ฮีโมฟีเลีย โรคร้ายจากพันธุกรรม…. ถ้าพูดถึงโรคฮีโมฟีเลีย คนไทยหลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยรู้จักโรคนี้มากเท่าไรนัก เพราะไม่ค่อยมีข่าวผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้รุนแรง แต่สำหรับคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์มาพอสมควร คงจะรู้กันดีว่าโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟแห่งสหภาพโซเวียตต้องล่มสลายมาแล้ว เพราะโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะศึกษาเอาไว้ เผื่อลูกมีอาการดังต่อไปนี้ จะได้รักษาได้ทันท่วงที
ฮีโมฟีเลีย คือโรคอะไร
โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่เกี่ยวกับการมีเลือดออกผิดปกติของร่างกาย คือจะมีอาการที่เลือดออกได้ง่ายแต่หยุดยาก เป็นโรคที่แสดงอาการในผู้ชายเป็นหลัก (หากเป็นหญิงจะเป็นแค่พาหะเท่านั้น) แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยในประเทศไทย แต่ก็มีให้พบได้เรื่อย ๆ ซึ่งก็สร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยทั้งสภาพร่างกาย และสภาพจิตใจ เนื่องจากโรคนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดี และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ไปตลอดชีวิต
ถึงแม้ว่าโรคฮีโมฟีเลีย จะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือลักษณะ A และ B แต่อาการของโรคก็มีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือการขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด จึงส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
มีอาการเลือดออกตามข้อและกระดูก – โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า และข้อศอก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวม และแดงช้ำ ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงมาก ๆ อาจจะมีเลือดออกเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีอะไรมากระทบกระแทกให้เกิดบาดแผล
มีเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะ – ถึงแม้จะพบได้น้อยกว่าผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียที่มีอาการเลือดออกตามข้อและกระดูก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย กรณีนี้ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในช่องปาก ทางเดินอาหาร ไปจนถึงสมอง ซึ่งไม่สามารถห้ามเลือดได้โดยง่าย และถ้ามีเลือดออกมาก ๆ ก็อาจทำให้ช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
กรณีที่เด็กเล็กเป็นโรคฮีโมฟีเลีย – อาจพบการมีรอยจ้ำเลือดตามบริเวณขา ก้น หรือเข่า จากการกระทบกระแทกเวลาคลานไปมาหรือนั่ง ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และแดงช้ำ
ติดต่อทางพันธุกรรมสู่ลูก ได้อย่างไร
โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่มีการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนเพียงตัวเดียวจาก 100,000 ยีนที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะและภาวะโรคพันธุกรรมต่าง ๆ ซึ่งผู้เป็นพาหะมักจะเป็นมารดาที่ส่งต่อยีนนี้ไปสู่บุตรชาย ยิ่งถ้าหากว่าแพทย์ได้ทำการสืบประวัติญาติฝ่ายชายของทางมารดาแล้วพบว่ามีลุง หรือน้าชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกผิดปกติ ก็สามารถจะวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แต่ก็มีผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียถึง 30% ที่ครอบครัวทั้งทางฝ่ายแม่และฝ่ายพ่อไม่มีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน แต่เกิดจากการผ่าเหล่าของยีนขึ้นมาเอง จึงทำให้ปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดทำงานผิดปกติ
ป้องกันไม่ให้เด็กเกิดใหม่ เป็นโรคฮีโมฟีเลียได้หรือไม่
ในแง่ของพันธุกรรมนั้น ไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน เพราะโรคฮีโมฟีเลีย จะถูกส่งต่อทางยีนไปยังเด็กชายที่เกิดมาอยู่ดี แต่ถ้าหากต้องการมีบุตรจริง ๆ ก็สามารถเลือกได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้
- ให้แพทย์วินิจฉัยก่อนคลอด – กรณีนี้ต้องทำตั้งแต่อายุครรภ์ยังไม่มากนัก ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเลือดจากทารกในครรภ์โดยการเจาะสายสะดือเด็กเพื่อดูว่ามีอาการของโรคฮีโมฟีเลียหรือไม่ และถ้าหากเป็นขั้นรุนแรง ก็ควรยุติการตั้งครรภ์นั้น ๆ
- เลือกมีบุตรเป็นเพศหญิง – วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่อาจต้องมีการปรึกษาแพทย์ว่าควรทำอย่างไรให้ได้บุตรเพศหญิงก่อนการตั้งครรภ์ แต่เด็กหญิงที่เกิดมาอาจจะเป็นพาหะที่สืบทอดความผิดปกติไปยังรุ่นต่อไปได้
การดูแล เมื่อพบว่าลูกเป็นฮีโมฟีเลีย
- ด้านอาหาร – ควรดูแลให้ลูกได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่และมีโปรตีนสูง และอาหารควรมีความอ่อนนิ่ม ไม่แข็งเกินไป อย่างเช่นกระดูกและก้าง ที่อาจทิ่มปากจนมีเลือดออกได้
- การออกกำลังกาย – ควรส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายที่มีการขยับข้อต่อเป็นประจำ เพื่อให้ข้อต่อมีความแข็งแรงมากขึ้น เช่น ว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ไม่ควรให้เล่นกีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง
- ควรทำป้ายห้อยคอให้คนรอบข้างรู้ – ถึงแม้ว่าเด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ได้เป็นปกติ แต่ก็ควรแจ้งเตือนครูประจำชั้น หรือเพื่อรอบข้างไว้ เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้รักการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงการติดต่อโรคฮีโมฟีเลียไปสู่ลูก ก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์ ควรตรวจสุขภาพให้เรียบร้อยก่อน เพื่อที่หากมีความผิดปกติใดๆ แพทย์จะได้ให้คำแนะนำและเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ขอบคุณภาพ : ibudanmama.com
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ปอดอักเสบ เกิดจากอะไร? แม่ท้องเป็นโรคนี้จะส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม