ ปวดหัวเข่า ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ไม่ทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้ข้อเข่าเยอะเกินไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็น การขึ้นลงบันได การนั่งยอง ๆ การนั่งพื้น การนั่งเก้าอี้ที่เตี้ยเกินไปเป็นต้น
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดภาระให้ข้อเข่า
- ออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อให้กับต้นขา และสะโพก รวมทั้งบริหารเข่าเป็นประจำด้วยการเดินในน้ำ
- หากมีอาการ ปวดหัวเข่า ขึ้นมาอย่างผิดปกติ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น เข่าบวม มีรอยช้ำ หรือไม่สามารถเหยียด หรืองอเข่าได้ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาให้ถูกต้องตามอาการ ยิ่งพบเร็ว ยิ่งรักษาง่าย
อาการ ปวดหัวเข่า ข้อต่อ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ เพราะเป็นการเสื่อมตามวัย เพราะฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหัวเข่าควรสังเกตตัวเอง และรีบไปพบแพทย์ เพราะหากเกิดจากโรค ที่ส่งผลเสียรุนแรง จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที ยิ่งพบเร็ว ยิ่งรักษาง่าย
= = = = = = = = = = = =