เจาะลึกการทำหมัน การทำหมันจึงเป็นทางเลือกที่ดีและแนะนำให้อยู่เสมอ สำหรับคุณแม่ที่ไม่ต้องการเพิ่มสมาชิกในครอบครัวแล้ว ทำให้คุณแม่หลายท่านเกิดความกังวล และต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหมันว่ามีผลดี หรือผลเสียมากกว่ากัน สำหรับคุณแม่ท่านใดที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องนี้ ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปค่ะ เพราะวันนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับการทำหมันให้คุณแม่ทุกท่านได้เข้าใจถึงวิธีการและผลที่ได้จากการทำหมันครั้งนี้ จะดีหรือไม่ดีอย่างไรมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

เจาะลึกการทำหมัน

ทำความรู้จักกับการทำหมันหญิง

การทำหมันหญิง (Tubal ligation หรือ Female surgical sterilization) ถือเป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ การทำหมันหญิงนั้น มีด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ การทำหมันหลังคลอด (หรือเรียกอีกอย่างว่า “การทำหมันเปียก”) และการทำหมันปกติ (หรือเรียกอีกอย่างว่า “การทำหมันแห้ง”)

  1. การทำหมันหลังคลอด (ทำหมันเปียก)

คุณแม่บางท่านที่มีความประสงค์จะทำหมันหลังจากคลอดบุตรคนที่สองทันที แพทย์ส่วนมากจึงแนะนำ วิธีการทำหมันหลังคลอดนี้ เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการทำหมันนั่นเอง การทำหมันหลังคลอดเป็นการทำหมันภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด นิยมทำในช่วง 48 ชั่วโมงหลังคลอดค่ะ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำได้ง่าย แผลผ่าตัดเล็ก เนื่องจากมดลูกยังขยายตัวอยู่ จึงทำให้สามารถหาท่อนำไข่ทั้งสองข้างได้ง่าย วิธีการที่ทางการแพยท์นิยมคือ การผูกท่อนำไข่ และตัดท่อนำไข่บางส่วนออกทั้งสองข้างโดยลงแผลผ่าใต้สะดือ ขนาดของแผลจะมีความยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตรเท่านั้น

  1. การทำหมันปกติ (ทำหมันแห้ง)

คุณแม่อาจจะใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวอย่างเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด การฉีดยาคุมกำเนิด และการฝั่งยาคุมกำเนิด จึงทำให้ต้องเลือกวิธีการทำหมันปกติ ซึ่งการทำหมันแบบปกติ เป็นการทำหมันในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใช่ 6 สัปดาห์หลังคลอด มดลูกจะมีขนาดปกติและอยู่ในอุ้งเชิงกราน วิธีการทำหมันแบบนี้จึงมีความยากกว่าวิธีแรกค่ะ เพราะหาท่อนำไข่ยากมากกว่าการทำหมันหลังคลอด วิธีการทำหมันแบบนี้ยังสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ การผ่าตัดหน้าท้อง โดยการลงแผลผ่าตัดบริเวณเหนือหัวหน่าว แล้วหาท่อนำไข้ เพื่อทำการผูกและตัดท่อนำไข่บางส่วนออกทั้ง 2 ข้างค่ะ อีกวิธีหนึ่ง คือ การผ่าตัดผ่านกล้อง โดยลงแผลผ่าตัดขนาดเล็ก 2 – 3 แผล แล้วใช้จี้ไฟฟ้าจี้ท่อนำไข่ ร่วมกับตัดท่อนำไข่ทั้งสองข้างออกบางส่วน หรืออาจใช้อุปกรณ์รัดท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ซึ่งวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องนั้นก็มีข้อจำกัดเช่นกันค่ะ นั่นคือ ต้องดมยาสลบ นอนในท่าศีรษะต่ำ และต้องใส่ก๊าซในช่องท้องระหว่างการผ่าตัด ซึ่งเป็นข้อห้ามในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต

การทำหมันมีผลต่อคุณแม่ให้นมลูกหรือไม่

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่อาจจะเกิดคำถามในใจว่า การทำหมันนั้น ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย และมีผลกระทบต่อการให้นมลูกหรือไม่ อย่างไร สำหรับความสงสัยนี้ เราต้องขอบอกเลยค่ะว่า คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่นั้น ไม่ว่าคุณจะทำหมันแบบใด ก็ไม่มีผลใด ๆ กับการให้นมลูกเลยแม้แต่น้อยค่ะ เพราะการทำหมันไม่มีผลข้างเคียงต่อกระบวนการสร้างน้ำนม การผลิตน้ำนม รวมถึงการขับน้ำนมไปยังลูกน้อย คุณแม่ที่กำลังกังวลในเรื่องนี้ก็คงจะเบาใจแล้วนะคะ

แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวก่อน และหลังจากทำหมัน

Sponsored
  • ในบางครั้ง หรือสถานพยาบาลบางแห่ง อาจจะใช้ยาสลบ หรือยาฉีดให้สลบ คุณแม่ที่กำลังจะเข้าผ่าตัดแนะนำให้งดน้ำ งดอาหารต่อการทำหมันอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง ทั้งนี้ก็เพื่อลดอาการแทรกซ้อนในขณะที่ทำการผ่าตัดได้ และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์เข้าไปในห้องผ่าตัด แนะนำให้ถอดออกให้หมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ
  • หลังจากผ่าตัดแล้ว ควรนอนอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการ ในบางครั้งคุณแม่อาจจะมีอาการมึนงง แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเป็นเพียงผลข้างเคียงจากยางสลบ และยาชาเท่านั้น ดังนั้น เมื่อทำหมันแล้วแนะนำให้ญาติมาพากลับบ้าน ไม่แนะนำให้ขับรถกลับเองเพราะสภาพร่างกายยังไม่พร้อมนั่นเองค่ะ
  • สังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ อย่างเช่น มีอาการปวดแผลผ่าตัดมาก หรือแผลมีเลือดออก แนะนำให้รีบกลับมาหาโรงพยาบาลในทันที และไม่ควรให้แผลผ่าตัดถูกน้ำจนกว่าจะครบกำหนดเปิดแผล หรือ 1 สัปดาห์โดยประมาณ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไม่ควรเดินเป็นเวลานาน หรือทำงานหนัก เพราะอาจจะทำให้แผลฉีกขาดได้
  • เมื่อคุณแม่สังเกตว่าประจำเดือนขาดหลังจากทำหมัน แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากประมาณ 2 – 0.7% พบว่ามีการตั้งครรภ์หลังจากทำหมันแล้ว ซึ่งคุณแม่ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

ผลกระทบจากการทำหมันที่คุณแม่ควรรู้

การทำหมันทั้ง 2 วิธีที่เราได้กล่าวไว้ ไม่เป็นผลต่อการมาของประจำเดือน คุณแม่ก็ยังมีประจำเดือนเหมือนเดิมค่ะ ส่วนผลกระทบอื่น ๆ ที่มีต่อร่างกายนั้น ก็ไม่มีผลอันตรายแต่อย่างใด เพราะการทำหมันเป็นแค่เพียงการผูก และตัดท่อนำไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับการมีประจำเดือน หรือความรู้สึกอะไร รวมถึงการผลิตน้ำนมของคุณแม่อีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกต่อไปค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ไม่สบายใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการทำหมัน เพื่อให้มั่นใจว่า การทำหมันครั้งนี้จะไม่เป็นผลกับการให้นมลูกอย่างแน่นอนค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ชุดชั้นในคนท้อง เลือกอย่างไรดี ให้เหมาะสมที่สุด

2.เลือก ชุดชั้นในแม่ท้อง และหลังคลอด แบบไหนถึงจะดี