อย่างที่คุณแม่หลายท่านทราบกันดีว่านมแม่นั้นมีประโยชน์มากสำหรับลูกน้อย เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วน ย่อยง่ายไม่ทำให้ลูกน้อยท้องอืด เด็กที่ดื่มนมแม่จะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี ไม่เจ็บป่วยง่าย นมแม่ยังช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองที่ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณแม่หลายท่านจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านอาจจะไม่สะดวกที่จะให้นมแม่จากเต้าจึงต้องปั๊มนมแม่แช่เก็บไว้ให้ลูก ซึ่งนมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมงถ้าใส่ในกระติกน้ำแข็งไว้ และเก็บด้วยวิธีไหนได้อีกบ้าง มาดูกันเลย
นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง เมื่อใส่ในกระติกน้ำแข็ง
ในปัจจุบันคุณแม่หลายท่านไม่ได้มีหน้าที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกเท่านั้น แต่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ทำให้คุณแม่หลายท่านไม่สามารถที่จะอยู่บ้านดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดเหมือนอย่างแต่ก่อน อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถที่จะปั๊มนมแช่เก็บไว้ให้ลูกได้ดื่มระหว่างที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน วิธีเก็บนมแม่ นั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง หากแช่ในกระติกน้ำแข็ง นมแม่แช่ในกระติกน้ำแข็งนั้นจะอยู่ได้ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วันเท่านั้น เนื่องจากว่ากระติกน้ำแข็งจะต้องใช้น้ำแข็งในการแช่และน้ำแข็งก็มีการละลายไปตามธรรมชาติ การจัดเก็บนมแม่ในกระติกน้ำแข็งจึงอยู่ได้เพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นไม่แนะนำนมแม่ที่เหลือจากการแช่ในกระติกน้ำแข็งนำเข้าแช่ตู้เย็นอีกครั้ง เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ลูกปวดท้อง หรือท้องเสียได้
ข้อดีของการเก็บนมในกระติก
ในกรณีที่คุณแม่ต้องออกนอกบ้าน หรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัดอาจจะทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องที่ไม่สะดวก การแช่นมในกระติกน้ำแข็งนั้นก็จะช่วยยืดเวลาเก็บนมแม่ได้นานขึ้น นมแม่แช่ได้กี่ชั่วโมง สำหรับข้อดีในการแช่นมแม่ในกระติกน้ำแข็งนั้นทำให้สะดวกสบายในการเดินทาง สามารถหิ้วไปด้วยทุกที่ และนมที่แช่นั้นก็สามารถที่จะนำออกมาให้กับลูกน้อยดื่มได้ตลอดเวลาไม่ต้องเสียเวลารอให้นมแม่ละลายเหมือนกับนมแม่แช่แข็ง ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีในการแช่นมแม่ในกระติกน้ำแข็ง
ข้อเสียของการเก็บนมในกระติก
สำหรับข้อเสียในการแช่นมแม่ ในกระติกน้ำแข็งนั้นก็มีเช่นกัน คือนมแม่จะเสียเร็ว ไม่สามารถจัดเก็บได้ยาวนาน และหากในกรณีที่น้ำแข็งน้อยหรือความเย็นไม่พอก็อาจจะทำให้แบคทีเรียก่อตัวในน้ำนมอย่างรวดเร็วทำให้ นมบูดเสียเร็วมากขึ้น และหากนำไปให้ลูกดื่มก็เสี่ยงที่จะทำให้ลูกปวดท้องและท้องเสียได้
คำแนะนำในการเก็บนมแม่ในกระติกน้ำแข็ง
สำหรับ วิธีเก็บนมแม่ ในกระติกน้ำแข็งนั้นจะมีอายุที่สั้นและควรดื่มนมที่ปั้มได้ภายในวันนั้นเลย ซึ่งการเก็บนมแม่ในกระติกน้ำแข็งนั้นคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้
- ก่อนปั๊มนมจะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และหามุมสงบในการปั๊มนม
- หลังจากที่ปั๊มนมเสร็จแล้วให้รีบนำนมมาแช่ในกระติกน้ำแข็งทันที
- กระติกน้ำแข็งจะต้องผ่านการล้างที่สะอาดด้วยน้ำยามาแล้ว
- นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง น้ำแข็งจะต้องเป็นน้ำแข็งที่ใช้รับประทานเท่านั้นไม่ใช่น้ำแข็งป่นที่นำมาแช่ของสดเพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนมาในน้ำแข็ง และช่วยให้เก็บได้นานขึ้น
- หลังจากที่แช่คุณแม่ต้องมั่นใจว่าน้ำแข็งจะสามารถอยู่ได้ยาวนานเท่าไหร่ และเมื่อน้ำแข็งละลายควรเติมน้ำแข็งใหม่เข้าไปเพื่อป้องกันความเย็นไม่เพียงพอและทำให้นมเสียเร็วขึ้น
วิธีเก็บนมแม่อื่นๆ มีอะไรอีกบ้าง
การจัดเก็บนมแม่นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันคือ นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง จะสามารถเก็บได้นานมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีจัดเก็บ โดยสามารถจัดเก็บได้หลากหลายวิธีดังนี้
1. เก็บนมแม่ในอุณหภูมิห้องที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศานมแม่จะสามารถอยู่ได้นานไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังจากที่ปั๊ม
2. เก็บนมแม่ในตู้เย็นแช่ช่องธรรมดาที่มีการเปิดใช้งานเป็นประจำที่นมแม่จะอยู่ได้ไม่เกิน 5 วัน
3. เก็บนมแม่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์
4. นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บนมแม่ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ติดลบ 2-4 องศาจะเก็บได้นาน 3 เดือน
5. เก็บนมในตู้แช่แข็งที่เป็นตู้แช่โดยเฉพาะที่มีอุณหภูมิติดลบ 20 องศานมแม่จะสามารถเก็บได้นาน 6 เดือน
6. นมแม่สามารถจัดเก็บได้ในขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว วิธีเก็บนมแม่ ที่ดีคุณแม่ควรใช้ที่จัดเก็บใหม่เสมอเวลาจัดเก็บน้ำนมใหม่ทุกครั้ง
การจัดเก็บนมแม่สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณในการจัดเก็บ การเก็บนมแม่ในอุณหภูมิที่แตกต่างกันจะทำให้ระยะเวลาในการเก็บแตกต่างกัน นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง ก็ขึ้นกับการเลือกแช่ของคุณแม่นั่นเอง และการเก็บนมแม่ในกระติกน้ำแข็งก็เป็นการเก็บในระยะเวลาที่สั้น ในกรณีต้องเดินทางหรือกรณีฉุกเฉินเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้จัดเก็บเป็นเวลานานๆ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้นมบูดเสียได้เร็ว
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่