คนท้องปวดหลังบ่อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการปวดมากจนดูผิดปกติ อาจเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ดังนั้นวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อน เพื่อจะได้สังเกตได้ว่าตนเองนั้น กำลังเข้าข่ายที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือเปล่า

คนท้องปวดหลัง กับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะมีลักษณะที่เป็นเหมือนพังพืด ซ้อนกันเป็นวงหลายชั้น เพื่อเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ตั้งแต่บริเวณคอ อก ยาวไปจนถึงเอว โดยมีหน้าที่เป็นข้อต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหว และช่วยรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นได้เป็นอยางดี ทั้งการนั่ง ยืน กระโดด หรือบิดตัว รวมทั้งป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวอีกด้วย

คนท้องปวดหลังบ่อย เสี่ยงโรคนี้อย่างไร

โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์ คนท้องจะมีอาการปวดหลัง จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อิริยาบถที่เปลี่ยนไป หรือความเครียด สาเหตุเหล่านี้ ย่อมเป็นภาระต่อกล้ามเนื้อหลัง เมื่อกล้ามเนื้อหลังต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น เลยทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

ส่วนสาเหตุหลัก ที่ทำให้คนท้องเป็นโรคหมอนรองรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น มักมาจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการกดทับ และส่งผลให้หมอนรองกระดูก ไปเบียดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้นๆ นั่นเอง หรืออาจเกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูก จนของเหลวที่อยู่ภายในไปกดทับเส้นประสาทโดยรอบได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร

สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณแม่อาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

1.คนท้องปวดหลังแบบรุนแรง โดยรู้สึกปวดร้าวลงไปถึงต้นขา น่อง หรือเท้าได้ ซึ่งอาการปวดแบบนี้ อาจเกิดขึ้นแบบฉับพลัน

2.รู้สึกอ่อนแรง หรือรู้สึกน้อยลงในบริเวณดังต่อไปนี้ เช่น บริเวณเอว หลัง ต้นขา น่องขา หลังเท้า

3.หากมีอาการรุนแรง อาจรู้สึกชาที่บริเวณรอบอวัยวะเพศ ก้น ทำให้การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นไปอย่างยากลำบาก

วิธีบรรเทาอาการปวดหลัง และป้องกันโรคนี้

เมื่อคนท้องปวดหลัง จะต้องดูแลตัวเองให้ดี เพื่อป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั่นเอง โดยมีวิธีบรรเทาอาการปวดและป้องกัน ดังนี้

1.ปรับอิริยาบถ

คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทั้งการนั่ง เดิน ยืน และนอน โดยปรับท่าทางให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง เพื่อช่วยให้ไม่ปวดหลัง เช่น ไม่ยืนแอ่นตัวไปด้านหลัง นั่งหลังตรงโดยอาจใช้หมอนหนุนหลังไว้ เป็นต้น

2.ใช้หมอนรองคนท้อง

ในขณะที่นอนคุณแม่อาจมีหมอนรองคนท้องโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้การนอนของคุณแม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำว่าให้นอนตะแคงซ้าย และเอาหมอนมารองระหว่างเข่าทั้งสองข้าง ซึ่งจะช่วยลดอาการตึงที่หลังได้

Sponsored

3.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย จะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อท้องและหลังได้เป็นอย่างดี โดยคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกายทุกครั้ง ซึ่งถ้าคุณแม่เตรียมตัวออกกำลังกายไว้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ก็จะยิ่งช่วยป้องกัน และลดอาการปวดหลังได้เป็นอย่างมาก

4.ประคบร้อน

ในขณะที่คุณแม่มีอาการปวดตึงที่หลัง การประคบร้อนจะช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งได้

5.ปรึกษาแพทย์

ถ้ารู้สึกว่ามีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะคนท้องปวดหลังอาจมีโอกาสเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

อาการคนท้องปวดหลังอาจลุกลามเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น สามารถป้องกันได้ เพียงแค่คุณแม่ใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตนเอง ไม่ปล่อยให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง และรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้อาการปวดนั้นดีขึ้น และไม่เป็นโรคร้ายนี้อย่างแน่นอน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ทำไมต้อง เร่งคลอด มาทำความเข้าใจกับสาเหตุและการเร่งคลอด

2.วิธีเร่งคลอด ความแตกต่างระหว่างเร่งโดยหมอกับเร่งด้วยธรรมชาติ