ลูกชอบแหวะนม เด็กทารกมักจะ แหวะนม ได้บ่อยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากระบบย่อยอาหารของทารก กำลังปรับตัวเข้ากับกระบวนการรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย

ลูกชอบแหวะนม

เพราะก่อนหน้านี้ เด็กทารกเคยชินกับการได้รับอาหารผ่านทาง สายสะดือ แต่ตอนนี้พวกเข้าต้องย่อยอาหาร ที่กินเข้าไปทางปาก ทารกยังแหวะหรืออาเจียนได้ เวลาถูกกระทบกระแทก เวลาที่ดูดนมมากเกินไป เมื่อดูดเอาออกมาประมาณหนึ่งช้อนชา ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องตื่นกลัว หากลูกของคุณไม่ได้อาเจียนออกมาอย่างรุนแรง

  • คุณแม่ทีมคนท้อง อาจลองให้ลูกของคุณ ดูดนมก่อนที่จะหิวจัด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกดูดนมมากและเร็วจนเกินไปการหยุดพักเรอ ลองจับลูกของคุณ เรอ ก่อนที่จะให้ลูกเริ่มดูดนมอีกเต้าหนึ่ง หรือหลังจากดูดนมจากขวดไปเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ลูก ขับลม ในท้องที่เพิ่งจะกลืนเข้าไปขณะดูดนม
  • คุณแม่ทีมคนท้อง ลองอุ้มลูกให้ถูกท่า อุ้มลูกให้นั่งหลังตรง หลังจากดูดนมเสร็จแล้ว เพื่อป้องกันการอาเจียน และ ช่วยในการย่อยอาหาร อุ้มให้มั่นคง อย่าให้ลูกกระทบกระเทือนมากหลังจากดูดนม
  • คุณแม่ทีมคนท้อง ควรสังเกตขนาดรูที่จุกนม หากคุณให้ลูกดูดนมจากขวด ให้ตรวจดูขนาดรูที่จุกนมว่ารูไม่ได้ใหญ่ หรือ เล็กจนเกินไป
  • คุณแม่ทีมคนท้อง ควรตรวจดูน้ำหนักตัวลูก ชั่งน้ำหนักตัวลูกสัปดาห์ละครั้ง เพื่อ ดูว่าลูกของคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง คุณอาจใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก สำหรับเด็กหรือใช้วิธีชั่งน้ำหนักลูกพร้อมแม่ แล้วค่อยหักน้ำหนักของแม่ออกทีหลัง หากคุณมีความกังวนเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักของตัวลูก ควรปรึกษาแพทย์
  • คุณแม่ทีมคนท้อง ควรสังเกตสีของน้ำนม หากน้ำนมที่ลูกของคุณอาเจียนออกมามีสีเขียว คุณควรพาลูกไปพบแพทย์
  • คุณแม่ทีมคนท้อง ต้องให้เวลาปรับตัวทั้งคุณและลูก จำไว้เสมอว่า ระบบย่อยอาหารของลูกต้องการเวลาในการปรับตัว โดยทั่วไปอาการแหวะนม หรือ อาเจียนจะดีขึ้นก่อนอายุ 6 เดือน ในเด็กบางคนอาจเร็วกว่านั้น

ข้อแนะนำจากคุณหมอ

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักเวลาแหวะนม

  • อย่าจับลูกตั้งขึ้น ให้จับลูกวางนอนตะแคง ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่าเล็กน้อย เพื่อให้น้ำนมไหลออกมาข้างนอก ไม่สำลักเข้าหลอดลมและปอด และและถ้ามีน้ำนมค้างอยู่ในรูจมูก ก็ให้เช็ดออกเพื่อป้องกันการสำลักนม
  • ปัญหานี้จะค่อยๆ หายไปเองตามธรรมชาติเมื่อเด็กอายุได้ 3 – 4 เดือน แต่ถ้ามีอาการทุกมื้อ มีปัญหาน้ำหนักลด หรือไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ ควรต้องนำไปพบกุมารแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

Sponsored

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์