การเล่นเกมเป็นกิจกรรมยามว่างที่หลายคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่ก็ตาม เพราะการเล่นเกมทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสุข สนุก แต่การเล่นเกมก็แฝงมาพร้อมกับโทษหรือข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ ที่หากมีการเล่นเกมบ่อยจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการเรียนรู้ของเด็กได้ ทั้งยังทำให้เกิดการต่อต้าน ไม่พอใจ หรือมีอาการหงุดหงิดอย่างรุนแรง ก้าวร้าว และมีปัญหาด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ในสังคมที่ไม่ดีได้เช่นกัน ซึ่งเราเรียกว่า อาการหัวร้อน เป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ใน เด็กติดเกม ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอาการที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด แต่เราจะมีวิธีรับมือกับ อาการหัวร้อน จากการเล่นเกมของเด็ก ๆ ได้อย่างไรวันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยดีกว่า
ลูกมีอาการหัวร้อนเพราะติดเกม ไม่ควรมองข้าม
จากสถิติเราอาจมักพบ เด็กติดเกม ในครอบครัวที่มีภารกิจ และหน้าที่การงานเยอะ ซึ่งมักจะไม่ค่อยมีเวลากับลูกเท่าที่ควร ทำให้ลูกขาดตกบกพร่องด้านการฝึกวินัย ขาดการฝึกให้เคารพกฎ กติกา และการที่พ่อแม่ตามใจก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็ก ๆ อยู่กับมือถือมากกว่าการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งการที่คนในครอบครัวไม่มีเวลาให้กันจึงเป็นเหตุผลที่เด็ก ๆ มักจะมีโลกของตัวเอง จนนำไปสู่การติดเกม ซึ่งแน่นอนเมื่อเขาอยู่ในโลกของการเล่นเกมมากจนเกินไป พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป เช่น มี อาการหัวร้อน เป็นคนอารมณ์ร้อน โมโหง่าย ไม่มีเหตุผล อาการเหล่านี้เป็นอาการที่น่ากลัว เพราะฉะนั้นพ่อแม่และคนในครอบครัวจึงไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด หากเป็นไปได้ควรมีเวลาว่างให้ลูก พาลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันบ่อย ๆ หรือหากลูกต้องการเล่นเกมควรมีการจำกัดเวลา มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อให้การเล่นเกมอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมนั่นเอง
วิธีรับมือกับการติดเกม และอาการหัวร้อนของลูก
เมื่อลูกมี อาการหัวร้อน ไม่งว่าจะขณะเล่นเกมหรือ ช่วงเวลาไหนก็ตามเราจะมีวิธีรับมือกับเขาอย่างไร พ่อแม่หลายคนไม่สามารถรับมือกับ อาการหัวร้อน ของลูก ๆ ที่เกิดจากการเล่นเกมได้เลย เพราะไม่มีทักษะที่ดีพอ เราจึงมีข้อแนะนำในการรับมือกับการเล่นเกมเมื่อมี อาการหัวร้อน มาแนะนำดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการดุ ด่า
พ่อแม่หลายคนเมื่อลูกอารมณ์ไม่ได้จากการติดเกมก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการ ดุ ด่า บ่น ตำหนิ หรือใช้อารมณ์ และมีถ้อยคำรุนแรง ซึ่งนี่อาจเป็นการกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมที่แย่ลงได้ ดังนั้นให้หพ่อแม่ลองเปลี่ยนจากการดุ การบ่น เป็นการแสดงออกถึงความเห็นใจ พร้อมกับใช้เหตุผลในการบอกกล่าวจะดีกว่า
2.เบี่ยงเบนความสนใจ
เด็กที่ติดเกมมากจริง ๆ นอกจากจะมี อาการหัวร้อน แล้วก็ยังมีพฤติกรรมก้าวร้าวอีกด้วย ซึ่งเป็นการต่อต้านที่รุนแรง พ่อแม่ที่เจอกับปัญหานี้แนะนำให้คุณ ลองเล่นเกมกับลูกดู หากพบว่าเป็นเกมที่รุนแรงไม่เหมาะสม ให้หาทางเบี่ยงเบนความสนใจ โดยเลือกเกมอื่นที่คิดว่ามีประโยชน์ และช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกได้ลองเล่นดู พร้อมกับพูดคคุยปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดว่าเกมนั้น เกมนี้เป็นอย่างไร เรียกว่าเป็นการสอนลูกไปในตัว เพื่อให้เขาเห็นความสำคัญของการเล่นเกมมากขึ้น
3.พบแพทย์ในกรณีที่ไม่สามารถรับมือได้ด้วยตนเอง
หากทำทุกทางแล้วไม่สำเร็จ พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์ เนื่องจาก อาการหัวร้อน หรือพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะแสดงให้เห็นถึงอาการป่วย และมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เพื่อจะได้วินิจฉัย และวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องต่อไปนั่นเอง
การเล่นเกมมีประโยชน์ แต่ควรให้ลูกเล่นอย่างพอเหมาะ
อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าการเล่นเกมจริง ๆ แล้วเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว หากเป็นการเล่นที่อยู่ในขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาจากการทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือจะเป็นการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการเล่นเกม เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เราจะได้ประโยชน์จากการเล่นเกมเมื่อ เลือกเล่นเกมที่มีประโยชน์ และเล่นในเวลาที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรมีข้อจำกัดในการเล่นเกมที่พอดี เช่น กำหนดเวลา มีกติกาก่อนการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานบ้านให้เสร็จเรียบร้อย การทำการบ้าน อ่านหนังสือ เพื่อให้เขาได้มีความรับผิดชอบ และไม่หมกหมุ่นกับการเล่นเกมมากจนเกินไปอีกด้วย และการเล่นเกมของเด็ก ๆ พ่อแม่ก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน
ดังนั้นบ้านใครที่มีเด็กเล็กในวัยเล่นเกมควรดูแลอย่างใกล้ชิด จำกัดเวลาการเล่นเกม การเล่นมือถือให้พอดี เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีพัฒนาการที่ดีและสมวัย หากเป็นไปได้ควรพาเขาไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ติดการเล่นเกมจนเกินไป และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ พ่อแม่ควรมีเวลาว่างให้กับพวกเขามากที่สุด เพียงแค่นี้เด็ก ๆ ก็จะไม่เสี่ยงติดเกม ติดหน้าจอมือถือจนกลายเป็นเด็กติดเกมอย่างแน่นอน
= = = = = = = = = = =