พัฒนาการของลูกคือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้าติดตามมองดูอยู่ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่แรกคลอดจนเริ่มคืบคลาน หัดนั่ง หัดเดิน และเมื่อลูกทำได้ก็จะสร้างความปลาบปลื้มใจให้กับคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างมาก โดยเริ่มแรกลูกน้อยจะเริ่มคว่ำ ชูคอ และเริ่มคลาน แต่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ทราบว่า ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน  และคุณพ่อคุณแม่จะช่วยฝึกลูกนั่งได้อย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยมาฝาก ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่า

ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน มาดูกัน

คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นมือใหม่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ทารกนั่งตอนกี่เดือน โดยปกติแล้ว เด็กทารก ทั่วไปจะเริ่มหัดนั่งตั้งแต่อายุ 4 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความพร้อมและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กแต่ละคน พอเริ่มเข้าสู่วัย 8 เดือนเด็กๆ จะสามารถฝึกนั่งด้วยตัวเองได้แล้ว แต่บางครั้งก็ต้องให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยพยุงตัวเพื่อที่จะสามารถทรงตัวได้มากขึ้น เพราะในช่วงวัยนี้ลูกจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบ่อยได้ง่าย เพราะเริ่มที่จะทำอะไรด้วยตัวเองได้แล้วและจะไม่ค่อยอยู่กับที่ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยระวังอย่าให้คลาดสายตาเลย

วิธีการฝึกลูกหัดนั่ง

เมื่อลูกมีอายุได้ 3 – 4 เดือนแล้วคุณแม่สามารถฝึกลูกให้หัดนั่งได้แล้ว โดยต้องอาศัยคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยฝึก เพราะในช่วงวัยนี้ลูกน้อยยังไม่สามารถทรงตัวได้ด้วยตัวเอง โดยการฝึกลูกหัดนั่งอย่างถูกวิธีนั้นก็จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ทำให้กล้ามเนื้อลูกแข็งแรง

ในเมื่อรู้แล้วว่าทารกนั่งตอนกี่เดือน ก็ควรเริ่มฝึกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยก่อนที่จะฝึกให้ลูกนั่งคุณแม่จะต้องทำกล้ามเนื้อของลูกให้แข็งแรงเสียก่อน เพราะเมื่อกล้ามเนื้อลูกแข็งแรงจะช่วยให้ลูกพยุงตัวได้ดีขึ้น สามารถนั่งได้ตัวตรงโดยที่ไม่โอนเอนไปมา โดยการฝึกให้กล้ามเนื้อแข็งแรงนั้นทำได้ด้วยการให้ลูกนอนคว่ำเมื่อลูกตื่น และพยายามเล่นกับลูก การนอนคว่ำจะช่วยให้คอ ท้องและหลังของลูกแข็งแรง แต่ก็ต้องอยู่ในการดูแลของคุณแม่ตลอดเวลา

2.จับลูกนั่งบนตักบ่อยๆ

เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงแล้ว คุณแม่ลองจับลูกน้อยมานั่งที่ตักบ่อยๆ เพื่อให้ลูกได้รู้จักวิธีนั่งอย่างถูกต้อง โดยมีขาของคุณแม่ขนาบไว้ทั้งสองข้างเพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัยไม่ล้มหน้าคว่ำ เริ่มแรกก็อาจจะมีโอนเอนไปบ้าง แต่เมื่อทำบ่อยๆ ลูกน้อยจะเริ่มชินและเริ่มที่จะนั่งทรงตัวได้นานขึ้น

3.ลองฝึกนั่งเก้าอี้เด็ก

เมื่อมั่นใจแล้วว่าลูกสามารถนั่งทรงตัวได้ดีขึ้น และมีกล้ามเนื้อคอ หน้าท้อง และหลังที่แข็งแรง คุณแม่ก็ลองจับลูกมานั่งเก้าอี้สำหรับเด็กหรือเก้าอี้ป้อนข้าวเด็กที่มีสายคาดนิรภัยรัดไว้อย่างปลอดภัย หรือจะเป็นเก้าอี้ที่เป็นโซฟาและหาผ้านวมมาขนาบตัวทั้งสองข้างไว้ จากนั้นก็นำของเล่นที่น่าสนใจมาให้ลูกเล่น วิธีนี้จะช่วยให้ เด็กทารก นั่งได้เร็วขึ้น และยังมีพัฒนาการด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

4.ฝึกนั่งทรงตัวบนฟูก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กลัวว่าลูกจะได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงจากการฝึกทรงตัว ก็สามารถหาฟูกนุ่มๆ มาปูไว้กับพื้นและปล่อยให้ลูกคลานเล่นไปมา จากนั้นก็ให้คุณแม่จับลูกนั่งโดยเริ่มแรกอาจจะเป็นนั่งบนตักคุณแม่  แล้วค่อยๆ ถอยออกให้ลูกนั่งเล่นคนเดียว พร้อมหาของเล่นให้ลูกได้นั่งเล่น วิธีนี้จะมีความปลอดภัยมาก เพราะหากลูกล้มก็จะไม่เจ็บเพราะอยู่บนฟูกนั่นเอง

Sponsored

5.จับลูกนั่งเองเมื่อลูกเริ่มทรงตัวได้

เมื่อลูกเริ่มทรงตัวได้ คุณแม่เริ่มฝึกให้ลูกนั่งบ่อยๆ โดยเด็กจะใช้มือยันพื้นไว้เพื่อที่จะประคองตัวให้สมดุล โดยจากนั้นก็จะสามารถปล่อยมือออกได้ประมาณ 3 – 4 วินาที ก่อนที่จะล้มตัวลง เมื่อลูกทำเช่นนี้บ่อยๆ คุณแม่ก็ลองปล่อยให้ลูกทำเพียงคนเดียวเพียงแค่เฝ้ามองดูก็พอ ให้ลูกได้หมั่นฝึกด้วยตนเองจนสามารถประคองตัวเองนั่งได้โดยที่ไม่ใช้มือยันพื้น

ลูกนั่งช้า ลูกนั่งไม่ได้ ผิดปกติไหม

เพราะพัฒนาการของ เด็กทารก แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักจะเปรียบเทียบลูกของตัวเองกับเด็กวัยเดียวกัน และเมื่อเห็นว่าเด็กที่เกิดในช่วงวัยเดียวกันสามารถที่จะทำอะไรหลายๆ อย่างได้ แต่ทำไมลูกของตัวเองยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้นหากตามปกติ ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แต่พบว่า 6 เดือนแล้ว ลูกยังนั่งไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลใจไป คุณพ่อคุณแม่ลองส่งเสริมพัฒนาการของลูกด้วยการฝึกลูกนั่ง เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกให้แข็งแรง ลองปล่อยให้ลูกได้ฝึกได้เป็นไปตามวัยของเขา และคอยมองดูแลความปลอดภัยให้อย่างใกล้ชิด เพียงเท่านี้ไม่นานลูกก็จะสามารถนั่งได้ แต่หากพบว่า 9 เดือนแล้ว ลูกยังไม่สามารถนั่งด้วยตัวเองได้อีก แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำอย่างถูกต้อง

เรื่องน่ารู้กับการฝึกลูกหัดนั่ง

เรามาดูเรื่องน่ารู้กับการฝึกลูกหัดนั่งกันบ้างดีกว่า

  1. คุณแม่ควรฝึกให้ลูกนั่งแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ที่จะนั่งด้วยตัวเองได้
  2. อาจหาตัวช่วยมาใช้ในการช่วยฝึกลูกนั่งด้วยก็ได้ เช่น เก้าอี้หัดนั่ง
  3. ขณะจับลูกให้อยู่ในท่านั่ง คุณแม่ควรดูแลอยู่ใกล้ชิดตลอด
  4. ควรจัดสภาพแวดล้อมรอบๆ ให้ปลอดภัย อย่าให้มีสิ่งของที่อาจจะเป็นอันตรายต่อลูกได้

เมื่อทราบแล้วว่า ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน คุณแม่ก็ลองนำไปฝึกลูกให้ลูกสามารถนั่งได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย ถึงแม้ว่าลูกจะสามารถนั่งได้เองเมื่อถึงช่วงวัย แต่คุณแม่ก็สามารถช่วยฝึกให้ลูกนั่งอย่างถูกวิธีและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกน้อยจะได้ปลอดภัยและมีพัฒนาการที่ดีแข็งแรงสมวัยของเขานั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.5 เรื่องน่ารู้ กับการเก็บน้ำนมแม่ ให้เก็บไว้ได้นานโดยไม่เสีย

2.8 อาหารกระตุ้นน้ำนม กินแล้วนมพุ่ง หมดปัญหาเรื่องนมน้อย