คุณแม่หลังคลอดหลายคนกำลังเจอกับปัญหานี้ ภาวะลูกตัวเหลือง และทำให้เกิดความกลัว ความกังวลใจว่าถ้าอย่างนี้แล้ว ลูกตัวเหลืองหลังคลอด อันตรายไหม ตัวเหลืองเกิดจากอะไร รวมถึงจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข ลูกตัวเหลืองหลังคลอด
มาเริ่มต้นดูกันว่า ลูกตัวเหลืองหลังคลอดอันตรายไหม กันค่ะ “ภาวะทารกตัวเหลือง” ต้องบอกว่าภาวะนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดโดยสาเหตุเกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลืองในทารกปกติ จะมีสารบิลิรูบินนี้จะมีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลือง จะมีสารบิลิรูบินในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะอยู่ทั้งในกระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เรามองเห็นว่าทารกมีผิวสีเหลืองขึ้น
สาเหตุเกิดจากอะไร
ภาวะทารกตัวเหลืองเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ทารกตัวเหลืองจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ จากการที่หมู่เลือดของแม่และลูกเข้ากันไม่ได้ เม็ดเลือดแดงของลูกจึงถูกทำลาย ทำให้ระดับของ บิลิรูบินในเลือดเพิ่มสูงเกินระดับปกติ กับอีกหนึ่งสาเหตุคือ ทารกตัวเหลืองจากนมแม่ ทารกที่ทานนมแม่จะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะสารบิลิบินรูสูงจะค่อยๆ ลดระดับลงเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์
การป้องกันไม่ให้ทารกตัวเหลือง
เริ่มที่คุณแม่ควรให้นมทารกอย่างถูกต้อง นั่นคือ ให้นมทารกหลังคลอดตั้งแต่อยู่ในห้องคลอด และให้นมทารกอย่างเดียวประมาณ 10 – 12 ครั้งต่อวัน เพื่อช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้ ทั้งนี้ภาวะตัวเหลืองอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง และยังพบว่า 25% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะไอคิวต่ำในทารกได้อีกด้วย
การรักษาทารกตัวเหลือง
รักษาทารกตัวเหลืองต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง ด้วยการส่องไฟรักษาเพื่อกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย หรือรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงมาก ส่วนทารกตัวเหลืองจากนมแม่ควรให้ดูดนมแม่ให้มากที่สุด ให้ถ่ายอุจจาระบ่อยที่สุด เพื่อช่วยขับสารเหลืองออกทางลำไส้ให้เร็วที่สุดนั่นเอง
อาการตัวเหลืองหลังคลอด อาจเกิดได้กับทารกแทบทุกคน แต่หากทำตามคำแนะนำของแพทย์ และรักษาในทันที อาการตัวเหลืองก็จะหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว
= = = = = = = = = = = =