เมื่อลูกน้อยเกิดมาแล้ว จะได้รับการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด จนอายุครบ 12 ปี ซึ่ง 1 ในหลายวัคซีนที่ลูกน้อยได้รับ มีวัคซีนป้องกันไอกรนรวมอยู่ด้วย แน่นอนว่าการฉีดวัคซีนในช่วงที่ยังเป็นเด็กเล็ก วัคซีนไอกรน เป็นวัคซีนสำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่ลูกน้อยจำเป็นต้องฉีดให้ครบทุกเข็ม ซึ่งหากดูในสมุดคู่มือเด็กจะพบว่ามีตารางนัดฉีดวัคซีนของเด็กตามช่วงอายุ ที่คุณแม่จำเป็นต้องนำลูกไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบ ส่วนวัคซีนป้องกันไอกรน ที่ลูกน้อยควรได้รับจะต้องฉีดในช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง มาดุูกันเลย
ความสำคัญของวัคซีนไอกรน
วัคซีนไอกรน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้ว หรือแอนติเจนจากผนังเซลล์ของเชื้อ แล้วนำมาฉีดเพื่อป้องกันการเกิดโรคไอกรน เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอ ที่เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส” เชื้อชนิดนี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้เท่านั้น โดยการติดต่อผ่านสารคัดหลั่งไปยังเซลล์ขนในระบบทางเดินหายใจส่วนบน บริเวณจมูกหรือเพดานปาก จากนั้นเชื้อนี้จะแพร่สารพิษ เพื่อเข้าไปทำลายเซลล์ขน จึงส่งผลให้มีเกิดอาการบวมในระบบทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดอาการไอที่รุนแรง โดยส่วนใหญ่เชื้อไอกรนนี้ จะแพร่สู่ผู้อื่นได้โดยการไอ การจาม การคลุกคลีเล่นด้วยกันของกลุ่มเด็กๆ โดยการขาดความระมัดระวังในการป้องกัน แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการนำเด็กไปรับวัคซีน เพื่อเป็นการป้องกันโรคตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคไอกรนตั้งแต่วัยเด็กได้
อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1.ระยะแรกเด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล เป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์ยังไม่ระบุได้ว่าเป็นไอกรน แต่หากไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้งๆ ก็อาจจะมีโอกาสเป็นไอกรนได้
2.ระยะนี้มีอาการไอเป็นชุดๆ และเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 แต่ไม่มีเสมหะ ซึ่งจะเริ่มมีลักษณะของอาการของไอกรนที่ชัดขึ้น คือ มี อาการไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้งตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอนี้ ผู้ป่วยเด็กจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก รวมถึงเส้นเลือดที่คอโป่งพองซึ่งการไอ ร่างกายต้องกายจะขับเสมหะที่เหนียวข้น ในทางเดินหายใจออกมา จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ บางครั้งอาจทำให้เด็กมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทัน โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบว่ามีอาการหน้าเขียวขณะไอได้บ่อย ในเด็กบางรายมีการหยุดหายใจร่วมด้วย ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่มีความอันตรายอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
3.ระยะ ฟื้นตัว กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆ ลดลงถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์ก็หายเป็นปกติได้
ทารกจะได้รับวัคซีนไอกรนเมื่อไหร่
เมื่อลูกน้อยอายุได้ 2 เดือนจะได้รับการฉีดวัคซีนไอกรนเข็มแรก ซึ่งเป็นวัคซีนรวมวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DPT) จะฉีดตามช่วงอายุในเดือน 2 เดือนที่ 4 และเดือนที่ 6 รวมถึงการฉีดกระตุ้นการทำงานของวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 1 ปีครึ่ง
คำแนะนำก่อนพาลูกไปฉีด
การดูแลลูกน้อยก่อนจะไปรับการฉีดวัคซีนไอกรนทำอย่างไรบ้าง
1.ในวันนัด หากลูกน้อยไม่สบาย หรือมีไข้ ควรให้ควรลูกหายจากอาการเป็นไข้ก่อนก่อนอีก 1 สัปดาห์จึงค่อยพาลูกมารับการฉีดวัคซีนเด็ก
2.หากคุณแม่ติดธุระ หรือสาเหตุจากการป่วยของลูกจนไม่สามารถมาตามนัด เพื่อรับวัคซีนไอกรนได้ คุณแม่หรือผู้ปกครองสามารถพาเด็กมารับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบ ไม่ว่าจะเว้นว่างไว้ไปนานเท่าใดแล้วก็ตาม โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรพาเด็กมาก่อนวันนัด เนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไป จะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติได้
3.ถ้าลูกเคยมีประวัติแพ้ยา หรือกำลังป่วยมีไข้สูง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนที่จะให้ลูกน้อยได้รับการฉีดวัคซีนในครั้งต่อไป
การดูแลลูกน้อยหลังฉีด
อาการที่จะเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ที่คุณแม่จำเป็นต้องดูแลลูกน้อยเป็นพิเศษ ให้สังเกตุว่าลูกมีอาการเหล่านี้หรือไม่
1.ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด
หลังจากฉีดวัคซีนไอกรนมาแล้วลูกน้อยอาจจะร้องไห้กวนโยเยด้วยความเจ็บปวด หรือการรู้สึกไม่สบายเนื้อตัว คุณแม่ช่วยลูกให้ลดความเจ็บปวดได้ ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบบริเวณที่ลูกฉีดยา เพื่อลดความปวดบวมแดงร้อน ช่วยคลายความรู้สึกไม่สบายตัวของลูกให้ทุเลาลงได้ นอกจากนี้อาจจะใช้ยาแก้ปวดให้ลูกกิน เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดได้อีกทางหนึ่งด้วย
2.ไข้ตัวร้อน มักเกิดหลังได้รับวัคซีนคอบตีบ บาดทะยัก ไอกรน
ช่วงการฉีดในครั้งที่ 1 ซึ่งจะฉีดให้ลูกน้อยในช่วงอายุ 2 เดือน ครั้งที่ 2 อายุ 4 เดือน ครั้งที่3 เมื่ออาย 6 เดือน และการฉีดกระตุ้นในช่วง 1.6 ขวบ และ 4 ขวบตามลำดับ คุณแม่ควรเช็ดตัวให้ลูกด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาดๆ โดยเน้นเช็ดเฉพาะบริเวณซอกคอ และข้อพับ ซึ่งเป็นที่สะสมความร้อน หากไม่ดีขึ้น อาจให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล ช่วยลดอาการไข้ได้ อาการไข้ของลูกจะเป็นประมาณ 1 - 2 วัน และจะค่อยๆ หายไปเองได้
3.มีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น
สำหรับการฉีดวัคซีนไอกรน ยังไม่ค่อยพบรายงานว่าเด็กมีอาการเป็นไข้ ไอ มีน้ำมูก หรือมีผื่นขึ้นหลังการฉีดวัคซีนชนิดนี้ แต่เพื่อความไม่ประมาท คุณแม่ควรดูแลและสังเกตุอาการลูกอย่างใกล้ชิด เพราะลูกน้อยยังอ่อนแออาจเกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน หากพบว่าลูกมีไข้ควรพาไปพบคุณหมอ
การฉีดวัคซีนไอกรนในเด็ก เป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคไอกรนในเด็ก ซึ่งเมื่อลูกน้อยที่ได้รับวัคซีนเด็กไม่ว่าจะเป็นวัคซีนป้องกันไอกรน หรือวัคซีนเด็กชนิดอื่นๆ อย่างครบถ้วนทุกชนิด ก็จะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงป้องกันโรคชนิดต่างๆ อย่างได้ผล มีภูมิคุ้มกันต่อเนื่องยาวนานถึงวัยผู้ใหญ่ ก็จะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างดี
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่