อาการเลือดออกเป็นจ้ำๆ ตามตัว และส่วนอื่นๆ ในร่างกายนั้น ไม่ใช่เรื่องปกติแน่ และเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นวันนี้เราจะมารู้จักโรคนี้ให้ลึกซึ้งขึ้น ตั้งแต่อาการของโรค การรักษาและดูแลเมื่อเด็กเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ
โรคเกล็ดเลือดต่ำในเด็ก เกิดจากอะไร
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำในเด็กนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. ในกรณีที่โรคเกิดในทารกแรกเกิดนั้น มักมีสาเหตุมาจากแม่มีภาวะรกเสื่อม ทำให้ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีเกล็ดเลือดต่ำหรือเลือดหนืด จึงส่งผลทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก รวมทั้งไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ จึงทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น
2. ติดเชื้อไวรัส โดยเมื่อลูกติดเชื้อไวรัส ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ต่อเกล็ดเลือดของตนเอง และเมื่อม้ามเข้าทำลายเกล็ดเลือด จะทำให้จำนวนของเกล็ดเลือดต่ำลง และเกิดอาการเลือดออกได้
3. ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดได้น้อย เนื่องจากเป็นโรคบางชนิด ทำให้ร่างกายต้องได้รับยาที่ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่นโรคมะเร็ง โรคโลหิตจาง ภาวะกระดูกฝ่อ เป็นต้น
โรคเกล็ดเลือดต่ำ อันตรายมากแค่ไหน
โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือไอทีพีนี้ มักเกิดในเด็กที่มีอายุ 2-6 ปี เป็นไอทีพีแบบชนิดเฉียบพลัน โดยเมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้โรคสงบและใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ถ้าพบโรคนี้ครั้งแรกในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10ปีขึ้นไป อาจเป็นโรคไอทีพีแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำนั้น สามารถส่งผลถึงกับชีวิต โดยเฉพาะกับเด็กที่มีภูมิต้านทานน้อย ซึ่งเมื่อมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับอวัยวะภายใน และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันถ่วงที ก็ทำให้เสียชีวิตได้
วิธีสังเกต ลูกน้อยเกล็ดเลือดต่ำ
คุณแม่สามารถสังเกตอาการที่เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำได้ดังนี้
1. เป็นจ้ำเลือดตามตัว สีม่วงปนสีเหลือง เหมือนรอยฟกช้ำทั้งที่ร่างกายไม่ได้ไปกระแทกกับอะไร
2. มีจุดเลือดเล็กๆคล้ายยุงกัด ขึ้นตามแขนขาเป็นสิบจุด
3. เลือดกำเดาไหลบ่อยและหยุดยาก โดยเลือดออกนานกว่า 15 นาที
4. เลือดออกในช่องปาก เช่นตามเยื่อบุช่องปาก ไรฟัน
5. คลำเจอก้อนแข็งๆในท้อง
6. ปัสสาวะเป็นเลือด และอุจจาระมีสีดำ
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษานั้น แพทย์จะพิจารณาจากอาการและสาเหตุของโรค ดังต่อไปนี้
1. ในกรณีที่มีอาการไม่มาก โดยจำนวนเกล็ดเลือดไม่ได้ต่ำมาก และไม่มีเลือดออก ซึ่งถ้าปล่อยไว้ อาการก็จะหายเองได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องทำการรักษา
2. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งยาตัวนี้ช่วยออกฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเกล็ดเลือด จึงช่วยเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดให้มากขึ้น
3. ตัดม้าม โดยปกติแล้วม้ามมีหน้าที่ป้องกันโรคและจัดการเม็ดเลือดที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อไม่มีม้าม เกล็ดเลือดก็จะไม่ถูกทำลาย และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การตัดม้ามทิ้งก็มีข้อเสียคือทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่นเป็นโรคปอดบวม ดังนั้นผู้ป่วยที่เลือกวิธีนี้จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพหลังตัดม้ามเป็นอย่างดี
4. รักษาด้วยวิธี IVIG วิธีนี้เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับแอนติบอดีในร่างกาย ช่วยให้เกล็ดเลือดไม่ถูกทำลายลง จึงช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดได้รวดเร็วกว่าวิธีอื่นๆ
คำแนะนำในการดูแลลูกน้อย
นอกจากการรักษาโดยแพทย์แล้ว ยังมีคำแนะนำอื่นๆในการดูแลลูกน้อย ดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ในระหว่างการรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำนี้ คุณแม่ควรบอกลูกให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่นการทานยาอย่างสม่ำเสมอ
2. ระวังการกระแทก
กิจกรรมบางชนิด อาจทำให้เกิดการกระแทรกที่รุนแรง และทำให้เลือดออกได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง เช่น การนั่งมอเตอร์ไซด์โดยไม่สวมหมวกกันน็อก เพราะอาจทำให้ล้ม ศีรษะฟาดพื้น เลือดออกได้ รวมทั้งการปีนเล่นในที่สูง การใช้ของมีคม เหล่านี้มีโอกาสที่จะทำให้เลือดออกได้ คุณแม่จึงต้องคอยระวังการเล่นของลูกด้วย
3. เลือกเล่นกีฬาที่ปลอดภัย
กีฬาบางชนิดเมื่อเล่นแล้ว อาจทำร่างกายฟกช้ำและเลือดออกได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงเช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ฟุตบอล รักบี้ เป็นต้น และหันมาเล่นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่า เช่นว่ายน้ำ
4. เลือกของเล่นพลาสติก
การเลือกของเล่นของลูกก็สำคัญ เพราะถ้าลูกพลาดพลั้งขึ้นมาอาจทำให้ลูกเลือดออกได้ จึงควรเลือกของเล่นที่ทำจากพลาสติก ไม่แหลมคม จนเป็นอันตรายกับลูก
5. ดูแลเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน
โต๊ะ ตู้ เตียงต่างๆที่อยู่ในบ้าน มักมีมุมแหลมคม ซึ่งถ้าเด็กๆวิ่งซนกันในบ้าน อาจพลาดไปชนจนเลือดออกได้ ดังนั้นคุณแม่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์มาติดเพื่อป้องกันการกระแทกนี้
6. แจ้งทันตแพทย์ทุกครั้ง
เมื่อต้องพาลูกไปทำฟัน ไม่ว่าจะอุดฟัน ถอนฟัน ฉีดยาหรือผ่าตัด คุณแม่ต้องไม่ลืมแจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคเกล็ดเลือดต่ำที่ลูกเป็น เพื่อให้แพทย์ได้ทราบข้อมูล และระวังการทำฟันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเลือกแปรงสีฟัน คุณแม่ควรเลือกแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และแปรงอย่างเบามือ
7. เลือกใช้ยาลดไข้ แก้ปวด
เมื่อลูกเป็นไข้ และคุณแม่ต้องการใช้ยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด ควรเลือกใช้ยาพาราเซตามอล แทนการใช้ยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และเลือดไม่แข็งตัวได้
เมื่อสงสัยว่าอาการลูกเข้าข่ายจะเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายถึงชีวิต และยังเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วย
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..