คุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แล้วไม่รู้ว่าควรต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีวิธีการเตรียมความพร้อม สำหรับ9เดือนของคุณแม่มือใหม่ ให้ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ตลอดการตั้งครรภ์ดังนี้ค่ะ

ช่วงเวลา 0 – 3 เดือนแรก

ในช่วงเวลา 0 – 1 เดือนแรกคุณแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเริ่มตั้งครรภ์ เพราะในช่วงเริ่มแรกนี้ ร่างกายของคุณแม่ ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก จะรู้ว่าตนเองตั้งท้องก็เมื่ออายุครรภ์ได้ 2 – 3 เดือนแล้ว ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกนี้คุณแม่จะมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้เต็มที่ หากนอนดึกร่วมด้วยอาจทำให้เกิดภาวะวิงเวียนศีรษะ มึนหัว และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มากขึ้นได้

สิ่งที่คุณแม่ควร

  1. เริ่มตั้งครรภ์สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ หยุดรับประทานยาคุมกำเนิด หยุดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หยุดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก ๆ อย่างเช่น การยกของหนัก การกระโดด การวิ่ง หรือการเล่นกีฬาบางชนิด
  2. เลือกรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และอุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็น เพราะร่างกายของผู้ที่ตั้งครรภ์ มีความต้องการสารอาหารจำเป็นต่าง ๆ ไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่าย กลางคืนควรนอนหลับให้เต็มที่ ประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง และควรหาเวลาพักในตอนบ่ายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  4. การรักษาความสะอาดร่างกาย ระยะตั้งครรภ์จะรู้สึกร้อน และเหงื่อออกมาก ควรอาบน้ำให้ร่างกายสะอาดสดชื่น แต่ถ้าอากาศเย็น ควรอาบน้ำอุ่นและให้ความอบอุ่นกับร่างกาย
  5. ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์และขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

ช่วงระยะเวลา 0 – 3 เดือน เป็นช่วงเริ่มของชีวิต ที่คุณแม่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะนี้ถือเป็นก้าวแรกของการพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของลูกน้อยต่อไป

ช่วงเวลา 4 – 6 เดือน

เมื่ออายุครรภ์ได้ 4 – 6 เดือน เป็นช่วงเวลาของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารก เด็กทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียง พัฒนาด้านการได้ยิน คุณแม่ควรเริ่มพูดคุยกับลูกในช่วงนี้ หรือเปิดเพลงให้ฟัง การเปิดเพลงจะช่วยกระตุ้นทักษะการได้ยิน การฟัง และอารมณ์ ทำให้ทารกในครรภ์รู้สึกผ่อนคลาย และเสียงเพลงยังช่วยลดความกดดันให้กับคุณแม่อีกด้วย

ในช่วงนี้ คุณแม่จะเริ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ควรควบคุมการรับประทานอาหารและไม่ใช่การลดอาหาร การควบคุมอาหารในที่นี้ หมายถึง การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินจำเป็นต่าง ๆ และควรลดปริมาณของอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพราะไขมัน นอกจากส่งผลเสียให้กับทารกในครรภ์แล้ว ยังส่งผลให้น้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ

  1. รับประทานอาหารจำพวก โปรตีน แคลเซียมให้มาก
  2. พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  3. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  4. ฟังเพลงทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 – 2 ชั่วโมง เพลงที่ฟังควรเป็นเพลงแนวคลาสสิก ซึ่งเป็นเพลงที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี และช่วยลดความตึงเครียดของคนเป็นแม่อีกด้วย

ช่วงเวลา 7 – 9 เดือน

ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาของทารกเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เมื่ออัตราซาวน์ คุณจะเห็นได้ว่ารูปหน้า ดวงตา ปาก จมูก ใบหู แขน ขา ของลูกน้อยเริ่มแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมที่จะออกมาเผชิญกับโลกภายนอก และพร้อมกับโลกใหม่ที่พวกเขาต้องเรียนรู้ และดำรงชีวิตอยู่ต่อไป

ในช่วงนี้ จึงเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่คุณแม่ควรกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้ดีที่สุด ด้วยการพูดคุย อาจจะเล่าเรื่องราวที่คุณประทับใจ หรือเล่านิทาน และสิ่งสำคัญ คือการพูดคุยกับลูกเสมือนว่าลูกได้ออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว เพื่อให้พวกเขารู้สึกคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่ให้มาก ในเรื่องของการรับประทานอาหาร ก็เป็นส่วนสำคัญ ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มเตรียมตัว กลับศีรษะ เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกมาสู่โลกภายนอก และเริ่มมีการดิ้นที่รุนแรงมากขึ้น คุณแม่จึงไม่ต้องกังวล ควรทำจิตใจให้สงบ และลดความตึงเครียดต่าง ๆ รอบตัว

Sponsored

ช่วงเวลา 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ใกล้คลอด คุณแม่ต้องปรึกษาและไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอทุกครั้งตามที่แพทย์นัด หรือหากเกิดอาการปวดท้องมาก และลูกดิ้นมากกว่าปกติ คุณแม่ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจอาการในทันที หากมีความผิดปกติอะไร แพทย์จะได้ช่วยเหลือได้ทัน

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ

  1. เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย คือการเตรียมตัวก่อนคลอด โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน C สูง และสารอาหารอย่างควบถ้วน
  2. เตรียมความพร้อมภายนอก ก่อนคลอดคุณแม่ควรเตรียมของใช้บางส่วนที่จำเป็นสำหรับเด็กทารก อย่างเช่น ผ้าอ้อม สำลี ที่นอน เสื้อผ้าสำหรับทารก (ที่สะอาดมาก ๆ) ฯลฯ เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ทันที หลังจากที่คุณคลอดแล้ว ร่างกายอาจจะไม่ค่อยแข็งแรง การเตรียมทุกอย่างที่ต้องการให้พร้อมใช้งาน จะช่วยแบ่งเบาภาระไปได้ส่วนหนึ่ง
  3. ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็กทารกอย่างละเอียด และให้ความใส่ใจกับเรื่องของความสะอาดโดยรอบ หากคุณมีห้องสำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะก็จะเป็นการดี เพราะสามารถป้องกันเชื้อโรคจะสัตว์ และจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่เพิ่มเคยตั้งครรภ์ ควรให้ความใส่ใจกับทุกรายละเอียด อาจจะมีการจดบันทึกอาการของตัวเอง หรือจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นในแต่ละวันอย่างละเอียด เพื่อคุณจะได้รู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลเสียให้กับเด็กทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องสำคัญ และการดูแลลูกน้อยก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น คุณควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด และศึกษาเกี่ยวกับวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้สมวัยไปพร้อม ๆ กัน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.เสื้อผ้าเด็กมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี ให้เหมาะกับลูกรัก

2.รีวิวชุดเด็ก Enfant โดนใจลูกน้อย ถูกใจคุณพ่อ