นอกจากการดูแลสุขภาพครรภ์ ที่คนท้องจะต้องใส่ใจแล้ว น้ำหนักตัวคนท้อง ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะแม่ท้องควรจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีความสมบูรณ์มากที่สุด และยังเป็นผลดีต่อตัวคุณแม่เองอีกด้วย แต่ทั้งนี้เนื่องจากคุณแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ที่แตกต่างกันไป จึงไม่สามารถใช้เกณฑ์เดียวกันในการวัดน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ เราจึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนักตัวของคนแม่ท้องบอกต่อกันดังนี้

น้ำหนักตัวคนท้อง ต้องเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ จึงเหมาะสม

โดยปกติแล้วแม่ท้อง ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ประมาณ 12-15 กิโลกรัม แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละคนด้วย ว่าควรเพิ่มน้ำหนักตัวอีกเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและทำให้ลูกมีน้ำหนักแรกคลอดที่ไม่น้อยและไม่เยอะจนเกินไปนั่นเอง โดย….

  • แม่ท้องที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์ ควรมีน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอยู่ที่ 13-18.5 กิโลกรัม
  • แม่ท้องที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ปกติ ควรมีน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นที่ 11.5-16 กิโลกรัม
  • แม่ท้องที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์เกินปกติ แต่ยังไม่ถึงกับอ้วน ควรมีน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นที่ 7-11.5 กิโลกรัม
  • แม่ท้องที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในภาวะอ้วน ควรมีน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นที่ 7 กิโลกรัม
  • แม่ท้องที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด ควรมีน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ คือ 14-20.5 กิโลกรัม

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็มาเพิ่มน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมกันดีกว่า เพื่อแก้ปัญหาลูกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยหรือเยอะเกินไปนั่นเอง

การเพิ่มของน้ำหนักในแต่ละไตรมาส

คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่จะต้องมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมเท่านั้น แต่จะต้องมีน้ำหนักเพิ่มอย่างเหมาะสมตามแต่ละไตรมาสอีกด้วย กล่าวคือ

  • ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แม่ท้องควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ซึ่งช่วงไตรมาสนี้ แม่ท้องจะมีอาการแพ้ท้องทำให้กินอาหารได้น้อยและอาจมีน้ำหนักตัวลดลงได้ ดังนั้นการเพิ่มน้ำหนักในช่วงนี้จึงยังเพิ่มได้ไม่มากนัก
  • ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นที่ 4-5 กิโลกรัม ระยะนี้แม่ท้องจะต้องบำรุงเป็นพิเศษเพื่อให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด
  • ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นที่ 5-6 กิโลกรัม เป็นช่วงที่ลูกกำลังมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ รวมถึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดด้วย แม่ท้องจึงต้องบำรุงเป็นพิเศษ โดยเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่ายเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักในคุณแม่ที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ปกติ ดังนั้นใครที่มีน้ำหนักเกินหรืออยู่ในภาวะอ้วน ก็ต้องเฉลี่ยลงไปตามเหมาะสมนั่นเอง

เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนัก ที่คนท้องควรทำ

มาปิดท้ายด้วยเคล็ดลับในการควบคุมน้ำหนักสำหรับแม่ท้องกันค่ะ ซึ่งหากคุณแม่ต้องการให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ตลอดการตั้งครรภ์ โดยไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ก็จะต้องมีการปฏิบัติตัวในการควบคุมน้ำหนักดังนี้

1.ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งก็จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมคลอด และยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย

Sponsored

2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว เพราะจะทำให้มีปัญหาสุขภาพและเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามมาได้

3.อย่าอดอาหารเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งหากคุณแม่อยู่ในภาวะอ้วน แนะนำให้เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์และลดอาหารที่ทำให้อ้วนอย่างของหวาน ของมันแทน

4.แบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ 4-5 มื้อต่อวัน เพื่อให้ย่อยง่ายและไม่เกิดอาการอึดอัดแน่นท้อง

เพื่อให้ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และคลอดออกมาด้วยน้ำหนักตัวที่เหมาะสม คุณแม่มาเพิ่มน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้ได้ตามที่กำหนดกันดีกว่า และอย่าลืมเลือกทานเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพกันด้วยนะคะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม