ไวรัสตับอักเสบบี อีกโรคหนึ่งที่ร้ายแรง และเป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุขประเทศไทย เนื่องจากในประเทศไทยพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังสูงถึง 5% ของประชากร โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนมากเกิดจาก “การแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูก (Maternal to Child Transmission)” และพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถึง 8% ของคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วยค่ะ สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ไม่รู้ว่า “เชื้อไวรัสตับอักเสบบี” เป็นอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบอกค่ะ

ไวรัสตับอักเสบบี

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

การติดเชื้อไวรัสตัวอักเสบบี (Hepatitis B viral infection) จะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตแบบเฉียบพลันค่ะ เพราะไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อได้ทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น ๆ เช่น น้ำเหลือง ซึ่งคุณแม่อาจจะได้รับเชื้อได้ดังนี้ค่ะ

  1. การมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัยป้องกัน
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือใช้เข็มสักตามร่างกายร่วมกัน รวมถึงการเจาะหูด้วยค่ะ
  3. การใช้แปลงสีฟัน มีโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
  4. การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (หากพบว่าคุณแม่มีเชื้อลูกก็มีโอกาสได้รับเชื้อถึง 90%)
  5. การสัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ค่ะ

ทั้งนี้ เชื้อจะไม่สามารถติดต่อกันทางลมหายใจ อาหาร น้ำดื่ม การให้นมูก และการจูบกันค่ะ (ถ้าปากไม่มีแผลนะ)

อาการทั่วไปของโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการโดยทั่วไปของโรคนี้ จะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะค่ะ นั่นคือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะเรื้อรัง

  • ระยะเฉียบพลัน

ในระยะนี้ ผู้ที่ติดเชื้อจะเริ่มมีอาการภายใน 1 – 4 เดือนหลังการติดเชื้อค่ะ คุณแม่อาจจะพบว่าเริ่มเป็นไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง มีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่นขึ้น ปวดตามข้อ สำหรับคุณแม่บางท่านอาจจะพบอาการที่รุนแรงกว่านี้ เพราะเซลล์ตัวถูกทำลายเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้เกิดภาวะตับวายได้ ซึ่งอันตรายทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก

แต่อาการตับอักเสบระยะนี้จะดีขึ้นภายใน 1 – 4 สัปดาห์ค่ะ และจะหายได้เองตามปกติ เมื่อร่างกายของคุณแม่สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ (ใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนค่ะ) แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมดนะคะ เพราะประมาณ 5 – 10% ยังมีโอกาสติดเชื้อโรคตับอักเสบบีเรื้อรังอยู่

  • ระยะเรื้อรัง

ในระยะนี้ เราขอแบ่งกลุ่มคุณแม่ที่ติดเชื้อออกเป็น 2 กลุ่มนะคะเพื่อความชัดเจน กลุ่มแรกคือ “พาหะ” คุณแม่ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ลูกได้ ผลการตรวจเลือดจะพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที เพื่อให้อยู่ในการดูแลของแพทย์ หากพบว่าคุณแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แพทย์จะสามารถยับยั้ง และรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ และกลุ่มที่ 2 คือ “ตับอักเสบเรื้อรัง” คุณแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งส่วนมากจะไม่มีอาการ คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย และเบื่ออาหารได้ ทั้งนี้การติดเชื้อแบบเรื้องรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดค่ะ

ผลกระทบของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่อการตั้งครรภ์

ทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปเป็นผลกระทบในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจนค่ะ ดังนั้นการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะให้การดูแลเช่นเดียวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากยังมีการศึกษาไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง แต่การศึกษาสามารถสรุบได้ดังนี้ค่ะ

ผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และความดันโลหิตสูง ทั้งยังพบว่าอาจจะมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดก่อนคลอด ซึ่งทำให้การคลอดก่อนกำหนดได้เนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนดแล้วชักนำการคลอดให้เร็วกว่าที่ร่างกายของคุณแม่จะพร้อมคลอดเองตามธรรมชาติ ส่งผลให้ต้องคลอดโดยการผ่าคลอด ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีกับตัวของคุณแม่เอง และทารกในครรภ์

Sponsored

ผลต่อทารกในครรภ์

หากพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทารกในครรภ์ก็จะได้รับเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้ง่าย และผลกระทบอื่นๆ  ก็คือ การคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และ 37 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลให้ทารกที่เกิดก่อนกำหนด ไม่แข็งแรง ร่างกายยังไม่สมบูรณ์ 100% และไม่พร้อมที่จะออกมาสู้กับโรคภายนอก ที่สำคัญการเกิดน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอดนั้น อาจจะทำให้แท้ง และการตายระหว่างคลอดได้สูงค่ะ

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

การรักษาในทารกแรกเกิดส่วนมาก จะทำโดยการให้วัคซีน และอิมมูโนโกลบูลิน ที่ช่วยลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึง 90 – 95% เลยทีเดียว แต่ก็ยังมีอีก 5 – 10% ที่มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นเดียวกันค่ะ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน จะได้รับการตรวจเลือด เพื่อดูการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงมุ่งเน้นไปที่การดูแลเพื่อลดการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกค่ะ โดยการให้วัคซีนและอิมมูโนโกลบูลินหลังทารกคลอดได้ 12 ชั่วโมง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อจะได้รับการดูแลดังนี้ค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ จะได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีลงได้ โดยการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) หากพบว่าผลการตรวจผิดปกติคุณแม่จะได้รับการตรวจ HBeAg และ liver function test ส่งปรึกษาอายุรกรรมต่อไปค่ะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่พบว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้

  1. รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์เด็ดขาด เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ
  3. รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่า ตับมีอาการอักเสบมากน้อยเพียงใด
  4. บอกคนใกล้ชิดให้ทราบ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  5. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  6. ไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะไม่ดีต่อสุขภาพของทารกด้วย
  7. พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจนะคะ
  8. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  9. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน ที่สำคัญอาหารเหล่านั้นต้องสุก และสะอาดด้วยค่ะ ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม
  10. คุณแม่ตั้งครรภ์ และคลอดบุตร ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดค่ะ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

เด็กทารกแรกเกิดจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มากกว่าเด็กโต หรือผู้ใหญ่ เพราะร่างกายของเด็กทารกยังมีภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้น้อย ดังนั้นเพื่อป้องกันคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ไปตามแพทย์นัดทุกครั้งนะคะ นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน และการฉีดวัคซีนนั้นจะต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็มค่ะ หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ชุดชั้นในคนท้อง เลือกอย่างไรดี ให้เหมาะสมที่สุด

2.เลือก ชุดชั้นในแม่ท้อง และหลังคลอด แบบไหนถึงจะดี