โรคหัวใจในเด็ก โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กไทยที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด จะสามารถพบได้ปีละประมาณ 8,000 คนขึ้นไป โดยแบ่งเป็นเด็กที่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดมากถึง 50% แต่ทั้งนี้ แพทย์สามารถผ่าตัดรักษาเด็กที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดได้ทุกช่วงวัยแล้ว โดยจะพิจารณาจากอาการที่แสดงออกมา พร้อมปัญหาอื่น ๆ เช่น อาการแทรกซ้อน เป็นต้น โรคหัวใจในเด็กแต่กำเนิด เป็นโรคที่ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดได้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นจึงควรเรียนรู้ไว้บ้าง ว่าโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

โรคหัวใจในเด็ก มีกี่ประเภท

1.หลอดเลือดหัวใจสลับขั้ว

อาการที่พบของเด็กที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจสลับขั้ว คือหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงจะสลับฝั่งกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กมีอาการเขียว เนื่องจากเลือดที่ส่งมาจากปอดเพื่อฟอกแล้วนำไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ถูกส่งกลับไปที่ปอดอีกครั้งหนึ่งจากความผิดปกตินี้

2.ผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว

การเป็นโรคหัวใจประเภทนี้สามารถพบได้บ่อยมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบโดยบังเอิญมากกว่า โดยปัญหาที่พบคือผนังกั้นห้องหัวใจด้านบนมีรอยรั่ว จึงทำให้เลือดที่ไหลบริเวณห้องบนซ้ายของหัวใจรั่วไปยังห้องบนขวา อาการที่พบคือผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบได้ง่าย หากวินิจฉัยโดยแพทย์ อาจพบเสียงฟู่ที่เป็นเสียงของรอยรั่วด้วย

3.ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว

อาการในประเภทที่ 2 คือผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว ส่วนประเภทที่ 3 คือผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว แม้ว่าจะแตกต่างกันแค่ห้องบนและห้องล่าง แต่อาการกลับมีความรุนแรงมากกว่า คือเมื่อผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว จะทำให้เลือดจากหัวใจห้องล่างซ้าย รั่วไปยังห้องล่างขวา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเลือดที่จะส่งไปยังปอด ถ้าหากมีความรุนแรง อาจถึงขั้นทำให้หัวใจห้องซ้ายทำงานมากกว่าปกติ จนถึงขั้นหัวใจวายและเสียชีวิตได้

4.มีหัวใจห้องเดียว

ปัญหานี้มักจะเกิดจากความผิดปกติของหัวใจห้องล่าง ที่ทำงานเหมือนกันจนมีสภาพเป็นห้องเดียว จึงส่งผลให้ภาวะการทำงานของหัวใจเกิดความผิดปกติ ในส่วนนี้สามารถอธิบายได้ว่า ตามปกติแล้ว หัวใจสองห้องล่าง จะทำงานต่างกัน คือห้องซ้ายจะนำเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดไปหล่อเลี้ยงยังอวัยวะอื่น ๆ ส่วนห้องขวา จะทำหน้าที่นำเลือดดำมาฟอกที่ปอด แต่เมื่อมีการทำงานที่ไม่ครบ จึงทำให้เด็กมีอาการเขียวผิดปกติ

5.ลิ้นหัวใจตีบ

Sponsored

ส่วนมากมักจะเป็นที่หัวใจห้องล่างขวา โดยอาการที่พบเห็นส่วนมากคือ ลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดได้อย่างเต็มที่ เพราะอาจจะมีความแข็ง มีความหนา หรือมีการยึดติดของเส้นเอ็นที่ผิดปกติ หัวใจจึงต้องทำงานมากขึ้น เพื่อให้กระบวนการไหลเวียนของโลหิตเป็นไปตามปกติ

6.ช่องเปิดระหว่างหลอดเลือดหัวใจใหญ่ทั้งสองเส้นไม่ปิด

โดยทั่วไป ทารกที่พึ่งคลอดจะยังมีช่องเปิดระหว่างหลอดเลือดหัวใจใหญ่ทั้งสองเส้นอยู่ และจะค่อย ๆ ปิดไปเองเมื่อคลอดแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าหากว่าไม่ปิด เลือดแดงและเลือดดำก็จะไหลมาผสมกัน เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติของหัวใจที่อาจจะต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น และอาจเกิดความผิดปกติในการส่งเลือดไปเลี้ยงยังส่วนอื่น ๆ ได้

ทั้ง 6 ประเภทนี้คือประเภทของโรคหัวใจโดยกำเนิดในเด็ก ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไป อย่าพึ่งเข้าใจว่าการเป็นโรคหัวใจ คือจะต้องมีอาการหัวใจวายเพียงอย่างเดียว เพราะอาการบางประเภทอาจไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นที่ต้องผ่าตัดรักษาก็มี หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจโดยตรง เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษาลูกน้อยอย่างถูกต้องต่อไป

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ