โภชนาการที่ดีสำหรับทารก ย่อมส่งผลให้ทารกสุขภาพดี หากคุณพ่อคุณแม่หมั่นใส่ใจกับเรื่องนี้ แน่นอนว่าลูกน้อยย่อมมีพัฒนาการด้านร่างกายที่เจริญเติบโตสมวัย เรามีเรื่องน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการที่ดีสำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 1 ปี มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ

โภชนาการที่ดีสำหรับทารก แรกเกิดจนถึง 1 ปี

ต้องบอกว่าทารกมีความต้องการสารอาหารในอัตราสูงมากกว่าวัยอื่น ๆ และในช่วงอายุระหว่างแรกเกิดถึง 1 ปี เด็กจะมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในวัยทารกนั้นเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะมีสารอาหารครบถ้วน ทั้งให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน พลังงาน เป็นต้น ถือเป็นประโยชน์ต่อทารกทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนในนมแม่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ได้

โดยการให้นมแม่นั้น อย่างน้อยมีการระบุชัดเจนว่าควรให้ถึง 6 เดือน ซึ่งในคุณแม่บางคนที่น้ำนมมีเยอะก็สามารถให้ได้ยาวนานตามที่ต้องการ แต่ในขณะที่คุณแม่บางคนประสบปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย ก็ขอแนะนำว่าอย่างต่ำควรเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ไม่น้อยกว่า 4 เดือน  ทั้งนี้หลักในการให้นมแม่กับทารกในสัปดาห์แรกเกิด จะให้ในทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเลื่อนเป็นในช่วงกลางวันทุก  3-4 ชั่วโมง  และในกลางคืนทุก ๆ 5-7 ชั่วโมง

โภชนาการเสริมทารกแรกเกิดจนถึง 1 ปี

การให้อาหารเสริมในทารกปัจจุบัน พบว่ามีการแนะนำเริ่มต้นในช่วงระหว่าง 4-6 เดือน ด้วยช่วงเวลานี้ธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกายจะมีระดับต่ำลง ทารกจึงควรได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง โดยอาหารมื้อแรกของทารกควรเตรียมจากอาหารสดจะดีที่สุด เพราะได้คุณค่าสารอาหารมากกว่าอาหารเสริมสำเร็จรูป

ขั้นตอนคือ ให้ทารกดื่มน้ำก่อนอันดับแรก จากนั้นตามมาด้วยอาหารเสริม (ประมาณ 1 -2 ครั้งต่อวัน) ซึ่งอาหารเสริมจะเป็นอาหารจำพวก ข้าวบด ไข่แดง (ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ) หลังจากนั้นจึงตามด้วยนมแม่

เมนูที่อยากแนะนำ

1.อาหารเด็กแรกเกิดจนถึง 4 เดือน การให้นมแม่อย่างเดียว ก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการและดีที่สุดสำหรับทารก

2.อาหารเด็กอายุ 5 เดือน วันละ 1 มื้อ แนะนำอาหารที่อ่อนนุ่ม บดง่าย เช่น ข้าวบดไข่แดงผสมแกงจืด ตามด้วยให้นมแม่จนทารกอิ่ม

3.อาหารเด็กอายุ 6 เดือน แนะนำอาหารที่อ่อนนุ่ม บด ช่วงนี้ระบบต่าง ๆ ของเด็กจะมีความพร้อมมากขึ้น ดังนั้นอาหารที่ให้กับเด็กช่วงวัยนี้จึงควรครบ 5 หมู่ วันละ 1 -3 มื้อ แนะนำข้าวบดเนื้อปลา

สุกผสมแกงจืด สลับกับข้าวบดไข่แดงผสมแกงจืด ตามด้วยให้นมแม่จนทารกอิ่ม หรือข้าวบดตับไก่ผสมแกงจืด หรือข้าวตุ๋นกับผักต่าง ๆ เช่น แครอท  ผักบุ้ง ผักตำลึง  ฟักทอง เป็นต้น และผลไม้บด เช่น มะละกอ โดยเริ่มจากปริมาณน้อย เพื่อให้เด็กค่อย ๆ ชินกับการทาน สำหรับอาหารว่าง 1 มื้อ ตามด้วยนมแม่

Sponsored

4.อาหารเด็กอายุ 7 เดือน แนะนำอาหารที่อ่อนนุ่ม บดง่าย  แต่เพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้นกว่า 6 เดือน เช่น ข้าวบดเนื้อสัตว์กับไข่แดงไข่ขาว ข้าวบดตับไก่กับผัก  หรือข้าวบดเนื้อไก่กับผักตำลึง หรือข้าวบดเนื้อหมูกับตับไก่ เป็นต้น

5.อาหารเด็กอายุ 8-9 เดือน แนะนำว่าอาหารที่ให้นั้นควรบดหยาบมากขึ้น และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นอาหารหลักแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ ทั้งนี้ลองสังเกตดูด้วยว่าอาหารที่ให้นั้น เด็กชอบหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเขาไม่ชอบ ให้ทดลองโดยการงดอาหารชนิดนั้นไปก่อนประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นลองให้ใหม่อีกครั้ง ถ้ายังไม่ชอบก็ควรปรับเปลี่ยนเมนูนั่นเอง

6.อาหารเด็ก 10-12 เดือน เด็กในวัยนี้จะเริ่มมีฟันในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นอาหารที่ให้ก็จะมีความหยาบมากขึ้น เช่น ข้าวต้ม สปาเกตตี บะหมี่ เป็นต้น ทั้งนี้ข้อควรระวังคือ อาหารนั้น ๆ ควรทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อสะดวกต่อการเคี้ยวและเพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็กที่เริ่มมีฟันสำหรับบดเคี้ยว ทั้งนี้ในช่วง 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เด็กเริ่มหัดทานอาหารด้วยตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีหกเลอะเทอะหรือใช้เวลาในการทาน คุณพ่อคุณแม่จึงควรอยู่ใกล้ ๆ เพื่อสังเกตและฝึกให้เขาหัดช่วยเหลือตัวเองว่าควรทำอย่างไร นั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก