เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. เว็บไซต์เดลี่เมล์ของอังกฤษรายงานว่า มีคุณแม่ชาวอินเดียให้กำเนิดทารกออกมาเป็นลักษณะคล้ายเงือก แต่เกิดมาลืมตาดูโลกแค่ 4 ช.ม. ก่อนจะเสียชีวิตอย่างน่าเศร้า

นางมุสกุรา บีบี อายุ 23 ปี คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ที่โรงพยาบาลจิตรณจัน เทวา สทัน  ในนครโกลกาตา รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ทารกเกิดมามีขาติดกันเป็นอันเดียว ทำให้แพทย์ไม่สามารถระบุเพศได้ เนื่องจากกระดูกเชิงกรานไม่มีพัฒนาการ

ดร.สุทิพ ซาห์ กุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ กล่าวว่า พ่อแม่ทารกเงือกมีอาชีพแรงงาน นางบีบีเองไม่มีเงินจ่ายค่าสแกนอัลตราซาวด์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ กว่าจะรู้ว่าทารกตัวเองผิดปกติ ตอนคลอดออกมาแล้วเท่านั้น

ดร.สุทิพกล่าวต่อว่า ไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน นับว่าเป็นทารกเงือกรายแรกในรัฐโกลกาตา และรายที่ 2 ในประเทศอินเดีย ทารกมีพัฒนาการปกติในร่างกายช่วงบน แต่ช่วงล่างต่ำกว่าเอวไม่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ ขาติดกันเป็นอันเดียว

“แม่ขาดสารอาหารที่เหมาะสมและเลือดไหลเวียนไปไม่ดีทำให้ทารกมีในครรภ์ความผิดปกติ และน่าเศร้าที่ทารกไม่มีชีวิตรอด”

ทั้งนี้ อาการทารกเงือกมีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า sirenomelia หรือ Mermaid syndrome ซึ่งจะพบ 1 คน ในทุกการคลอด 60,000 ถึง 100,000 ครั้ง

เมื่อปี 2559 หญิงรายหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของอินเดีย ให้กำเนิดทารกเงือกเป็นรายแรกในประเทศ แต่มีชีวิตอยู่บนโลกเพียง 10 นาที

ดร.ลินด์ซีย์ ฟิตซ์แฮร์ริส มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อธิบายว่า อาการเงือกจะเกิดขึ้นเมื่อสายสะดือไม่สามารถสร้างหลอดเลือดแดง 2 หลอดได้ ซึ่งให้ปริมาณเลือดไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ

Sponsored

“ทารกเงือกเป็นอาการที่มีความร้ายแรงมาก และที่ผ่านไม่มีบันทึกการรอดชีวิตเลย ส่วนใหญ่เสียชีวิตภายในไม่กี่วันหลังคลอดออกมาเนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะล้มเหลว” ดร.ลินด์ซีย์กล่าว

ขอบคุณที่มา : khaosod

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด