อาการสะอึกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่ระบบย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อาการสะอึกถือเป็นอาการทั่วไปไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด สามารถหายได้เอง เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่สะอึกเท่านั้น บางคนสะอึกแป๊บเดียวก็จะหายไปเอง แต่บางคนสะอึกนานไม่หายสักที อาการสะอึก เกิดจากอะไร เรามาดูสาเหตุ พร้อมวิธีแก้อาการสะอึกที่เห็นผลได้จริงให้ลูก ๆ กันเลยดีกว่า
ลูกมีอาการสะอึก เกิดจากอะไร?
สะอึก (Hiccup) เป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด การป้องกันด้วยวิธีใด ๆ จึงไม่เป็นผล เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ หรือที่เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นอาการที่พบได้บ่อยทั้งหญิงและชายทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กแรกเกิด อาการสะอึก เกิดจากการหดเกร็งของกระบังลมโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากกล้ามเนื้อช่องระหว่างซี่โครง และกะบังทำงานไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลทำให้เกิดการสะอึกนั่นเอง
โดยสาเหตุของการสะอึกนั้นมาจากทางกายภาพอย่างเช่น ผลข้างเคียงจากความผิดปกติทางหน้าอกเช่น ต่อมน้ำเหลืองโต มีเนื้องอกที่คอ ความผิดปกติทางช่องท้องอย่างเช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือผลข้างเคียงหลังเข้ารับการผ่าตัด ส่วนอาการสะอึกที่เกิดขึ้นจากทางด้านอารมณ์นั้นอย่างเช่น มีอาการตกใจอย่างกะทันหัน หรือมีปัญหาความเครียดเรื้อรังเป็นต้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการสะอึก
เนื่องจาก อาการสะอึก นั้นเกิดขึ้นได้จากการหดเกร็งของกะบังลมโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากกล้ามเนื้อช่องระหว่างซี่โครง และกะบังทำงานไม่สัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาการสะอึกได้ด้วยการลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดการสะอึกอย่างเช่น
- รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่มากจนเกินไป เพราะการทานอาหารที่มากเกินไปจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึกมากขึ้น
- ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนทุกครั้ง และไม่ควรทานอาหารรสจัด
- หมั่นควบคุมอารมณ์ของตนเองให้มั่นคง หากมีอาการโกรธ หรือตื่นเต้นดีใจ ให้หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ เป็นจังหวะ จะช่วยควบคุมอารมณ์ได้
- หากมีอาการสะอึกอย่างรุนแรงจนมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง และสะอึกติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณของโรคบางอย่างได้
10 วิธีแก้อาการสะอึก ที่ทำแล้วได้ผล
โดยปกติแล้ว อาการสะอึก จะค่อย ๆ หายไปเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง แต่หากมีการสะอึกบ่อย หรือสะอึกเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้เกิดความรำคาญได้ เมื่อลูกสะอึกคุณแม่สามารถแก้ด้วย 10 วิธีทำให้หายสะอึก ดังนี้
1.หากลูกมี อาการสะอึก เป็นเวลานานไม่หายสักที คุณแม่ลองให้ลูกพูดว่า "น้ำเต้าหู้ทำมาจากถั่วเหลือง" สักพักอาการสะอึกจะหายไปเอง
2.เนื่องจากการสะอึกเกิดจากปัญหาทางกะบังลม และกล้ามเนื้อช่องระหว่างซี่โครง ทำงานไม่สัมพันธ์กัน อยากให้ลูกหายสะอึก ลองให้ลูกกลั้นหายใจไว้ประมาณ 20 วินาที ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อาการสะอึกก็จะค่อย ๆ หายไป
3.กินของที่มีรสเปรี้ยว อย่างเช่น น้ำมะนาว โดยการนำมะนาว 1 ลูกมาบีบให้ได้สัก 1 ช้อนชา จากนั้นนำมาให้ลูกค่อย ๆ จิบ อาการสะอึก ก็จะค่อย ๆ หายไปภายในชั่วพริบตา
4.หากลูกมีอาการสะอึก คุณแม่ลองนำเนยถั่ว 1 ช้อนชาแบบพูน ๆ มาให้ลูกกิน ระหว่างที่ลูกเคี้ยวเนยถั่วที่เหนียวให้หลุดออกจากฟัน และลิ้นอยู่นั้น รูปแบบการกลืนและการหายใจแบบถูกขัดจังหวะก็จะทำให้ อาการสะอึก หายไปได้
5.อีกหนึ่ง วิธีทำให้หายสะอึก นั่นก็คือ การทำให้ตกใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีสุดคลาสิคทีนิยมใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยคุณพ่อคุณแม่เลย เจอวิธีนี้เข้าไปรับรองลูกหายสะอึกแน่นอน
6.หากอยากหยุดสะอึก เพียงแค่นำเกลือมาวางไว้บนเข่า และทำลิ้นยาว ๆ เพื่อเลียเกลือ แต่ช่วงที่เลียเกลือจะต้องกลั้นหายใจด้วย ทำอย่างนี้ประมาณ 2-3 คำ ก็จะทำให้หายสะอึก วิธีนี้รับรองเห็นผลชัวร์แน่นอน
7.ก้มดื่มน้ำจากแก้วอีกฝั่ง วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทำอย่างมาก บางคนทำแล้วได้ผลดี แต่บางคนก็ไม่ได้ผล
8.หากลูกมี อาการสะอึก เป็นเวลานานไม่หายสักที คุณแม่ลองหาอะไรเบี่ยงเบนความสนใจอย่างเช่น ชวนเล่นเกม ชวนพูดคุย หรือหากิจกรรมอะไรที่สนุก ๆ ตื่นเต้นทำ การเบี่ยงเบนความสนใจจะทำให้ลูกหายสะอึกได้อย่างไม่น่าเชื่อ
9. การดื่มน้ำช่วย อาจจะจิบน้ำทีละนิดไปเรื่อย ๆ จะช่วยให้ลูกลืมอาการสะอึกได้ แต่หากมีการสะอึกอย่างรุนแรงอย่าเพิ่งให้ลูกดื่มน้ำ เพราะอาจจะทำให้สำลักน้ำได้
10.หากลูกยังเป็นเด็กทารก หรือเด็กอ่อน หากเกิด อาการสะอึก คุณแม่ควรจับลูกขึ้นมาอุ้มพาดบ่าไว้ และใช้มือลูกหลังเบา ๆ เพื่อให้เรอ หรือเป็นการไล่ลม วิธีนี้จะช่วยให้ลูกหายสะอึกได้
อาการสะอึก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งหญิงและชาย แต่จะพบมากในเด็กเล็กที่ระบบย่อยอาหารยังไม่แข็งแรง หากพบว่าลูกมีอาการสะอึก และทำตามวิธีที่เราได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว แต่ยังไม่หาย คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง และตรงจุด ลูกน้อยจะได้ปลอดภัย
= = = = = = = = = = = =