กว่าลูกน้อยที่คุณรัก จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราเชื่อว่าคนเป็นพ่อแม่ทุกคนย่อม เฝ้ามองทุกก้าวของพัฒนาการของลูกน้อยด้วยความสุข ยิ่งลูกของคุณมีพัฒนาการที่ดีสมวัย สามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาได้ แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ เพราะพัฒนาการที่ดีสมวัยขึ้นอยู่กับการดูแลและใส่ใจ และเลี้ยงด้วยความรักความเข้าใจ

เตรียมพร้อมการเรียนรู้ให้กับลูกรัก

ความฉลาดของลูกที่คุณแม่ต้องให้ความสนใจนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ความฉลาดทางสติปัญญา หรือ I.Q. เท่านั้นนะคะ คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์ หรือ E.Q. ด้วย เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการรอบด้านอย่างเหมาะสมและสมดุล การเตรียมความพร้อมให้ลูกมีทั้งความฉลาด และมีอารมณ์ดีวันนี้เรามีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำกันค่ะ

เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ดี มีอีคิวสูง

  • ให้ความรัก การแสดงออกทางกายจะทำให้ลูกน้อยสัมผัส และทราบได้โดยทันที คนเป็นแม่จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้สักเท่าไหร่ นั่นเพราะคนเป็นแม่เป็นผู้ที่ต้อง เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกเกิด แต่สิ่งที่คาดหวังก็คือความรักที่คุณพ่อและคนในครอบครัว แสดงออกให้พวกเขาได้รับรู้ เพื่อให้อารมณ์ที่อ่อนไหวของพวกเขารู้สึกอบอุ่นขึ้นมาค่ะ
  • เข้าใจพัฒนาการของลูก เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวต่อลูกได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพราะพัฒนาการของเด็กไม่มีวันหยุดนิ่งค่ะ ดังนั้น คนเป็นพ่อแม่ควรจะเรียนรู้ถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กแต่ละช่วงวัย แล้วพยายามทำความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เมื่อลูกทำดี หรือทำอะไรด้วยตัวเองแล้วประสบความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ต้องชื่นชม เมื่อลูกรู้สึกท้อก็ควรให้กำลังใจ แต่ไม่ควรชื่นชมมากเกินไป ควรชื่นชมอย่างเหมาะสม และถูกต้อง
  • ให้อิสระและโอกาสในการตัดสินใจ ถือเป็นการเปิดทางให้ลูกได้เดินก้าวไปด้วยความมั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก โดยไม่ถูกบังคับก็ยิ่งทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านสติปัญญาไปพร้อมกับอารมณ์ที่สดใส เมื่อคุณแม่เห็นเช่นนี้รับรองว่าต้องมีความสุขมากกว่าที่คุณบังคับพวกเขาให้ทำตามใจคุณแม่อย่างแน่นอน (การให้อิสระในที่นี้ ไม่ใช่สนับสนุนให้ทำในเรื่องที่ไม่ถูกต้องนะคะ)
  • สอนลูกให้เป็นคนรู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล โดยส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญ โดยให้พวกเขาได้รู้ว่า ของที่พวกเขาต้องการมีประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร แล้วสมควรซื้อหรือไม่ เพราะอะไร คุณแม่จะต้องเป็นผู้บอกและอธิบายให้ลูกเข้าใจ
  • เป็นแบบอย่างที่ดี คุณพ่อคุณแม่ จะต้องทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้จากเราโดยอัตโนมัติ ในแบบที่ไม่ต้องพูด หรือสอนเลย
  • สร้างกฎระเบียบวินัยในบ้านอย่างชัดเจน ไปพร้อมกับความรัก ความเข้าใจของคนในครอบครัว ให้สอนลูกเกี่ยวกับความถูกต้องและเหมาะสม แต่ไม่ควรบังคับมากเกินไปนะคะ เพราะอาจจะมีผลต่ออารมณ์ของพวกเขาในอนาคตได้

เห็นไหมค่ะว่า พัฒนาการด้านความฉลาดของลูกนั้นอาจไม่พอ คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างความฉลาดทางอารมณ์ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เพื่อให้ลูกพร้อมที่จะเรียนรู้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเข้าใจตัวเอง และคนรอบตัวเป็นอย่างดี นอกจากคุณแม่จะเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเรียนรู้แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเช่นกัน นั่นคือ เสริมสร้างพัฒนาการด้านสมอง ด้านร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ให้พร้อมกับสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

เสริมสร้างพัฒนาการด้วยนมแพะ

นมแพะ ตัวช่วยสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้การดื่มนมแพะทุกวันจะช่วยให้ลูกน้อยมีร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันดี และมีพัฒนาการที่ดีสมวัย เพราะนมแพะ มีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ทำให้ได้สารอาหารจากธรรมชาติปริมาณสูง 4 ชนิด คือ นิวคลีโอไทด์ที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน, ทอรีนช่วยให้การทำงานของสมองและจอประสาทตาดีขึ้น, โพลีเอมีนส์ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์ และโกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต สารอาหารเหล่านี้ต่างมีส่วนสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดี ส่งเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ลูกรักจึงมีร่างกายแข็งแรง พร้อมเปิดรับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

Sponsored

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดระหว่างตั้งครรภ์ จะรับมือและป้องกันได้อย่างไร

2.ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน