นมแม่คือนมที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก เพราะมีสารอาหารอย่างครบถ้วน แต่ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก หรือในกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องได้รับยาเฉพาะทางที่ฤทธิ์ของยาอาจส่งผ่านทางน้ำนม ก็จำเป็นต้องเสริมด้วยนมผสมเข้าไปด้วยเช่นกัน โดยนมผสมก็จะมีหลายสูตรตามช่วงวัยของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องเลือกนมให้เหมาะสมกับลูก และรู้เทคนิคการเปลี่ยนสูตรนมให้กับลูกตามวัยด้วย เพื่อให้เขาได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมที่สุดนั่นเอง แต่การเปลี่ยนนมแต่ละสูตรนั้นควรเปลี่ยนอย่างไร เรามีวิธีการเปลี่ยนนมมาฝากกัน
ความแตกต่างของนมแต่ละสูตร
นมทั้ง 3 สูตร มีความแตกต่างดังต่อไปนี้
- นม สูตร1 เป็นนมที่เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี มีปริมาณโปรตีนต่ำเหมาะกับสภาพลำไส้ของเด็กทารกมากที่สุด ซึ่งก็มีสารอาหารที่ครบถ้วน เหมาะกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยพัฒนาการทางสมองของเด็กวัยนี้ได้เป็นอย่างดี
- นมสูตร2 เป็นนมที่เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึง 3 ปี โดยสูตรนี้จะมีการเพิ่มโปรตีนและไขมัน เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองของเด็ก พร้อมทั้งมีวิตามินและแร่ธาตุจำเป็นหลายชนิดอีกด้วย
- นมสูตร3 เป็นสูตรที่เหมาะสำหรับเด็ก1 ปีขึ้นไป ไม่ว่าวัยไหนก็สามารถดื่มได้ โดยมีการเพิ่มโปรตีนมากขึ้นกว่าสูตร 2 และมีวิตามินแร่ธาตุมากกว่า เพื่อเตรียมพร้อมสุขภาพร่างกายของลูกรัก พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้น
วิธีการเปลี่ยนสูตรนมที่ควรรู้
จะเห็นได้ว่านม สูตร 1 เหมาะกับเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี สูตร 2 เหมาะกับเด็ก 6 เดือนถึง 3 ปี และสูตร 3 เหมาะกับเด็ก1 ปีขึ้นไป ทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่เกิดความสับสนว่า ควรจะเปลี่ยนสูตรนมให้กับลูกเมื่อไหร่ดี ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าการเปลี่ยนสูตรนมให้กับลูก ขึ้นอยู่กับอาหารเสริมที่ให้ลูกทานและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของลูกด้วย ซึ่งก็คือ
- การเปลี่ยนนม สูตร1 เป็น สูตร2 อาจเปลี่ยนสูตรนมเมื่อลูกมีอายุ 1 ปี แต่หากลูกได้ทานอาหารเสริมอย่างเหมาะสมและมีน้ำหนักตัวที่ดี ก็สามารถเปลี่ยนสูตรนมได้ตั้งแต่ลูกมีอายุ 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเปลี่ยนเมื่อลูกมีอายุ 8 เดือน
- การเปลี่ยนนม สูตร2 เป็น สูตร3 อาจเปลี่ยนสูตรนมเมื่อลูกมีอายุ 3 ปี แต่หากลูกได้ทานอาหารเสริมอย่างเหมาะสม และมีน้ำหนักตัวที่ดี ก็สามารถเปลี่ยนสูตรนมได้ตั้งแต่ลูกมีอายุ 1 ปี
เทคนิค การเปลี่ยนนมลูก เมื่อต้องเปลี่ยนสูตรนมให้กับลูกรัก
นอกจากวิธีการเปลี่ยนสูตรนมแล้ว ก็มีเทคนิคการเปลี่ยนนม เพื่อให้ลูกค่อยๆ ปรับตัวและคุ้นเคยกับนมสูตรใหม่มาแนะนำกันด้วย โดยมีเทคนิคดังนี้
1.การเปลี่ยนนมด้วยการผสมสูตร
เป็นการผสมนมสูตรเก่าและสูตรใหม่เข้าด้วยกัน เพื่อให้ลูกค่อยๆ ปรับตัวกับนมสูตรใหม่มากขึ้น โดยเริ่มจากการผสมนมสูตรใหม่ทีละนิด แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น จนกระทั่งให้ลูกดื่มนมสูตรใหม่ได้โดยไม่ต้องผสมนมสูตรเก่าลงไป ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับเด็กเล็ก และเด็กที่รับประทานยาก
2.การเปลี่ยนนมด้วยการสลับมื้อนม
เป็นการสลับนมเก่าและใหม่ให้ลูกดื่มในแต่ละมื้อ โดยวันแรก ให้ลูกดื่มนมใหม่ทั้งขวด 1 มื้อ จากนั้นให้ดื่มนมเก่าตลอดวัน วันต่อมาก็เพิ่มเป็นนมใหม่ทั้งขวด 2 มื้อ และดื่มนมเก่าตลอดวัน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่ต้องให้ลูกดื่มนมสูตรเก่าในที่สุด ซึ่งวิธีนี้ก็จะเหมาะกับเด็กที่รับประทานง่ายนั่นเอง
นมแม่คือนมที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก ดังนั้นจึงควรให้ลูกได้ดื่มนมแม่นานเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีภูมิคุ้มกันดี อย่างไรก็ตามหากนมแม่ไม่เพียงพอ ก็สามารถเสริมนมผสมให้กับลูกได้ เช่น นมถั่วเหลือง นมแพะ และนมวัว อย่างนมแพะก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี เพราะนมแพะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ นั่นเพราะแพะมีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ แบบเดียวกับคน จึงทำให้ได้สารอาหารจากธรรมชาติที่เรียกว่า Bioactive Components สูงมาก ซึ่งประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทอรีนช่วยบำรุงประสาทตา โพลีเอมีนส์ ช่วยเสริมสร้างระบบทางเดินอาหาร และโกรทแฟคเตอร์ที่จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต นมแพะมีโปรตีน ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เต็มที่ ที่สำคัญนมแพะยังมีโปรตีน CPP (เคซีนฟอสโฟ เปปไทด์) ช่วยในเรื่องการดูดซึมสารอาหารสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแคลเซียม สังกะสี เหล็ก และแมกนีเซียม ช่วยให้ลูกน้อยเติบโต แข็งแรง พัฒนาการสมวัย ที่สำคัญนมแพะมี Prebiotics (พรีไบโอติก) หรือใยอาหาร 2 ชนิด คือ Inulin (อินนูลิน) & Oligofructose (โอลิโกฟรุคโตส) ซึ่งเป็นใยอาหารที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ ทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายง่าย ลดอาการท้องผูก และที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูก เพราะฉะนั้นเลือกนมแพะเพื่อลูกรักของคุณกันดีกว่า
อ้างอิง
Jenness,1980 and Haenlein,1992 , Almass,2006 , Scholz-Ahrens&Schrezenmeir,2000 , Youngshin Han,2011
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกตายคาท้อง เพราะพยาบาลไม่ใส่ใจ แม่สลด!! ร้องขอความเป็นธรรม
2.เตือนภัย!! ลูกเกือบตาย เพราะอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ทันคาดคิด